ในปี 2528 เบิร์ท แม่ยายของผมตัดชิ้นเนื้อเต้านมไปตรวจ หมอโทรแจ้งว่าไม่ใช่เนื้อร้าย แต่มีข่าวร้ายว่า ในเนื้อนมรอบ ๆ ก้อนเนื้อ เกิด การกลายพันธุ์ของเซลล์ซึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งได้ แม่ยายของผมตัดสินใจ ผ่าตัดเต้านมข้างนั้นออก เธอเลือกที่จะไม่อยู่กับเจ้า “ระเบิดเวลา” ครับ ในยุคนั้นเรายังไม่ทราบว่า เซลล์ที่กลายพันธุ์อาจอยู่เฉย ๆ ในร่างกายของ เจ้าของไปชั่วชีวิตโดยไม่ก่อเรื่องเลยก็ได้ หลายปีต่อมา เมื่อเธอนึกย้อน กลับไปก็สงสัยว่า การตัดสินใจผ่าตัดที่ทําให้เธอเสียโฉมครั้งนั้นถูกต้อง หรือเปล่า
การชั่งใจขอ “รอดูไปก่อน” ยังถือปฏิบัติกันอยู่ โดยเฉพาะเมื่อการตรวจในยุคนี้ก้าวหน้า จนเราสามารถบอกตําแหน่งเซลล์มะเร็งได้ตั้งแต่ เริ่มแรกแต่ไม่มีเรื่องอะไรดุเด็ดเผ็ดร้อนไปกว่าประเด็นการตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ในไม่กี่ปีมานี้ มีข้อโต้แย้งกันในเรื่องการตรวจ เลือดหาค่าบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากที่เรียกว่า PSA (prostate-specific antigen) PSA เป็นโปรตีนเฉพาะชนิดหนึ่งซึ่งสร้างจากต่อมลูกหมาก ค่านี้จะพบสูงขึ้นผิดปกติในรายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เมื่อครั้งที่ PSA ถูกนํามาเริ่มใช้ตรวจนั้น มีการใช้งานอย่างจําเพาะ นั่นคือ ใช้เพื่อตรวจติดตามในผู้ป่วยชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและรับการรักษาไปแล้ว ค่า PSA ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก บ่งชี้ว่าการรักษาไม่ได้ผล มะเร็งกลับมาอีกหรือแพร่กระจายไป ครั้นมาถึงปี 2537 การตรวจนี้ เริ่มถูกนํามาใช้ในชายที่ปกติเพื่อคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการ
เป็นไปไม่ได้เลยที่ใครจะได้ยินคําว่า “เป็นมะเร็ง” แล้วไม่รู้สึกหวั่นไหว คําๆ นี้ มักเป็นคําที่พูดกันด้วยเสียงกระซิบ มากกว่าจะใช้เสียงดังฟังชัด ปัญหามีอยู่ว่ามะเร็งแต่ละอวัยวะไม่ได้เป็นแบบเดียวกันหมด มะเร็งบาง ชนิดเป็นแล้วตายเร็ว และมะเร็งบางอย่างเป็นแล้วไม่แสดงอาการให้รู้เลย มะเร็งต่อมลูกหมากส่วนมากจะอยู่ในประเภทหลัง เราทราบข้อเท็จจริงนี้ จากการผ่าตรวจศพผู้ชายที่เสียชีวิตจากเหตุอื่นๆ มะเร็งต่อมลูกหมากพบได้ น้อยมากในชายวัย 40 ปี แต่จะพบมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น เมื่อผู้ชายถึงวัย 60 ปี เรื่องที่น่าแปลกก็คือ หากตรวจอย่างถี่ถ้วนจะพบว่า คนจํานวนหนึ่งจะมีเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากอยู่
การตรวจคัดกรองมะเร็งที่ดีจะต้องตรวจพบเซลล์มะเร็งที่จะก่ออันตราย ตั้งแต่ในระยะที่ยังสามารถป้องกันได้ ปัญหาอยู่ตรงที่ค่า PSA ใช้แยกแยะได้ไม่ค่อยดี PSA ใช้ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากได้ 3 แบบ แบบแรกคือมะเร็งที่โตช้ามาก คนไข้จะแก่ตายก่อนตายเพราะมะเร็ง แบบ ที่ 2 คือมะเร็งชนิดร้ายแรง ซึ่งแม้จะตรวจพบตั้งแต่แรกก็ไม่สามารถป้องกัน ได้ทันและแบบสุดท้ายคือตรวจพบมะเร็งชนิดที่จะก่ออันตราย แต่ถ้ายัง อยู่ในระยะแรกก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ความเห็นที่ขัดแย้งกันอยู่ตรง ประเด็นว่า มะเร็งต่อมลูกหมากที่ตรวจพบจากการคัดกรองค่า PSA นั้น พบอยู่ในประเภทไหนมากน้อยเท่าใด แต่ที่ชัดเจนก็คือ PSA ไม่ค่อยช่วย ยืดอายุผู้ป่วยให้ยืนยาวสักเท่าใด
เนื่องจากการตรวจค่า PSA มีความเฉพาะเจาะจงไม่สูง หน่วยงานปฏิบัติการป้องกันแห่งสหรัฐอเมริกา (USPTF) จึงตีพิมพ์คําแนะนา (ที่อาจยังเป็นที่ถกเถียงกัน) เสนอให้เลิกใช้ PSA ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งที่ไม่มีอาการนั้น เป็นอันตรายมากกว่าให้ผลดี เหตุผลเป็นดังนี้ครับ โอกาสที่ชั่วชีวิตของผู้ชาย คนหนึ่งจะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่ที่ 16% จะตายเพราะมะเร็งต่อมลูกหมาก 3% นั่นหมายความว่า ผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนใหญ่ไม่ได้ตายจากโรคนี้ ทางหน่วยงานปฏิบัติการป้องกันแห่งสหรัฐอเมริกาได้ดูงานวิจัยที่ศึกษาผู้ชายจํานวนมาก แบ่งด้วยการสุ่มให้มาตรวจ คัดกรองหรือปล่อยให้ดําเนินชีวิตไปตามปกติโดยไม่ต้องตรวจ เพื่อศึกษาว่า การตรวจคัดกรองโรคเป็นระยะๆ นั้น มีผลต่ออัตราการมีชีวิตรอดอย่างไร น่าประหลาดใจตรงที่ ทั้ง 2 กลุ่มแทบไม่เห็นผลที่ต่างกัน สถิติที่ดีที่สุด ได้แค่ลดการตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้ 1 ราย จากการตรวจประจํา ปีคัดกรองมะเร็งผู้ชาย 1,000 คนไปนาน 10 ปี ที่แย่กว่านั้นก็คือ ไม่มีความแตกต่างกันในแง่การรอดชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยจะเสียชีวิตด้วยสาเหตุ อื่นๆ สรุปรวมในช่วงเวลาที่ทําการศึกษาพบว่า อัตราตายไม่ต่างกันระหว่าง กลุ่มชายที่ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก กับกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจ
สิ่งที่อยากจะเพิ่มเติมก็คือ หากการตรวจหา PSA ไม่มีผลเสีย อย่างนั้นแม้จะมีประโยชน์เพียงนิดหน่อยแต่ก็อาจคุ้มพอที่จะตรวจ แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้นเลย ถึงการตรวจ PSA จะเป็นการตรวจเลือดก็จริง แต่ลําดับต่อมาที่ต้องทําหากค่าเพิ่มสูง ก็คือการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ส่งตรวจซึ่งเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยง 1 : 3 ที่จะเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเลือดออก ติดเชื้อ หรือปัสสาวะลําบาก ในกรณีที่ตรวจพบเซลล์มะเร็ง เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะบอกระดับความร้ายแรงของมะเร็ง มากกว่า 90% ของผู้ป่วยจึงได้รับการรักษาแบบผสมผสานทั้งการให้ยา ฉายแสง หรือผ่าตัด การรักษาเหล่านี้มีปัญหาฤทธิ์ข้างเคียงได้บ่อย โดยเฉพาะปัญหา เสื่อมสมรรถภาพทางเพศและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ดร. ริชาร์ด อัลบิน นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบ PSA ก็เห็นด้วยกับคําแนะนําของ USPSTF เขายังได้แสดงทัศนะใน New York Times เมื่อปี 2553 ว่า การนํา PSA มาใช้ตรวจคัดกรองเป็น “หายนะของการ สาธารณสุขจากการมุ่งผลประโยชน์”
