ข้อมูลภาพรวมของปาล์มเลื่อย
ปาล์มเลื่อย (Saw palmetto) คือต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีการนำผลที่สุกแล้วไปใช้ทำยา
ปาล์มเลื่อยถูกกันอย่างแพร่หลายในการลดอาการจากภาวะต่อมลูกหมากโต (benign prostatic hypertrophy (BPH)) แต่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าเป็นการรักษาที่ไม่ได้ผล ปาล์มเลื่อยยังถูกใช้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากและรักษาภาวะต่อมลูกหมากบางประเภทได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปาล์มเลื่อยออกฤทธิ์อย่างไร?
ปาล์มเลื่อยอาจได้ช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมากได้ แต่อาจจะลดขนดของเยื่อบุผิวภายในที่เข้าไปกดทับท่อที่ใช้ขนส่งปัสสาวะได้ ปาล์มเลื่อยยังอาจป้องกันเทสโทสเตอโรนจากการเปลี่ยนความเข้มข้นจนกลายเป็น dihydrotestosterone (DHT) ได้ อีกทั้งยังคาดกันว่าภาวะผมร่วงบางประเภทเกิดมาจากความอ่อนไหวต่อ DHT ที่เพิ่มขึ้นที่รูขุมขน ทำให้การลดระดับ DHT ลงจึงอาจช่วยป้องกันภาวะผมร่วงเหล่านี้ได้
การใช้และประสิทธิภาพของปาล์มเลื่อย
ภาวะที่อาจใช้ปาล์มเลื่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านท่อปัสสาวะ (transurethral resection of the prostate; TURP) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานปาล์มเลื่อย 320 mg ทุกวัน ก่อนเข้ารับการผ่าตัดต่อมลูกหมากสามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด, ลดการสูญเสียเลือด, ลดความเสี่ยงต่อปัญหาระหว่างผ่าตัด, และร่นระยะเวลาฟื้นตัวในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด อย่างไรก็ตามก็มีการศึกษาที่พบว่าการทานปาล์มเลื่อย 160 mg ต่อวันนาน 5 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาต่าง ๆ ระหว่างผ่าตัดแต่อย่างใด
ภาวะที่ปาล์มเลื่อยอาจไม่สามารถรักษาได้
- ภาวะต่อมลูกหมากโต (benign prostatic hyperplasia; BPH) ผลขอปาล์มเลื่อยกับอาการของต่อมลูกหมากโตยังคงมีข้อมูลที่ขัดแย้งกันอยู่ อย่างไรก็ตามข้อมูลจากงานวิจัยคุณภาพสูงและน่าเชื่อถือมากมายก็บ่งชี้ว่าปาล์มเลื่อยนั้นมีผลน้อยหรือแทบจะไม่มีผลต่ออาการของภาวะนี้ อย่างเช่นความถี่ในการเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนหรือเจ็บปวดระหว่างปัสสาวะของผู้ชาย BPH อีกทั้งปาล์มเลื่อยก็ไม่อาจออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าหรือเพิ่มผลของการรักษาด้วยยารักษา BPH โดยเฉพาะแต่อย่างใด
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ปาล์มเลื่อยรักษาได้หรือไม่
- ภาวะผมร่วงจากพันธุกรรม (androgenic alopecia) ผลของการใช้ปาล์มเลื่อยในผู้ชายและผู้หญิงที่มีภาวะหัวล้านจากพันธุกรรมนั้นยังคงขัดแย้งกันอยู่ งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการทานปาล์มเลื่อยกับ beta-sitosterol สามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพของเส้นผมของผู้ชายและหญิงที่หัวล้านได้ อย่างไรก็ตามปาล์มเลื่อยก็ไม่อาจเพิ่มการงอกของเส้นผมได้ดีเหมือนกับการใช้ยา finasteride งานวิจัยกล่าวว่าการทาปาล์มเลื่อยที่หนังศีรษะอาจเพิ่มความหนาแน่นของเส้นผมได้ทั้งชายและหญิง แต่ยังคงต้องมีข้อมูลจากการศึกษาคุณภาพสูงมากกว่านี้เพื่อการยืนยันสรรพคุณของปาล์มเลื่อย
- ภาวะ hypotonic bladder ภาวะปัสสาวะเล็ดเป็นภาวะที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะสามารถกักเก็บน้ำปัสสาวะได้ในปริมาณมากแต่ไม่สามารถถ่ายออกมาให้หมดภายในครั้งเดียว งานวิจัยกล่าวว่าการทานยาที่ประกอบด้วยสมุนไพรเอกไคนาเซียและปาล์มเลื่อยนาน 77 วันจะเพิ่มปริมาณการกลั้นปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะและลดปริมาณปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะหลังการขับถ่ายของผู้หญิงที่มีภาวะนี้ได้
- มะเร็งต่อมลูกหมาก การทานปาล์มเลื่อยอาจไม่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากที่ลดลงแต่อย่างใด อีกทั้งการรับประทานปาล์มเลื่อยระหว่างการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะต้นก็ไม่ได้ช่วยลดอาการที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้ โดยอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ชายที่ต้องเข้ารับการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
