มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี

ต่อมลูกหมาก สร้างมาเพื่อกั้นไม่ให้น้ำปัสสาวะ กับน้ำเชื้ออสุจิหลั่งออกพร้อมกัน และต่อมลูกหมากยังมีความอ่อนไหวกับการเกิดโรคภัยมากที่สุด

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมาก มีอัตราการเสียชีวิตมากเป็นอันดับสองของเพศชายรองมาจากมะเร็งปอด ส่วนอาการไม่เด่นชัด ตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นภัยเงียบ เพราะกว่าจะแสดงอาการเซลมะเร็งก็ลุกลามมากแล้ว ดังนั้นเพศชายจะต้องใส่ใจปัสสาวะ ว่าผิดปกติหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ปัสสาวะบ่อยครั้ง โดยเฉพาะตอนดึก
  • ลำปัสสาวะไม่พุ่ง ออกน้อย
  • บางรายอาจมีอาการปัสสาวะหยอดลงที่นิ้วเท้าของตนเอง

อาจลองสังเกตจากการเข้าไปปัสสาวะที่ห้องน้ำสาธารณะ แล้วเทียบระยะเวลาการปัสสาวะกับ ผู้ชายที่เข้าใช้บริการพร้อมกัน ผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดโรคจะใช้เวลาปัสสาวะมากกว่า เพราะขนาดต่อมลูกหมากไปขวางทางเดินของปัสสาวะ อาการแบบนี้เรียกว่าต่อมลูกหมากโต ขั้นนี้อาจตรวจพบหรือไม่พบมะเร็งก็ได้

การตรวจโดยแพทย์เฉพาะทาง

  1. ตรวจหาสาร Prostatic Specific Antigen (PSA) จากการตรวจเลือด คนปกติพบ 0-4 นาโนกรัม จากเลือด 1 มิลลิลิตร แต่เมื่อเกิน 10 นาโนกรัม โอกาสจะเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากจะสูง ซึ่งค่า PSA เป็นเอนไซม์ ที่ต่อมลูกหมากผลิตและปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ตามอาการอักเสบของต่อมลูกหมาก กล่าวคือยิ่งอักเสบมาก PSA จะมีค่ามาก ต่อมลูกหมากจะยิ่งโตมากนั่นเอง
  2. การลูบคลำต่อมลูกหมากเข้าไปทางทวารหนัก วิธีนี้จะใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการต่อมลูกหมากโต เซลมะเร็งจะทำให้เกิดรอยขุขระ ไม่เรียบ
  3. ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ วิธีนี้แพทย์เฉพาะทางจะต้องทำในห้องผ่าตัด ใช้เครื่องมือเฉพาะ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บในรูทวารคล้ายมดกัด เมื่อตัดชิ้นเนื้อแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนพักเพื่อเฝ้าระวังอาการติดเชื้อ 1 วัน

การรักษา

มะเร็งต่อมลูกหมากมีวิธีรักษาหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการมากน้อย โดยแพทย์เฉพาะทางจะทำหน้าที่วินิจฉัย ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดส่องกล้อง เอาต่อมลูกหมากออก วิธีนี้จะได้ผลดีเพราะ เอาเชื้อมะเร็งออกไปพร้อมกับต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติ

ปัจจุบันการแพทย์เจริญก้าวหน้า การผ่าตัดส่องกล้องจะใช้วิธี บลอกหลัง แทนการวางยาสลบ ใช้เวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ บางรายยังพูดคุยกับแพทย์ได้ขณะทำการผ่าตัด จะได้กลิ่นเหม็นไหม้จากการสลายต่อมลูกหมากเท่านั้น ผู้ป่วยจะต้องนอนหงายเพื่อรอดูอาการประมาณ แปดชั่วโมง จากนั้นแพทย์จะสวนเอาเลือดออกจากกระเพาะปัสสาวะประมาณสองสัปดาห์ ระหว่าง นี้ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้แพทย์เฉพาะทางจะวินิจฉัยอาการผู้ป่วยเป็น กรณี ๆไป ก่อนตัดสินใจผ่าตัด

การป้องกันที่ดีที่สุด

ชายที่มีอายุเกิน 45 ปี ควรตรวจร่างกาย เพื่อคัดกรองหาสารเอนไซม์ PSA เป็นประจำทุกปี และไม่ควรอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคภัยเกิดในเพศชายเท่านั้น ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดมีเพียงข้อสันนิฐานเท่านั้น อย่างไรก็ตามเพศชายที่มีอายุเกิน 45 ปี ควรเฝ้าระวังอาการและความผิดปกติของปัสสาวะ เมื่อพบอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง


41 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prostate Cancer: What You Need to Know. Healthline. (https://www.healthline.com/health/prostate-cancer)
Prostate cancer. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/prostate-cancer/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การเปรียบเทียบมะเร็งต่อมลูกหมากกับโรคต่อมลูกหมากโต
การเปรียบเทียบมะเร็งต่อมลูกหมากกับโรคต่อมลูกหมากโต

เราจะสามารถเปรียบเทียบมะเร็งต่อมลูกหมากกับต่อมลูกหมากโตได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม
ลักษณะการดำเนินโรคตามธรรมชาติของมะเร็งต่อมลูกหมากหากไม่ได้รับการรักษา
ลักษณะการดำเนินโรคตามธรรมชาติของมะเร็งต่อมลูกหมากหากไม่ได้รับการรักษา

การดำเนินโรคโดยทั่วไปหรือการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมาก

อ่านเพิ่ม