ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators)

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators)

ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators) คือยาที่ช่วยให้หายใจได้ง่ายขึ้น โดยการเพิ่มการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมทำให้หลอดลมขยายตัวกว้างขึ้น ซึ่งส่วนมากยาจะใช้ในการรักษาภาวะปอดอักเสบเรื้อรัง ดังต่อไปนี้

  • หอบหืด ซึ่งเป็นโรคปอดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยสาเหตุเกิดจากการอักเสบของหลอดลม
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ โรคซีโอพีดี (Chronic obstructive pulmonary disease, COPD) สาเหตุหลักเกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งจะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดลม

ยาขยายหลอดลม มีหลายประเภท ดังนี้

  • แบบออกฤทธิ์สั้น (short-acting) จะใช้สำหรับบรรเทาอาการในขณะที่เป็นทันที เช่น อาการหอบเหนื่อยที่เกิดอย่างคาดไม่ถึง เป็นต้น
  • แบบออกฤทธิ์ยาว (long-acting) จะเป็นยาชนิดที่ใช้เป็นประจำ ใช้ในการควบคุมอาการทั้งในโรคหอบหืดหรือซีโอพีดี โดยอาจจะผสมยาสเตียรอยด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ยาขยายหลอดลมและยาสเตียรอยด์

ยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่น คือ การรักษาหลักในปัจจุบัน เพื่อการอักเสบและป้องกันการกำเริบของโรคในภาวะหอบหืดได้ แต่ในบางรายอาจจะต้องใช้ยาขยายหลอดลมที่ผสมสเตียรอยด์ด้วยเพื่อที่จะเปิดขยายหลอดลมให้กว้างขึ้นเสริมการทำงานของสเตียรอยด์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในกรณีของผู้ป่วยซีโอพีดี การรักษาในระยะแรกจะเริ่มต้นด้วยการให้ยาขยายหลอดลมแบบฤทธิ์สั้น หรือแบบฤทธิ์ยาว และค่อยเพิ่มยา หรือให้ร่วมกันในผู้ป่วยที่มีภาวะรุนแรง

ชนิดของยาขยายหลอดลม

รูปแบบของยาขยายหลอดลมที่นิยมใช้ได้แก่

  • กลุ่มเบต้า-2 อะโกนิสท์ (Beta-2 agonist) เช่น ซาลบูทามอล (salbutamol) ซาลเมเทอรอล (salmeterol) ฟอโมเทอรอล (formoterol)
  • กลุ่มแอนตี้ โคลิเนอจิกส์ (anticholinergics) เช่น ไอปราโทรเปียม (ipratropium) ไทโอโทรเปียม (tiotropium) 
  • ยาธีโอฟิลลีน (theophylline)

ยาทั้งสองกลุ่มนั้นมีทั้งชนิดที่ออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาว แต่ตัวยาธีโอฟิลลีนนั้นจะพบเฉพาะในรูปแบบฤทธิ์ยาว

ยาขยายหลอดลมกลุ่มเบต้า-2 อะโกนิสท์ (Beta-2 agonist)

กลุ่มเบต้า-2 อะโกนิสท์ (Beta-2 agonist) สามารถใช้รักษาได้ทั้งในโรคหอบหืดและซีโอพีดี โดยรูปแบบที่ใช้จะเป็นยาสูดพ่นขนาดที่เหมาะมือ แต่อาจจะมีรูปแบบเม็ดหรือยาน้ำได้เช่นกัน สำหรับกรณีที่รุนแรงมากอาจจะใช้รูปแบบฉีดหรือเนบูไลเซอร์ (nebuliser) แทน

เนบูไลเซอร์ (nebuliser) คือรูปแบบการใช้ที่เป็นการอัดละอองยาให้เป็นฝอยขนาดเล็กทำให้ผู้ป่วยสูดพ่นเข้าไปได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสวมเป็นหน้ากากและหายใจผ่านหน้ากากนั้น

ยากลุ่มเบต้า-2 อะโกนิสท์ ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นตัวรับชนิดเบต้า-2 ในกล้ามเนื้อภายในหลอดลม ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อนั้นคลายตัวและหลอดลมขยายออก โดยยากลุ่มนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาขยายหลอดลมกลุ่มแอนตี้ โคลิเนอจิกส์ (anticholinergics)

ยาแอนตี้ โคลิเนอจิกส์ (anticholinergics) หรือเรียกอีกชื่อว่า แอนตี้มัสคารินิกส์ (antimuscarinics) โดยยากลุ่มนี้จะใช้ในผู้ป่วยกลุ่มซีโอพีดีเป็นหลัก โดยรูปแบบการใช้หลักคือจะเป็นยาชนิดสูดพ่นและเนบูไลเซอร์ (nebuliser)

ยาจะออกฤทธิ์โดยการขยายหลอดลมจากการไปยับยั้งประสาทชนิดโคลิเนอจิกส์ ซึ่งประสาทชนิดนี้จะปล่อยสารสื่อประสาทที่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมหดตัว

ยากลุ่มนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ดังนี้

ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมลูกหมากโตหรือกระเพาะปัสสาวะอุดตัน ยากลุ่มนี้จะทำให้ปัสสาวะยากยิ่งขึ้น หรือในกลุ่มผู้ที่เป็นต้อยาจะทำให้อาการต้อแย่ลงได้

ยาธีโอฟิลลีน (theophylline)

ยาธีโอฟิลลีน (theophylline) จะเป็นรูปแบบยาเม็ดหรือแคปซูล และจะมียากลุ่มเดียวกันชื่อว่า อะมิโนฟิลลีน (aminophylline) สามารถฉีดเข้าสู่เส้นเลือดได้ในกรณีที่เกิดภาวะหอบเหนื่อยรุนแรง

สำหรับยาธีโอฟิลลีนนั้นยังไม่ทราบถึงกลไกการออกฤทธิ์ที่ชัดเจน แต่ยาจะช่วยลดการอักเสบหรือบวมภายในหลอดลมได้ แต่เนื่องจากมีฤทธิ์ที่ต่ำกว่ายากลุ่มอื่นๆ จึงมักจะใช้ยาธีโอฟิลลีนควบคู่กับยากลุ่มอื่นมากกว่าจะเป็นยาหลัก ยากลุ่มนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (hyperthyroid)
  • กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคตับต่างๆ
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • ภาวะกระเพาะอาหารมีแผล
  • ภาวะชัก

ยาธีโอฟิลลีนอาจทำให้กลุ่มอาการเหล่านี้แย่ลงได้ ในผู้ที่มีปัญหาโรคตับอาจจะก่อให้เกิดการสะสมของยาที่ตับได้

ผลข้างเคียงของยาขยายหลอดลม

ผลข้างเคียงของยาขยายหลอดลมนั้นขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้ โดยผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้มีดังนี้

การใช้ยาขยายหลอดลมในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ในกรณีส่วนใหญ่ สามารถใช้ยาขยายหลอดลมได้อย่างปกติในหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอและแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งว่าตนตั้งท้องหรือให้นมบุตรอยู่ การตั้งครรภ์อาจส่งผลให้โรคหอบหืดกำเริบได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการรับประทานอยาอย่างถูกต้องและครบถ้วนจึงมีความสำคัญมากเพื่อไม่ให้โรคกำเริบขึ้น

ปฏิกิริยาระหว่างยาขยายหลอดลมและยาชนิดอื่น

ยาในกลุ่มยาขยายหลอดลมนั้นสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นๆได้ ซึ่งอาจจะเพิ่มหรือลดฤทธิ์ยาได้ โดยยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยาขยายหลอดลมได้ ได้แก่

  • ยาขับปัสสาวะบางชนิด
  • ยารักษาโรคซึมเศร้าในกลุ่มทีซีเอ (TCAs)
  • ยาไดจอกซิน (digoxin) ซึ่งเป็นยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepine) ซึ่งเป็นยานอนหลับ
  • ยาลิเทียม (lithium) ใช้สำหรับรักษาโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง และโรคไบโพล่า
  • ยากลุ่มควิโนโลน (quinolones) ซึ่งจัดเป็นยาปฏิชีวนะ

ผลข้างเคียงของยาขยายหลอดลมกลุ่มเบต้า-2 อะโกนิสท์

ผลข้างเคียงหลักที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • อาการสั่น โดยเฉพาะมือสั่น
  • มีอาการกระวนกระวาย
  • ปวดศรีษะ
  • ใจสั่น
  • ปวด เหน็บชา บริเวณกล้ามเนื้อ

อาการเหล่านี้สามารถหายได้เอง หรือผู้ใช้สามารถทนอาการข้างเคียงได้เองหลังจากใช้ยาไประยะหนึ่ง หากมีอาการที่ผิดปกติหรือทนต่ออาการข้างเคียงไม่ได้ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อปรับขนาดยาหรือเปลี่ยนยา

อาการผลข้างเคียงที่รุนแรงแต่เกิดขึ้นได้น้อยมากได้แก่ การเกิดการหดเกร็งของหลอดลม (paradoxical bronchospasm) หรือการใช้ยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิดหัวใจวายได้

ผลข้างเคียงของยาขยายหลอดลมกลุ่มแอนตี้ โคลิเนอจิกส์ (anticholinergics)

อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

อาการที่พบได้น้อย ได้แก่

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • แสบร้อนกลางอก
  • กลืนลำบาก  (dysphagia)
  • ใจสั่น
  • ระคายเคื่องในลำคอ
  • ปัสสาวะขัด

ผลข้างเคียงของยาธีโอฟิลลีน

ยาธีโอฟิลลีนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้หากมีปริมาณยาสะสมในร่างกายมาก การตรวจติดตามปริมาณยาในเลือดจึงสำคัญมาก ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ใจสั่น
  • ปวดศรีษะ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • นอนไม่หลับ

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
List of Bronchodilators - Generics Only. Drugs.com. (https://www.drugs.com/drug-class/bronchodilators.html)
Bronchodilators: Types, side effects, and how to take them. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325613)
List & Types of Bronchodilators: Side Effects & Uses. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/bronchodilators_for_asthma/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)