- ต่อมลูกหมากบวมและกลุ่มอาการปวดเชิงกรานเรื้อรัง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปาล์มเลื่อยสามารถลดอาการต่อมลูกหมากโตในผู้ชายที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้ ส่วนงานวิจัยชิ้นอื่นได้กล่าวเสริมว่าการทานปาล์มเลื่อยร่วมกับยา prulifloxacin สามารถลดความเจ็บปวดและอาการของการปัสสาวะของผู้ชายที่มีภาวะต่อมูลกหมากบวมจากการติดเชื้อได้ดีกว่าการใช้ยา prulifloxacin เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามการรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันไม่อาจรักษาภาวะติดเชื้อหรือเพิ่มความสามารถทางเพศได้ อีกทั้งการทานปาล์มเลื่อยก็ไม่อาจรักษาอาการบวมของต่อมลูกหมากและกลุ่มอาการปวดเชิงกรานเรื้อรังได้ดีกว่าการใช้ยา finasteride การศึกษาบางชิ้นได้วิจัยการใช้ปาล์มเลื่อยร่วมกับส่วนผสมอื่น ๆ ซึ่งได้พบว่าการทานปาล์มเลื่อย, ซีลิเนียม (selenium), และไลโคพีน (lycopene) สามารถลดอาการบวมของต่อมลูกหมากและอาการเจ็บปวดเชิงกรานเรื้อรังได้ อย่างไรก็ตามหากเป็นการใช้เพียงปาล์มเลื่อยอย่างเดียวไม่อาจได้ผลเช่นนี้ งานวิจัยอื่นได้กล่าวเสริมว่าการทานยาผสมสมุนไพรที่ประกอบด้วยปาล์มเลื่อยและส่วนประกอบอื่น ๆ สามารถเร่งผลของ sparfloxacin หรือ prulifloxacin ในการรักษาอาการต่อมลูกหมากบวมที่เกิดจากการติดเชื้อได้ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ชัดเจนว่าผลจากการรักษาเหล่านี้เกิดจากการใช้ปาล์มเลื่อยหรือส่วนผสมอื่น
- หอบหืด (Asthma)
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
- หวัดและไอ
- เพิ่มขนาดเต้านม
- ปวดศีรษะไมเกรน
- ลดการเลือดออกหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก
- เจ็บคอ
- ภาวะสุขภาพอื่น ๆ
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของปาล์มเลื่อยเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของปาล์มเลื่อย
ปาล์มเลื่อยถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานเป็นเวลานานหนึ่งถึงสามปี ส่วนผลข้างเคียงจากปาล์มเลื่อยนั้นมักจะไม่รุนแรง โดยมีรายงานพบผู้ใช้ประสบกับอาการวิงเวียน, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องผูก, และท้องร่วงบ้าง อีกทั้งยังมีรายงานว่าปาล์มเลื่อยทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้ก็มักเกิดขึ้นไม่บ่อย
มีข้อกังวลว่าปาล์มเลื่อยอาจทำให้เกิดปัญหากับตับหรือตับอ่อนในบางคนได้ด้วย โดยมีรายงานสองชิ้นที่พบความเสียหายกับตับและรายงานอีกหนึ่งเกี่ยวกับความเสียหายที่ตับอ่อน กระนั้นก็ยังคงไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลข้างเคียงข้างต้นจากการรับประทานปาล์มเลื่อย
ปาล์มเลื่อยที่ใช้ถูกเข้าทวารหนักถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสมนาน 30 วัน แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในการใช้ในระยะเวลาที่นานกว่านั้น
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ปาล์มเลื่อยถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเนื่องจากปาล์มเลื่อยอาจออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนที่อาจส่งผลเสียต่อครรภ์ได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การผ่าตัด: ปาล์มเลื่อยอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดได้ จึงมีข้อกังวลว่าปาล์มเลื่อยอาจทำให้เกิดการตกเลือดมากขึ้นระหว่างหรือหลังจากการผ่าตัด ดังนั้นควรเลี่ยงการใช้ปาล์มเลื่อยเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการผ่าตัด
การใช้ปาล์มเลื่อยร่วมกับยาชนิดอื่น
ใช้ปาล์มเลื่อยร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- ยาคุมกำเนิด (Contraceptive drugs) กับปาล์มเลื่อย
ยาคุมกำเนิดบางตัวประกอบด้วยเอสโทรเจน ซึ่งปาล์มเลื่อยเองก็อาจลดผลของเอสโทรเจนในร่างกายลง ดังนั้นการทานปาล์มเลื่อยร่วมกับยาคุมกำเนิดอาจลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลง หากคุณต้องการใช้ยาคุมกำเนิดร่วมกับปาล์มเลื่อย ควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยอย่างการใช้ถุงยางอนามัย ตัวอย่างยาคุมกำเนิดมีทั้ง ethinyl estradiol กับ levonorgestrel (Triphasil), ethinyl estradiol กับ norethindrone (Ortho-Novum 1/35, Ortho-Novum 7/7/7), และอื่น ๆ
- เอสโทรเจนกับปาล์มเลื่อย
ปาล์มเลื่อยอาจลดระดับเอสโทนเจนในร่างกายลง ดังนั้นการทานปาล์มเลื่อยร่วมกับยาเอสโทรเจนอาจลดประสิทธิภาพของยาลง ตัวอย่างยาเอสโทรเจนมีทั้ง conjugated equine estrogens (Premarin), ethinyl estradiol, estradiol, และอื่น ๆ
- ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs) กับปาล์มเลื่อย
ปาล์มเลื่อยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นการทานปาล์มเลื่อยร่วมกับยาชะลอการเกิดลิ่มเลือดจะเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้น โดยตัวอย่างยาที่ชะลอการเกิดลิ่มเลือดมีดังนี้ aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, และอื่น ๆ), ibuprofen (Advil, Motrin, และอื่น ๆ), naproxen (Anaprox, Naprosyn, และอื่น ๆ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin), และอื่น ๆ
ปริมาณยาที่ใช้
ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ผู้ใหญ่
รับประทาน:
- สำหรับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก (transurethral resection of the prostate, TURP): สารสกัดจากปาล์มเลื่อย 320 mg ต่อวันนาน 2 เดือนก่อนเข้ารับการผ่าตัด