January 25, 2017 14:46
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยเอาต่อมลูกหมากออก ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยการเปิดผ่านหน้าท้อง ผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยการเปิดผ่านบริเวณฝีเย็บ ผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านผนังหน้าท้อง และผ่าตัดต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านผนังหน้าท้องโดยการใช้หุ่นยนต์ช่วย
การผ่าตัดขึ้นอยู่กับเทคนิควิธีและสภาวะของผู้ป่วยร่วมด้วย แต่การผ่าตัดต่อมลูกหมากค่อนข้างปลอดภัยครับ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงจากการผ่าตัดได้แก่
-ผู้ป่วยอาจมีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ(erectile dysfunction)
-ผู้ป่วยอาจมีการปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะราด ในระยะแรกประมาณ 1 ถึง 2 เดือนหลังการผ่าตัด ต่อมาอาการจะค่อยๆหายไป(urinary incontinence)
-อาจมีการปัสสาวะไม่ออก ถ้ามีการตีบ แคบของท่อปัสสาวะ(stricture urethra)
ปัจจุบันยังไม่ทราบวาเหตุแน่ชัดว่ามะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร เรายังไม่สามารถบอกได้ว่าบางคนเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ในขณะที่อีกคนไม่เป็นแต่มีการศึกษาพบว่ามีองค์ประกอบบางอย่างที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากดังนี้
1.อายุ เราพบโรคนี้ในคนสูงอายุส่วนใหญ่มากกว่า 65 ปี ในอายุต่ํากว่า 45 ปี พบน้อยมาก
2.ประวัติครอบครัว หากมีพ่อ, พี่ชาย หรือน้องชาย เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จะทําให้มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น
3.เชื้อชาติ มะเร็งต่อมลูกหมากพบมากในคนแอฟริกันมากกว่าคนผิวขาว แต่จะพบได้น้อยในคนเอเชีย
4.มีเซลล์ที่เปลี่ยนแปลงในต่อมลูกหมาก เราจะพบว่าใน high-grade prostatic intraepithelial neoplasia (PIN)จะพบว่าอาจทําให้พบมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
5.อาหาร มีการศึกษารายงานออกมาว่าการรับประทานอาหารจําพวกเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าการรับประทานอาหารจําพวกพืชผัก
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากในปัจจุบัน มีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ผู้ชายอายุเท่าไรถึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)