เพราะอาการโรคภูมิแพ้มักจะสร้างความรำคาญ และทำให้การดำเนินชีวิตของคุณลำบากขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้นการหาวิธีรักษาภูมิแพ้ที่เหมาะสมกับตนเองจึงเป็นสิ่งที่คุณจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้คุณอยู่ร่วมกับโรคภูมิแพ้ได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
การรักษาโรคภูมิแพ้จะแบ่งเป็น 3 วิธีคือ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การรักษาโดยการรับประทานยาแก้แพ้
- การรักษาโดยการฉีดวัคซีน
- การรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
1. การรักษาโรคภูมิแพ้โดยการรับประทานยาแก้แพ้
สรรพคุณหลักๆ ของยาแก้แพ้ที่จะช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้จะได้แก่ ลดน้ำมูก ลดอาการไอ จาม ผื่นลมพิษ อาการคันตามร่างกาย โดยรูปแบบของยาแก้แพ้ที่นิยมใช้กันจะแบ่งเป็น 4 แบบ คือ
- ยาแก้แพ้แบบน้ำ (Liquids) มักนิยมใช้ในผู้ป่วยเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป และเด็กโตมากกว่า
- ยาแก้แพ้แบบเม็ด (Pills) มักนิยมใช้ในผู้ป่วยวัยเด็กโตไปจนถึงวัยผู้ใหญ่
- ยาแก้แพ้แบบพ่นจมูก (Nasal sprats) มักนิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ
- ยาแก้แพ้แบบหยอดตา (Eyes drops) ใช้เพื่อลดอาการระคายเคืองตา ตาแดง หรืออาการภูมิแพ้ที่เกิดบริเวณเยื่อบุตา
ยาแก้แพ้จะประกอบไปด้วยชื่อเรียกมากมาย แล้วแต่ชนิดของยา และการฤทธิ์รักษาอาการ ซึ่งโดยหลักๆ สามารถจำแนกได้ต่อไปนี้
- ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine)
เพราะสารฮิสตามีน คือ สารสำคัญในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น ยาตัวนี้จึงจะมีกลไกต้านฤทธิ์ของสารดังกล่าว เช่น
- เฟกโซเฟนาดีน (Fexofanadine)
- อะซีลาสตีน (Azelastine)
- ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
- เดสลอราทาดีน (Desloratadine)
- ลอราทาดีน (Laratadine)
- อีมีดาสทีน (Emedastine)
- เซททิริซีน (Cetirizine)
- ยาคลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine: C.P.M.) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ที่ได้รับความนิยมเนื่องจากราคาถูก และมีความปลอดภัยสูง
- ยาแก้คัดจมูก (Decongestants) เป็นยาแก้แพ้สำหรับลดอาการคัดจมูกโดยจะออกฤทธิ์ลดอาการบวมคั่งของเนื้อเยื่อ และเส้นเลือดฝอยภายในจมูก เช่น
- ซูโอเอฟีดรีน (Pseudoephedrine)
- ออกซ์ซีเมตาโซลีน (Oxymetazoline)
- ยาป้องกันการหลั่งของเซลล์ในกระบวนการภูมิแพ้ จนทำให้เกิดอาการแพ้ (Mast Cell Stabilizer) เช่น
- โครโมลินโซเดียม (Cromoly Sodium)
- โลโดซาไมด์ (Lodoxamide)
- เนโดรโครมิล (Nedocromil)
- ยาสเตียรอยด์ (Steroids) ช่วยลดอาการบวม และอักเสบ เช่น
- ฟลูติคาโซน (Fluticasone)
- ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone)
- บีโคลเมทาโซน (Beclometasone)
- ซิกคเลโซไนด์ (Ciclesonide)
- ยารักษาโรคหอบหืด (Asthma) เช่น
- ยายับยั้งไม่ให้ลิวโคไตรอีนจับกับตัวรับ (Leukotriene Receptor Antagonist: LTRAs)
- ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators)
- ยาอิพิเนฟรินชนิดฉุกเฉิน (Emergency Epinephrine) มักถูกใช้สำหรับรักษาอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylaxis)
กลุ่มของยาแก้แพ้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน โดยแบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์
1. ยาแก้แพ้กลุ่มแรก หรือกลุ่มดั้งเดิม (First Generation Antihistamine)
เป็นยาแก้แพ้กลุ่มแรกที่ได้รับการคิดค้นขึ้น แต่มีฤทธิ์รบกวนระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึม อ่อนเพลีย กระวนกระวาย นอนไม่หลับ เช่น
- คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
- ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
