ภาวะนี้สามารถพบได้บ่อยในผู้ชายอายุมากและเกิดจากการที่ต่อมลูกหมายมีการโตมากกว่าปกติ
ภาวะต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia – BPH) คือภาวะที่ต่อมลูกหมากมีการโตมากกว่าปกติโดยต่อมลูกหมาก คือต่อมที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและหน้าต่อลำไส้ มีขนาดประมาณลูกวอลนัทและอยู่ล้อมรอบทางเดินปัสสาวะ (ท่อที่เชื่อมทางกระเพาะปัสสาวะไปสู่ปลายองคชาติ) ในผู้ชาย ทำหน้าที่ผลิตสารซึ่งประกอบไปด้วยอาหารที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของตัวอสุจิ เราเรียกสารนี้เมื่อรวมกับตัวอสุจิว่าน้ำอสุจิ (semen)
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ต่อมลูกหมากโตไม่ใช่มะเร็งและไม่ทำให้เกิดมะเร็งในอนาคต แต่การที่ต่อมลูกหมากโตอาจทำให้เกิดการกดท่อปัสสาวะได้ ทำให้ผนังของกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้น นำไปสู่อาการผิดปกติของการปัสสาวะ
ความชุกในการเกิดต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากโตที่เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ชายสูงอายุ และมักเกิดเมื่อมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
อ้างอิงจากวารสาร Reviews in Urology ในปี 2005 พบว่าอัตราการเกิดต่อมลูกหมากโตในผู้ชายช่วงอายุ 30 ปีอยู่ที่ 10% และอยู่ที่ 20% ในช่วงอายุ 40 ปี ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% เมื่ออายุ 60 ปีและ 80-90% ในผู้ชายอายุ 70-80 ปีขึ้นไป และในปี 2010 พบว่ามีผู้ชาย 210 ล้านคนที่มีภาวะดังกล่าวทั่วโลก หรือคิดเป็น 6% ของประชากรเพศชายทั้งหมด ซึ่งมีการคาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคนี้จะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจากการที่มีประชากรสูงอายุและมีการเพิ่มขึ้นของอายุขัยประชากรทั่วโลก
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดภาวะต่อมลูกหมากโต แต่คาดว่าอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อมีอายุมากขึ้น
ผู้ชายมีการผลิตฮอร์โมน Testosterone และ estrogen ตลอดชีวิตแต่ปริมาณที่ผลิตออกมานั้นมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุ เมื่อผู้ชายมีอายุมากขึ้น ปริมาณของ Testosterone ที่พร้อมทำงานในกระแสเลือดจะลดลงเมื่อเทียบกับระดับฮอร์โมน estrogen ซึ่งอาจทำให้กระทบต่อสารบางชนิดที่กระตุ้นให้เซลล์ในต่อมลูกหมากมีการโตขึ้น
ต่อมลูกหมากโตยังอาจสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศชายอีกตัวหนึ่งที่ชื่อ Dihydrotestosterone ทำหน้าที่ช่วยในการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้ยังคงมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้นแม้จะมีการลดลงของ testosterone ก็ตาม ฮอร์โมนนี้จึงอาจมีผลทำให้เซลล์ของต่อมลูกหมากโตขึ้นเช่นเดียวกับ estrogen
ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดต่อมลูกหมากโตประกอบด้วย
- อายุมากกว่า 40 ปี
- มีประวัติครอบครัวเป็นต่อมลูกหมากโต
- อ้วน
- ไม่ออกกำลังกาย
- มีความผิดปกติในการแข็งตัวขององคชาติ (Erectile dysfunction)
- เป็นโรคหัวใจหรือโรคทางหลอดเลือด)
- เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
ภาวะแทรกซ้อนของต่อมลูกหมากโต
ผู้ป่วยชายที่เป็นต่อมลูกหมากโตส่วนใหญ่ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ประกอบด้วย
- มีการทำลายกระเพาะปัสสาวะ และ/หรือไต
- เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
- ปัสสาวะไม่สุด
- มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
- ปัสสาวะเป็นสีเลือด
- กลั้นปัสสาวะไม่ได้
อาการเริ่มแรกของมะเร็งต่อมลูกหมาก