การตรวจสแกนกระดูกกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการสแกนกระดูก
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจสแกนกระดูกกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

การตรวจสแกนกระดูกกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมักจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน โดยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหากเริ่มมีการกระจายออกนอกต่อมลูกหมากแล้วจะมีแนวโน้มสูงมากที่จะแพร่กระจายเข้าสู่กระดูก ซึ่งการสแกนกระดูกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการตรวจสอบที่ใช้บ่อยเพื่อตรวจหาว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมีการแพร่กระจายเข้าสู่กระดูกและหรือยัง ถ้าหากแพทย์สงสัยว่ามะเร็งต่อมลูกหมากของคุณอาจมีการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งคุณควรจะต้องทำการทดสอบนี้

มะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร?

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นในต่อมลูกหมากซึ่งเป็นต่อมขนาดเล็กที่ทำหน้าที่สร้างน้ำอสุจิ โดยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะพบได้มากที่สุดในผู้ชาย โรคมะเร็งต่อมลูกหมากมักค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อยและในระยะแรกจะอยู่ภายในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายรุนแรง แม้ว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากบางชนิดอาจโตข้าและอาจจะต้องการการรักษาเพียงเล็กน้อย โดยบางชนิดก็อาจรุนแรงและลุกลามไปได้ไว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การสแกนกระดูกคืออะไร?

การสแกนกระดูกคือการตรวจดูบริเวณของกระดูกที่อาจถูกทำลายจากโรคมะเร็ง การติดเชื้อ หรือสาเหตุต่าง ๆ ในการตรวจสแกนนี้จะช่วยตรวจหากระดูกที่ถูกทำลายทั่วร่างกายได้

ทำไมถึงต้องมีการทำการสแกนกระดูก

ซึ่งมีหลายเหตุผล อาทิ  

  • เพื่อตรวจดูการแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่กระดูก
  • เพื่อตรวจหากระดูกหักที่อาจไม่พบจากการเอกซเรย์กระดูก
  • เพื่อระบุบริเวณของกระดูกที่ถูกทำลายจากการติดเชื้อหรือภาวะอื่นๆ ทางกระดูก
  • เพื่อประเมินบริเวณที่ดูผิดปกติจากการตรวจอื่นๆ เช่นเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การสแกนกระดูกทำงานอย่างไร?

ขั้นตอนแรกคือ การฉีดสารทึบรังสีเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งสารเหล่านั้นเป็นสารปลอดภัยและจะแสดงรังสีออกมาในระดับต่ำที่กล้องชนิดพิเศษที่เรียกว่า gamma camera ที่สามารถตรวจจับได้

สารทึบรังสีนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระดูก

โดยปกตินี้จะใช้เวลาหลายชั่วโมงก่อนที่สารนั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระดูก ดังนั้นจึงจะต้องนัดมาฉีดสารในตอนเช้าและทำการถ่ายภาพโดยกล้อง gamma camera ในช่วงสายหรือในช่วงบ่าย ในการตรวจนี้เป็นการทดสอบที่ไม่เจ็บปวดโดยมีเพียงแค่การเปิดเส้นเลือดดำเพื่อฉีดสารทึบรังสีเพียงขั้นตอนเดียวที่อาจทำให้มีอาการเจ็บ

ผลของการทดสอบนี้หมายความว่าอะไรบ้าง?

การสแกนกระดูกที่เป็นปกติจะเห็นว่าสารทึบรังสีมีการกระจายทั่วๆกระดูกทั้งหมด ซึ่งในบริเวณกระดูกที่มีการเจริญเติบโตมากขึ้นหรือมีการแตกเมื่อเทียบกับกระดูกปกติจะดูดซึมสารทึบรังสีเหล่านี้เพิ่มขึ้น โดยจะแสดงให้เห็นเป็นลักษณะ hot spot ในรูปที่ถ่ายโดยกล้อง gamma camera หรือบริเวณของกระดูกที่ไม่มีการดูดซึมสารทึบรังสีเข้าไปก็จะทำให้เห็นเป็นลักษณะ cold spot ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบเป็นการแสดงความผิดปกติที่เกิดขึ้น

  • Hot spots อาจเกิดได้จากหลายภาวะเช่นมะเร็ง กระดูกหัก กระดูกติดเชื้อ ข้ออักเสบบางชนิด และโรคเรื้อรังของกระดูก
  • Cold spot จะพบได้น้อยกว่า แต่สามารถพบได้ในมะเร็งบางชนิด (เช่น Multiple Myeloma) หรือการภาวะการทำงานของกระดูกบางภาวะ

12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป