กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

วิธีลดสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน

ทำอย่างไรให้บ้านของคุณปลอดจากสารก่อภูมิแพ้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
วิธีลดสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สารก่อภูมิแพ้สามารถเกิดได้ทุกที่ในบริเวณบ้าน โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากความสะอาด ความชื้น และวัสดุของเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงสิ่งของที่ตกแต่งภายในบ้าน
  • ห้องนอนและห้องน้ำมักจะเป็นศูนย์รวมของสารก่อภูมิแพ้ เนื่องจากมักมีฝุ่นมากและมีความชื้นสูง
  • การถอดแผ่นกรองอากาศจากเครื่องปรับอากาศ ใบพัดของพัดลม มุ้งลวด รวมทั้งควรทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ปลอกหมอน ผ้าหุ้มเบาะ เก้าอี้ และโซฟาทุกๆ สัปดาห์ เป็นอีกวิธีป้องกันไม่ให้สารก่อภูมิแพ้หมักหมมอยู่ในบ้าน
  • นอกจากทำความสะอาดบ้านแล้ว คุณยังควรไปตรวจสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายของตนเองแพ้ เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพของตนเองอย่างถูกต้อง 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

รู้หรือไม่ว่า ถึงแม้จะไม่ได้ออกไปเผชิญกับฝุ่นควัน หรือสิ่งสกปรกต่างๆ นอกบ้าน แต่ทุกคนก็มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านของตนเองได้

เพราะภายในบ้านสามารถเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค ฝุ่นละออง ละอองเกสร หรือเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องดูแลทำความสะอาดบ้านให้สะอาด เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ของทุกคนในบ้าน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

บริเวณที่มักมีสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน

คุณอาจคิดว่า แค่ปัดกวาดเช็ดถูพื้น หรือเช็ดตามชั้นวางของก็น่าจะเพียงพอในการป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในบ้านแล้ว แต่ความจริงยังมีพื้นที่อีกหลายจุดที่เป็นแหล่งรวมสารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น

  • สัตว์เลี้ยง ตามผิวหนัง หรือขนสัตว์ มักจะเป็นแหล่งรวมของคราบแบคทีเรีย คราบปัสสาวะ และมูลสัตว์ รวมถึงตัวเห็บหมัดซึ่งทำให้เป็นสาเหตุของสารก่อภูมิแพ้
  • ผ้าม่าน ผ้าม่านคือ ตัวรับสารก่อภูมิแพ้อันดับแรกเมื่อคุณเปิดหน้าต่างออก นอกจากนี้ผ้าม่านที่ไม่ได้ถอดมาซักทำความสะอาดและต้องเลื่อนพับเก็บไว้ที่มุมห้อง หรือมุมหน้าต่างทุกๆ วัน เมื่อนานวันไปก็จะกลายเป็นแหล่งรวมชั้นดีของฝุ่นละออง
  • เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยเบาะผ้า พรมตกแต่งบ้าน พรมเช็ดเท้า โซฟาผ้า เบาะผ้านุ่มๆ หรือพรมที่พื้น คือ แหล่งรวมของเชื้อโรคทั้งที่จากตัวผู้มาสัมผัส นั่ง หรือเหยียบ ทั้งจากสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน และจากฝุ่นละอองในบ้านที่จับตัวเป็นก้อนและเกาะอยู่โดยที่คุณมองไม่เห็น
  • ห้องนอน เฟอร์นิเจอร์และสิ่งของที่อยู่ภายในห้องนอนมักทำด้วยผ้า เช่น ผ้าปูเตียง ผ้าห่ม ปลอกหมอน รวมถึงหน้าต่างที่มีการเปิด-ปิด ค่อนข้างบ่อย ห้องนอนจึงกลายเป็นสถานที่ที่มักจะมีฝุ่น และตัวไรฝุ่นรวมตัวกันอยู่เยอะที่สุด
  • พื้นที่ที่เปียกชื้น บริเวณภายในบ้านที่ต้องสัมผัสกับน้ำอยู่บ่อยๆ เช่น ห้องน้ำ ลานซักผ้า ใต้อ่างล้านจาน มักจะเป็นแหล่งรวมความเปียกชื้นจากอากาศ หรือจากกิจกรรมภายในบ้าน เช่น ล้างจาน รดน้ำต้นไม้ ซักผ้า จนทำให้เชื้อโรค และแบคทีเรียที่เกิดจากความเปียกชื้นมาจับตัวจนกลายเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้
  • ต้นไม้ที่ปลูกไว้ในบ้าน การวางต้นไม้บางชนิดไว้สำหรับตกแต่งภายในบ้าน คุณอาจไม่ทราบว่านั่นอาจเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้กับฝุ่นในบ้าน และยังอาจรวมไปถึงแมลงบางชนิดที่สามารถกัดต่อยจนทำให้เกิดอาการแพ้ตามมาได้

จากแหล่งสารก่อภูมิแพ้ที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่า ยังมีอีกหลายบริเวณภายในบ้านที่คุณไม่คาดคิดว่าจะเป็นที่รวมของสิ่งสกปรก ดังนั้นคุณจึงควรสังเกตและปรับเปลี่ยนวิธีดูแลบ้านของตนเองเสียใหม่ เพื่อลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ให้น้อยลง

วิธีดูแลบ้านเพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในร่างกาย

1. ดูดฝุ่น 2 ครั้งต่อสัปดาห์

ดูดฝุ่นอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านได้ ทางที่ดี คุณควรเลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ไม้กวาดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย

นอกจากนี้ในระหว่างที่ดูดฝุ่นควรใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายรับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปด้วย

2. ควบคุมแหล่งไรฝุ่น

วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการตกแต่งบ้านให้มีพรมที่พื้น หรือผ้าม่านน้อยที่สุด หรือหากมีการติดตั้งพรมก็ให้เลือกวัสดุที่ฝุ่นไม่ติดง่ายและง่ายต่อการถอดออกมาทำความสะอาด โดยควรทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

นอกจากนี้โซฟา หรือเก้าอี้ ที่ทำจากเบาะนวมหุ้มด้วยผ้า ยังเป็นอีกแหล่งรวมของสารก่อภูมิแพ้ คุณควรหลีกเลี่ยงโซฟาที่หุ้มด้วยผ้าซึ่งยากต่อการทำความสะอาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภายในห้องนอนของคุณก็เป็นอีกบริเวณที่มักเต็มไปด้วยไรฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ คุณควรถอดปลอกหมอนออกมาซักทุกสัปดาห์ หลังจากตื่นนอนทุกวันให้หาผ้าพลาสติก หรือผ้าคลุมมาคลุมเตียง เพื่อป้องกันไรฝุ่นด้วย

ส่วนปลอกหมอน ผ้าปูที่นอนที่จะนำไปซัก ให้คุณซักในน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 130 องศาฟาเรนไฮต์ และอบแห้งด้วยความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคอีกครั้ง

3. ทำความสะอาดร่างกายของสัตว์เลี้ยง

สัตว์เลี้ยงคือ อีกพาหะนำเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้มาสู่ตัวคุณ ทั้งยังอาจทำให้บ้านของคุณสกปรกมากขึ้นกว่าเดิม คุณจึงจำเป็นต้องทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงบ้าง แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อความปลอดภัย ความสะอาด และสุขภาพสัตว์เลี้ยงของคุณเอง

นอกจากทำความสะอาดร่างกายสัตว์เลี้ยงแล้ว คุณยังต้องแบ่งพื้นที่ของบ้านว่า ส่วนใดของบ้านที่สัตว์เลี้ยงห้ามเข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้สารก่อภูมิแพ้เข้าไปรวมตัวอยู่บริเวณนั้น โดยเฉพาะห้องนอนและห้องน้ำ 

4. ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย

ประตูและหน้าต่างคือ ทางเข้า-ออกหลักของสารก่อภูมิแพ้ซึ่งกระจายตัวอยู่ในอากาศ ดังนั้นควรติดตั้งมุ้งลวดกันฝุ่น หากต้องการเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท

หรือหากไม่อยู่บ้านก็ควรปิดประตูและช่องทางลมในบ้านให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้สารก่อภูมิแพ้ เชื้อโรค หรือแมลงที่กัดต่อยได้บินเข้ามาในบ้าน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ควรถอดหน้าต่างมุ้งลวดออกมาทำความสะอาดอยู่บ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้สารก่อภูมิแพ้และสิ่งสกปรกสะสมอยู่ที่มุ้งลวด

5. ตัดต้นไม้และวัชพืชที่อาจทำให้แพ้

ละอองเกสรดอกไม้และวัชพืชบางชนิดเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้เช่นกัน คุณจึงต้องกำจัดพืชและต้นไม้บางชนิดออกไปจากบริเวณบ้าน เพื่อลดจำนวนเกสรและละอองฝุ่นที่พัดผ่านวัชพืชเหล่านั้นเข้ามาในบ้านจนทำให้เกิดอาการแพ้

6. ระวังไม่ให้เกิดความชื้นมากเกินไป

ความชื้นในอากาศจะทำให้เกิดเชื้อรา คุณต้องระมัดระวังไม่ให้บริเวณที่เปียกชื้น หรืออับทึบภายในบ้าน กลายเป็นแหล่งเพาะสารก่อภูมิแพ้ โดยให้สังเกตบริเวณของบ้านที่มักเปียกน้ำ หรือชื้น และหมั่นทำความสะอาดอยู่บ่อยๆ

นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับในการกำจัดความชื้นภายในบ้านอื่นๆ อีก เช่น

  • อย่าเปิดฝักบัวทิ้งไว้นานก่อนอาบน้ำ
  • ใช้พัดลมระบายอากาศเพื่อดูดความชื้นอยู่เสมอ
  • จำกัดและคัดเลือกพืชที่จะปลูกในบ้าน
  • ปิดรูน้ำ หรือรูรั่วที่ทำให้เปียกชื้นบริเวณต่างๆ ให้เรียบร้อย

7. กำจัดแมลงภายในบ้านของคุณ

แมลงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยอาจมาจากการถูกกัดต่อย สัมผัสตัว หรือมูล ทางที่ดีควรมีการกำจัดแมลงไม่ให้เข้ามาในบริเวณบ้านได้ และระมัดระวังอย่าให้บ้านเป็นแหล่งรวมของแมลงที่เป็นพาหะนำสารก่อภูมิแพ้ เช่น

  • แมลงสาบ
  • แมลงวัน
  • ยุง
  • ตัวต่อ
  • ผึ้ง
  • แตน

8. ทำความสะอาดเสื้อผ้าให้สะอาด

ควรตากเสื้อผ้าด้วยแดดจัดๆ เพราะนี่คือ วิธีกำจัดเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้ได้อีกวิธีหนึ่ง

แต่ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังฝุ่นละอองที่อาจพัดมาติดที่ผ้าด้วย ทางที่ดีหากนอกบ้านมีฝุ่น หรือสารก่อภูมิแพ้มาก ให้เปลี่ยนไปใช้วิธีอบผ้าแห้งแทนจะดีกว่า

หากเพิ่งกลับมาจากข้างนอกและเพิ่งจะเผชิญกับฝุ่นควัน เชื้อโรค หรือสารก่อภูมิแพ้ที่อาจทำให้คนในบ้านเกิดอาการแพ้ได้ ให้แยกเสื้อผ้าที่สวมใส่ไว้อีกตะกร้าหนึ่ง ซักแยกต่างหากเพื่อป้องกันการปะปนกันของเชื้อโรค

9. เลือกเครื่องเรือนที่ป้องกันไรฝุ่น

หากคุณเลือกเครื่องนอน หรือเครื่องเรือนที่ฝุ่นจับง่าย โอกาสเกิดอาการแพ้ก็จะสูงตามไปด้วย จึงควรเลือกเครื่องนอนที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้