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เช่นเดียวกับที่สมาคมโรคมะเร็งอเมริกันนึกสงสัยว่า อาจจะมีกลุ่ม ผู้ได้รับประโยชน์จากการใช้ PSA เป็นตัวตรวจคัดกรอง แต่ยังไม่มีการตรวจอื่นใดที่ดีกว่านี้ สมาคมจึงแนะนําว่า การตัดสินใจตรวจคัดกรองควร ผ่านการพูดคุยให้ข้อมูลและปรึกษากัน ระหว่างคนไข้และแพทย์ ในเรื่อง ผลดีผลเสีย สําหรับคนทั่วไปควรเริ่มที่อายุ 50 ปี และสําหรับรายที่มีความ เสี่ยงสูงให้เริ่มที่ 45 ปี
สมาคมโรคระบบทางเดินปัสสาวะอเมริกัน ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์ที่รักษา มะเร็งต่อมลูกหมาก ให้คําแนะนําว่า ผู้ชายทุกคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองค่า PSA โดยนําเสนอว่า การคัดกรองช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ สมาคมยังชี้ให้เห็นจุดบกพร่องในการศึกษา ในกลุ่มผู้ชายจํานวนมากที่บอกว่า การตรวจคัดกรองด้วย PSA นั้นไม่มีประโยชน์
เห็นได้ชัดว่า ประเด็นขัดแย้งของการตรวจคัดกรองด้วย PSA จะไม่จบง่าย ๆ ทุกงานวิจัยมีจุดบกพร่องซึ่งทําให้การสรุปโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เป็นไปได้ยาก แต่ความคิดเห็นของผมต่อการทดสอบต่าง ๆ ก็คือ เราไม่ควรด่วนส่งตรวจอะไร จนกว่าจะมีหลักฐานแน่ชัดว่าการตรวจนั้นมีคุณมากกว่าให้โทษ ผมเห็นมามากแล้วครับ ที่คนปกติดีต้องกลายเป็นคนไข้ไป หลังจากที่ไปตรวจอะไรที่ไม่สมควรจะต้องตรวจ คุณเองก็คงเคยได้ยิน คนไข้บอกเล่าว่า ที่รักษาชีวิตไว้ได้ก็เพราะไปตรวจเช็คแลปหรือเอ็กซเรย์ แล้วพบสิ่งผิดปกติเข้า ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอาการอะไร แต่คุณอาจไม่ค่อยได้ยิน มากนัก เกี่ยวกับผู้ป่วยที่ต้องตกอยู่ในอันตราย จากการไปตรวจอะไร สักอย่างที่ไม่จําเป็น เราควรมีส่วนในการเผยแพร่เรื่องเหล่านี้ไปสู่สาธารณะให้มากขึ้น
USPSTF หาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว เมื่อออกคําแนะนําว่า ควรตรวจเช็คร่างกายน้อยรายการลง นี่เป็นเรื่องสําคัญที่ในสังคมต้องมีกลุ่มที่ปราศจาก อคติ ช่วยรวบรวมสรุปหลักฐานทั้งหมด แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นคําแนะนํา โดยตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ที่มาทําเรื่องเหล่านี้ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเงิน ใดๆ กับผลการศึกษาที่จะออกมา
บทสรุปของหมอเบซเซอร์
เป็นเรื่องน่าเสียดายที่การตรวจหา PS4 ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า มะเร็งนั้น เป็นแบบรุนแรงปลิดชีวิต หรือไม่อันตราย การตัดสินใจจะตรวจคัดกรองหามะเร็งใด ๆ ดูเหมือนจะเรียบง่าย แต่ก็แฝงกลลวง อย่างว่าละครับ ใครบ้างจะไม่อยากรู้เรื่องของ ตัวเองให้มากที่สุด แต่นอเป็นการตรวจหา PS4 กลับไม่มีคําตอบที่ถูกทุกกรณี คําแนะนําของผมคือ คุณควรหาข้อมูลและนัดคุยกับหมอในสิ่งที่คุณอยากทําก่อนที่จะไปเจาะเลือดตรวจ
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง นายแพทย์ริชาร์ด เบซเซอร์ ได้โดยการซื้อหนังสือ “ความจริงจากหมอไขข้อกังขาปัญหาสุขภาพ”