กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Zyrtec (ตัวยา Cetirizine)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาซีร์เทค (Zytec) เป็นยี่ห้อยาในกลุ่มยาต้านฮิสตามิน ซึ่งใช้ในการรักษาอาการหวัด และโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ โดยมีทั้งรูปแบบยาน้ำเชื่อม และแบบยาเม็ด
  • ยา Zytec อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างระหว่างใช้ยาได้ เช่น ปวดหัว ง่วงนอน หงุดหงิดง่าย ปากแห้ง ปวดท้อง ซึ่งยังไม่ถึงขั้นเป็นอันตราย แต่หากผู้ใช้ยามีอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีปัญหาด้านการมองเห็น รู้สึกสับสน ปัสสาวะขัด ก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ผู้ป่วยโรคไต หรือตับบกพร่องควรระมัดระวังการรับประทานยา Zytec และยากลุ่มเดียวกันให้ดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยเด็ก
  • ระมัดระวังอย่ารับประทานยา Zytec เกิดขนาด เพราะจะทำให้เกิดอาการง่วงนอนอย่างรุนแรง และจะต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  • อย่ารับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน เพราะจะทำให้คุณ และคนในครอบครัวเป็นอันตรายจากฤทธิ์ยาได้ ทางที่ดีเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย ให้คุณปรึกษาแพทย์โดยตรง เพื่อขอรับยารักษาที่เหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

ซีร์เทค (Zyrtec) เป็นชื่อการค้าของกลุ่มยาเซทิไรซีน (Cetirizine) ซึ่งจัดเป็นยาในกลุ่มยาต้านฮิสตามีน ( Antihistamine) ซึ่งใช้ในการรักษาอาการหวัด และโรคภูมิแพ้ เช่น จาม คันตา และน้ำมูกไหล 

นอกจากนี้ Cetirizine ยังใช้สำหรับรักษาอาการคันและบวมที่เกิดจากโรคลมพิษเรื้อรัง และแมลงสัตว์กัดต่อยด้วย โดยมีรูปแบบยาจะมีทั้งแบบยาน้ำเชื่อม และแบบเม็ดรับประทาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปริมาณการรับประทานของยา Zytec

คุณสามารถรับประทานยา Zytec พร้อมมื้ออาหารได้ หรือจะรับประทานขณะท้องว่างก็ได้ แต่ปริมาณของตัวยาจะมีความแตกต่างกันไปตามอายุผู้ป่วย และรูปแบบของยาดังนี้

  • ชนิดเม็ด ขนาด 10 มิลลิกรัม
    • สำหรับผู้ใหญ่ และเด็กอายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละครั้ง
  • ชนิดยาน้ำเชื่อม ขนาด 5 มิลลิกรัม ต่อช้อนชา (5 มิลลิลิตร)
    • สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 2 ถึง 6 ปี รับประทานครั้งละ ครึ่งช้อนชา (2.5 มิลลิลิตร) วันละ 2 ครั้ง เช้า และ เย็น หรือรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร) วันละ 1 ครั้ง

ผลกระทบจากการใช้ยา Zytec ในหญิงมีครรภ์

ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ Cetirizine กับทารกในครรภ์ และจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง ก็ยังไม่พบความผิดปกติต่อตัวอ่อนแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรแจ้งแพทย์หากกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ในขณะที่ใช้ยา Zytec อยู่

ผลข้างเคียงของยา Zytec

การรับประทานยาทุกชนิดย่อมเกิดผลข้างเคียงบางอย่างต่อร่างกายได้ ซึ่งในส่วนของยา Zytec ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

ข้อควรระวังของยา Zytec

  • แม้ว่า Zytec จะใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ แต่คุณอาจพบอาการคันระคายเคืองเมื่อหยุดยา และในฉลากของยาตัวนี้ก็ไม่ได้มีคำเตือนให้ระวังเกี่ยวกับอาการคันด้วย 
  • Zytec อาจมีผลด้านความไวในการตัดสินใจ คุณจึงควรระมัดระวังเมื่อต้องขับรถ หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความเร็วและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
  • Zytec อาจทำให้คุณง่วงนอนได้ ดังนั้น หากคุณจำเป็นต้องรับประทานยา Zytec ร่วมกับยาตัวอื่นที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนเพิ่มขึ้น เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้ปวดชนิดโอปิออยด์ (Opioid) ยาเสพติด ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากันชัก ยารักษาภาวะซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวล คุณต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับตัวยาเหล่านี้ด้วย
  • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสามารถเพิ่มผลข้างเคียงเรื่องอาการง่วงนอนจากยา Zytec ได้
  • หากคุณต้องทดสอบอาการแพ้ผิวหนังในห้องปฏิบัติการ และกำลังใช้ยา Zytec อยู่หรือเคยใช้ ให้แจ้งแพทย์ให้ทราบก่อน เพราะยาตัวนี้สามารถรบกวนผลการทดสอบที่แสดงออกมาได้
  • แจ้งแพทย์ หากพบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงต่อไปนี้
    • อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
    • อ่อนเพลีย ตัวสั่น มีปัญหาการนอนหลับ
    • กระสับกระส่ายอย่างรุนแรง สมาธิสั้น รู้สึกสับสน
    • มีปัญหาด้านการมองเห็น
    • ปัสสาวะขัดหรือน้อยกว่าปกติ
  • ก่อนจะใช้ Zytec คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อน หากตนเองแพ้ยาไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) หรือยาเลโวซิทีรีซิน (Levocetirizine) อยู่ เพราะยาทั้ง 2 ตัวนี้มีโครงสร้างเหมือนตัวยา Zytec จึงมีความเสี่ยงว่าคุณอาจจะแพ้ยา Zytec ด้วยเช่นเดียวกัน
  • ให้คุณรีบไปพบแพทย์ฉุกเฉินทันที หากคุณใช้ Zytec แล้วมีอาการแพ้รุนแรง เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอบวม

ปฎิกิริยาของยา Zytec ต่อยาหรือสารอื่นๆ

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มผลข้างเคียงบางอย่างของยาได้
  • แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ ยาตามใบสั่งแพทย์ และไม่ใช่ยาตามใบสั่งแพทย์ รวมถึงวิตามิน อาหารเสริมสมุนไพรต่างๆ

    สำหรับรายชื่อยาที่พบว่าจะเกิดปฏิกิริยาและไม่แนะนำให้ใช้ร่วมกับ Zytec
    • Amphadase, Hydase, Vitrase และ Wydase (hyaluronidase (ovine))
    • Bosulif (bosutinib)
    • Iclusig (ponatinib)
    • Juxtapid (lomitapide)
    • Kaletra (lopinavir-ritonavirl)
    • Latudal (lurasidone)
    • Nardil (phenelzine)
    • ONFI (clobazam)
    • Norvir (ritonavir)
    • Xalkori (Crizotinib)
    • Zelboraf (Vemurafenib)

การใช้ยา Zytec ในผู้ที่มีไตและตับบกพร่อง

  • ผู้ป่วยอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุที่ไตมีปัญหา หรืออยู่ในขั้นที่ต้องฟอกไต รวมถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ แนะนำให้ใช้ยา 5 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็ก 6-11 ปี และเด็กที่มีปัญหาภาวะไตหรือตับบกพร่อง ควรใช้ยาในปริมาณต่ำกว่าที่แนะนำ
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีที่มีปัญหาภาวะไต หรือตับบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Zytec
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 77 ปี แนะนำให้ใช้ยาขนาด 5 มิลลิกรัมต่อวัน

ผลกระทบหากรับประทานยา Zytec เกินขนาด

หากคุณรับประทานยาเกินขนาด ให้รีบไปพบแพทย์แผนกฉุกเฉินทันที โดยอาการที่มักเกิดจากการรับประทานยาเกินขนาดคือ อาการง่วงนอนอย่างรุนแรง ส่วนอาการในผู้ป่วยเด็กอาจแสดงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น อาการร้อนรน อยู่ไม่นิ่ง และหงุดหงิดก่อนที่จะเกิดอาการง่วงนอน

คำแนะนำหากลืมรับประทานยา Zytec

โดยทั่วไป หากคุณลืมรับประทานยา Zytec ก็ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับการรับประทานยาในครั้งต่อไปแล้ว ให้คุณข้ามไปรับประทานยาในครั้งต่อไปเลย โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่าเพื่อชดเชย และอย่ารับประทานยาเกินขนาดสูงสุดที่รับประทานได้ต่อวันด้วย

การเก็บรักษายา Zytec

  • เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง รวมถึงไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกชื้น และให้ทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. นพ.ปารยะ อาศนะเสน, โรคภูมิแพ้ และยาต้านฮิสทามีน (http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1175)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)