  1. มีรูอากาศขนาดเล็ก เพราะไรฝุ่นมีขนาดประมาณ 100-400 ไมครอน (1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน) ส่วนมูลและไข่ของมันจะมีขนาดประมาณ 10-30 ไมครอน
    ดังนั้นเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องว่างในเนื้อผ้าจึงควรเล็กกว่า 10 ไมครอน จึงจะป้องกันไม่ให้ไรฝุ่นผ่านเข้าไปได้ รวมถึงมูลและไข่ของมันด้วย
  2. เลือกซื้อเครื่องนอนที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี เครื่องนอนบางประเภทจะผสมสารเคมีเพื่อขับไล่ไรฝุ่นไว้ และมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จำนวนไม่น้อยที่แพ้สารเหล่านี้ จึงควรปรึกษาแพทย์และสอบถามส่วนผสมของสารเคมีก่อนซื้อ แต่โดยปกติหากคุณนำเครื่องนอนไปซัก สารเคมีที่ผสมอยู่ก็จะหายไปเอง แต่ประสิทธิภาพในการขับไล่ไรฝุ่นก็จะลดลงตามไปด้วย
  3. เลือกซื้อเครื่องนอนชนิดที่ระบายอากาศได้ดี เพราะเครื่องนอนที่ระบายความร้อนไม่ดีจะทำให้ผู้ใช้งานอึดอัด รู้สึกร้อน และส่งผลกระทบต่อการนอนหลับได้
  4. เลือกซื้อเครื่องเรือนที่ไม่เป็นแหล่งทีอยู่ของไรฝุ่น เช่น เครื่องเรือนที่ทำจากไม้ เครื่องหนัง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรหมั่นทำซักทำความสะอาด หรือนำส่วนที่เป็นผ้าออกตากแดด
  5. การควบคุมความชื้นในบ้าน เนื่องจากไรฝุ่นจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ไหกความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำกว่า 50% และที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส ดังนั้นหากมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 45% โอกาสที่ไรฝุ่นจะอยู่รอดได้ก็มีปริมาณค่อนข้างต่ำ

10. ทำความสะอาดรถ

ควรดูดฝุ่นทำความสะอาดรถยนต์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพราะรถเป็นอีกแห่งที่สารก่อภูมิแพ้สามารถพัดเข้ามารวมตัวกันอยู่ได้ เวลาที่คุณเปิด-ปิด ประตูรถ

อีกทั้งรถยังมักถูกจอดไว้ในที่อับชื้นจนข้างในมีอุณหภูมิอบอ้าว และกลายเป็นแหล่งรวมของเชื้อราในภายหลังได้

ไม่ควรใช้ผ้าคลุมตัวเบาะรองนั่งเพราะจะทำให้มีฝุ่นมาจับ สะสม และหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศภายในรถอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น อากาศที่สูดเข้าไปขณะอยู่ในรถจะได้ปราศจากสารก่อภูมิแพ้

เพียงแค่ปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลบ้านให้เหมาะสม โอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ก็อาจลดลงตามไปด้วย และสุขอนามัยในชีวิตประจำวันของคุณก็จะมีแต่ความสะอาด ห่างไกลจากการเกิดโรคร้ายที่เกิดจากการติดเชื้อหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ

การกำจัดสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้านและรถยนต์อาจเป็นเรื่องยากเย็นเสียหน่อย หากคุณไม่ใช่คนที่จะลุกขึ้นมาดูแลทำความสะอาดบ้านและรถบ่อยๆ แต่ลองสำรวจและปรับเปลี่ยนวิธีดูแลบ้านและรถสักครั้ง บางทีสุขภาพ หรืออาการภูมิแพ้ที่เป็นอยู่อาจจะดีขึ้นก็ได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Naegele, Alexandre; Reboux, Gabriel; Scherer, Emeline; Roussel, Sandrine; Millon, Laurence (1 April 2013). "Fungal food choices of Dermatophagoides farinae affect indoor fungi selection and dispersal". International Journal of Environmental Health Research. 23(2): 91–95. doi:10.1080/09603123.2012.699029. ISSN 0960-3123. PMID 22774849.
Denmark, H. A.; Cromroy, H. L. (April 2017) [October 1998]. "House dust mites—Dermatophagoides spp". Featured Creatures. Department of Entomology & Nemotology, University of Florida, and Florida Department of Agriculture and Consumer Services, Division of Plant Industry. EENY-59. Originally published as DPI Entomology Circular 314.
Asthma and Allergy Foundation of America, Control Indoor Allergens to Improve Indoor Air Quality (https://www.aafa.org/control-indoor-allergens/), 8 October 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)