- ไฮดรอไซซีน (hydroxyzine)
2. ยาแก้แพ้กลุ่มที่ 2 หรือ ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มไม่ทำให้ง่วงซึม (Second Generation Antihistamine)
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เป็นยาแก้แพ้กลุ่มแรกที่ถูกพัฒนาไม่ให้ออกฤทธิ์รบกวนระบบประสาทส่วนกลาง ผ่านการขยายโมเลกุลยาให้ใหญ่ขึ้น เพื่อลดการผ่านเข้าสู่สมองของยา จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม อ่อนเพลีย หรือประสิทธิภาพระบบการมองเห็นทำงานแย่ลง เช่น
- เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานที่หากเกิดอาการง่วง จะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงได้ เช่น นักบิน คนขับรถ
- ลอราทาดีน (Loratadine)
- เซทิริซีน (Cetirizine)
อ่านเพิ่มเติม: รวมรายชื่อยาแก้แพ้ทั้ง 2 กลุ่ม
ปริมาณการรับประทานยาแก้แพ้แต่ละแบบ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทุกเพศทุกวัยจะต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาแก้แพ้ทุกชนิด อีกทั้งปริมาณการรับประทานยาในผู้ป่วยแต่ละรายยังแตกต่างกันด้วย
- ยาแก้แพ้แบบน้ำ
- เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี รับประทานครั้งละครึ่งช้อนชา ไม่เกินวันละ 2 ครั้งต่อวัน
- เด็กอายุ 1-4 ปี รับประทานครั้งละครึ่งช้อนชา ไม่เกินวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน
- เด็กอายุ 4-7 ปี รับประทานครั้งละครึ่งถึง 1 ช้อนชา วันละ 2-4 ครั้ง
- ยาแก้แพ้แบบเม็ด
- เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ควรรับประทานยาน้ำไปก่อน เพราะยาเม็ดอาจมีปริมาณยาที่มากเกินไปสำหรับเด็กเล็ก
- เด็กอายุ 4-7 ปี ควรรับประทานยาเม็ด แต่ให้หักแบ่งกินครั้งละ 1 ใน 4 ของเม็ด
- เด็กอายุ 7-12 ปี ควรรับประทานยาเม็ดครั้งละครึ่งเม็ด
- เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ควรรับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-4 เม็ด หรือทุกๆ 4-6 ชั่วโมง
นอกจากนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และคิดว่าตนเองกำลังป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ยังควรรีบไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ เพราะในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคภูมิแพ้นั้น จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับชนิด และปริมาณยาที่ต้องรับประทานระหว่างที่ตั้งครรภ์
หากคุณรับประทานยาไม่เหมาะสม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะพิการ หรือผิดปกติแต่กำเนิดได้ โดยคุณสามารถกำหนดประเภทของความเสี่ยงในยาแก้แพ้ได้ 5 ประเภท ได้แก่
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทเอ: ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก แต่ยาประเภทนี้จะมีอยู่ค่อนข้างน้อย
- ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทบี: มีผลการศึกษาว่า ปลอดภัยต่อสัตว์ที่มีครรภ์ แต่ยังไม่มีผลบอกว่า ปลอดภัยต่อมนุษย์
- ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทซี: มีผลการศึกษาว่า ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์สัตว์ แต่ยังไม่มีผลเกี่ยวกับมนุษย์ออกมา จึงแล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์ที่จะจ่ายยาให้
- ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทดี: เป็นกลุ่มยาเสี่ยงก่อความผิดปกติต่อทารกในครรภ์มนุษย์ มักถูกสำหรับรักษาโรคที่รุนแรง หรือเพื่อช่วยชีวิตมารดามากกว่า
- ยาสำหรับการตั้งครรภ์ประเภทเอ็กซ์: เป็นประเภทยาที่อันตรายต่อทารก ทำให้เกิดความผิดแต่กำเนิดได้
อ่านเพิ่มเติม: วิธีการรับประทานยาแก้แพ้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
2. การรักษาโรคภูมิแพ้โดยการฉีดวัคซีน
นอกเหนือจากรับประทานยา คุณยังสามารถฉีดวัคซีนภูมิแพ้เพื่อรักษาอาการได้ โดยตัววัคซีนจะมีสารก่อภูมิแพ้ที่คุณแพ้อยู่ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เกิดปฏิกิริยาแพ้อีกครั้ง
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยในช่วงเริ่มต้น แพทย์จะฉีดวัคซีนบริเวณแขนสัปดาห์ละ 1 ครั้งสลับกัน จากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณวัคซีนมากขึ้นทีละน้อย และเพิ่มความห่างของการฉีดแต่ละครั้ง
จนเมื่อปริมาณวัคซีนถึงขีดสุดที่ผู้ป่วยจะรับได้แล้ว และอาการภูมิแพ้ก็ทุเลาลง หรือไม่แสดงอาการออกมาอีก เมื่อนั้นแพทย์ก็จะหยุดให้วัคซีน ซึ่งระยะเวลาการรักษาด้วยวิธีนี้ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3-5 ปี
อย่างไรก็ตาม อาการข้างเคียงจากวัคซีนภูมิแพ้ก็อาจเกิดขึ้นได้ และยังรุนแรงได้ถึงขั้นเหมือนอาการแพ้เฉียบพลันรุนแรง ผู้ป่วยที่เข้ารับการฉีดวัคซีนจะต้องสังเกตตนเองหลังจากรับวัคซีนแล้วประมาณ 30 นาที-1ชั่วโมง และอย่าเพิ่งออกกำลังกาย หรือยกของหนัก
อ่านเพิ่มเติม: การฉีดวัคซีนแก้แพ้
3. การรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
นอกจากใช้ยา หรือวัคซีนรักษา การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองก็เป็นอีกสิ่งที่ที่ช่วยให้อาการภูมิแพ้ทุเลาลงไปได้ เช่น
- ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น อย่าปล่อยให้ร่างกายอยู่ในอุณหภูมิเย็นจัด ร้อนจัด หรืออับชื้น
- ทำความสะอาดสภาพแวดล้อมให้สะอาด ปราศจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น บริเวณภายในบ้าน ห้องที่เสี่ยงเป็นแหล่งรวมของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ โดยคุณอาจว่าจ้างแม่บ้าน หรือขอให้สมาชิกในบ้านช่วยเหลือด้วย
- พกหน้ากากอนามัยติดตัว เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
- หมั่นนำผ้าที่ซักไปตากแดด เพื่อให้ความร้อนจากแดดฆ่าเชื้อ
- ทำความสะอาดร่างกายสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข หนู เพื่อไม่ให้มีขนหลุดร่วงเป็นสารก่อภูมิแพ้อีก โดยคุณอาจขอให้สมาชิกคนอื่นในบ้านช่วยทำความสะอาด และดูแลสัตว์เลี้ยงแทน
- จำกัดระยะห่างกับสัตว์เลี้ยง เพราะในน้ำลาย ขน และสะเก็ดผิวหนังที่หลุดร่วงของสัตว์เลี้ยงนั้นเต็มด้วยสารก่อภูมิแพ้หลายอย่าง
- นอนหลับให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย เพราะจะเสี่ยงทำให้อาการของโรคเป็นหนักกว่าเดิม
- กำจัดพืชที่คุณแพ้ในบริเวณรอบๆ บ้านออกไปให้หมด เพื่อลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ในบ้านคุณ
- หากคุณเคยชอบเปิดหน้าต่าง หรือลืมปิดประตูบ้าน ให้เปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นซะ เพราะจะทำให้ฝุ่น เชื้อโรค และสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ เข้ามาในบ้านมากกว่าเดิม นอกจากนี้ คุณยังควรหามุ้งลวดมาติดเพื่อกันละอองฝุ่นเล็กๆ อีกชั้นด้วย และทำให้บ้านมีอากาศถ่ายเท
- ลดความรู้สึกเครียด และวิตกกังวลให้น้อยลง เพราะความเครียดคือตัวกระตุ้นอีกอย่างที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้
อ่านเพิ่มเติม: วิธีลดสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน
อ่านเพิ่มเติม: วิธีจัดการไม่ให้สัตว์เลี้ยงของคุณเป็นต้นเหตุของสารก่อภูมิแพ้
และสุดท้าย สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้อาการแพ้ของคุณดีขึ้น ก็คือ หลีกเลี่ยงไม่อยู่ใกล้สารก่อภูมิแพ้ทุกชนิด เพื่อให้อาการแพ้กลับมาเล่นงานคุณอีกครั้ง และควรรับประทานยา ไปพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้งด้วย
อ่านบทความเกี่ยวกับการรักษาโรคภูมิแพ้
- เป็นภูมิแพ้เมื่อตั้งครรภ์ ควรรับประทานยาอย่างไร
- ยาแก้แพ้กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีอะไรบ้าง
- วัคซีนโรคภูมิแพ้ฉีดอย่างไร มีผลข้างเคียงหรือไม่
- ภูมิแพ้จากแมวที่เลี้ยง จัดการอย่างไรดี
ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android