มะเร็งต่อมลูกหมาก : สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มะเร็งต่อมลูกหมาก : สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการรักษา

ต่อมลูกหมาก คืออวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ข้างล่างกระเพาะปัสสาวะ ด้านหน้าไส้ตรงและบังบางส่วนของท่อปัสสาวะอยู่ ทำหน้าที่สร้างของเหลวที่เป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ และช่วยให้เกิดสภาพเหมาะสมกับตัวอสุจิ ต่อมมีขนาดโตขึ้นตามอายุและขึ้นอยู่กับปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

ภาวะที่ส่งผลกระทบต่อต่อมลูกหมากคือ การติดเชื้อบริเวณต่อม การเติบโตของต่อมที่ไม่สัมพันธ์อายุ (โรคต่อมลูกหมากโต) และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยบทความนี้จะกล่าวถึงเพียงมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหลัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มะเร็งต่อมลูกหมากจะพบมากในชายที่อายุมากกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นและเติบโตอย่างช้าๆ ไม่มีอาการทำให้ตรวจพบได้ยาก แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงและแพร่ไปสู่อวัยวะอื่นตั้งแต่ต้นก็ได้

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ส่วนมากจะเริ่มด้วยปัสสาวะแสบขัด มีเลือดปนมาในปัสสาวะและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในบางรายอาจมีปวดกระดูกร่วมด้วย ส่วนมากระยะเริ่มต้นของมะเร็งจะไม่แสดงอาการแต่สามารถตรวจได้โดยการตรวจทางทวารหนัก ตรวจเลือด การสแกนหรือการตรวจชิ้นเนื้อ

ปัจจัยเสี่ยงสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากพบได้ยากในชายอายุต่ำกว่า 40 ปี แต่ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และส่วนมากจะเริ่มตรวจพบเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงต่างๆมีดังนี้

  • ชายที่บริโภคอาหารประเภทเนื้อแดงและอาหารไขมันสูง ปริมาณมาก และรับประทานผักและผลไม้น้อย
  • เชื้อชาติ แอฟฟริกัน-อเมริกัน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าชาวเอเชีย
  • ชายน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะอ้วน
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน (บิดาหรือพี่ชาย) เนื่องจากพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดโรค
  • มีข้อมูลกล่าวว่ามะเร็งต่อมลูกหมากมีความเกี่ยวข้องกับต่อมลูกหมากอักเสบเรื้องรัง การติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถตรวจพบได้โดยใช้วิธีตรวจทางทวารหนักร่วมกับการตรวจเลือดหาค่า PSA (Prostate specific antigen) หรือแอนติเจนต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ และนอกเหนือจากนี้ยังสามารถตรวจยืนยันผลโดยวิธีตรวจชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากโดยผ่านทางทวารหนักได้ โดยนำมาส่องใต้กล้องจุลทรรศน์ หากได้ผลตรวจแน่นอนแล้วว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถใช้การสแกนเอ็มอาร์ไอ มาสแกนหาการแพร่กระจายของมะเร็งได้ การเอ็กซ์เรย์ช่องอก อัลตร้าซาวน์ช่องท้องและกระดูกก็สามารถทำได้หากแพทย์สงสัยว่าการกระจายสู่บริเวณเหล่านี้ แต่โดยมากมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ได้มีอาการของโรคที่รุนแรงมากและสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะต้นๆก็สามารถรักษาได้หลายวิธี โดยวิธีการรักษาที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับอายุ สภาพร่างกาย โรคร่วม ระยะของมะเร็งและผลตรวจชิ้นเนื้อร่วมถึงค่าแอนติเจนต่อมลูกหมากด้วย

วิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active surveillance) คือการติดตามโรคของผู้ป่วย โดยไม่มีการรักษาใดๆ แต่คอยตรวจติดตามระยะและอาการของโรค ซึ่งจะใช้กับผู้ป่วยระยะแรกหรือผู้ป่วยสูงอายุมากแล้ว
  • การผ่าตัดต่อมลูกหมาก (Radical prostatectomy)  โดยการตัดก้อนมะเร็งทิ้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดก้อนและวิจารณญาณของแพทย์ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีคือ การผ่าเปิดช่องท้อง ผ่าตัดโดยการส่องกล้อง หรือแม้กระทั่งการใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัด การผ่าตัดมีอัตราความสำเร็จสูงแต่ก็มีผลข้างเคียงในระยะยาวเช่นกันเช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัสสาวะไม่ออก และท่อปัสสาวะแคบลง ในบางกรณีอาจมีการแนะนำให้ตัดอัณฑะร่วมด้วยเพื่อลดผลจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่อาจมีผลต่อการแพร่กระจายและการเติบโตของมะเร็ง
  • การฉายรังสี โดยการฝังแร่กัมมันตรังสี หรือการฉายรังสีจากภายนอกก็ได้ ซึ่งสามารถทำได้หลังจากการผ่าตัดหากการผ่าตัดยังไม่สามารถกำจัดก้อนมะเร็งได้หมด
  • การใช้ฮอร์โมน สามารถใช้ยาที่สามารลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายลง โดยวิธีนี้ใช้ได้ทั้งในระยะแรกและระยะท้ายของมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • เคมีบำบัด มักจะใช้ในระยะท้ายของโรคมะเร็ง ที่ใช้วิธีควบคุมระดับฮอร์โมนไม่ได้ผล
  • วิธีอื่นๆ เช่น การใช้ความเย็น (Cryoablation) ใช้คลื่นความถี่ ใช้อัลตร้าซาวน์ วิธีเหล่านี้เหมาะกับผู้ป่วยที่สภาพร่างกายไม่เหมาะสมกับการทำผ่าตัดใหญ่

วิธีทั้งหมดนี้อาจใช้วิธีเดียวหรือใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษาก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยและวิจารณญาณของแพทย์ และแนะนำให้หมั่นตรวจติดตาม และตรวจเลือดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป