ลักษณะการดำเนินโรคตามธรรมชาติของมะเร็งต่อมลูกหมากหากไม่ได้รับการรักษา

การดำเนินโรคโดยทั่วไปหรือการแพร่กระจายของมะเร็งต่อมลูกหมาก
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลักษณะการดำเนินโรคตามธรรมชาติของมะเร็งต่อมลูกหมากหากไม่ได้รับการรักษา

ถึงแม้ว่าผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะเข้ารับการรักษา แต่ก็มีบางคนในปัจจุบันที่เลือกไม่เข้ารับการรักษา แต่อาจจะเลือกให้แพทย์ติดตามการดำเนินโรคของมะเร็งแทน โดยเฉพาะหากผลการตรวจชิ้นเนื้อคาดว่ามะเร็งจะโตได้ช้า จะอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก ไม่ทำให้เกิดอาการ และ/หรือมีขนาดเล็ก วิธีนี้เรียกว่า active surveillance ซึ่งหมายถึงแพทย์จะเริ่มให้การรักษาโรคมะเร็งต่อเมื่อมะเร็งเริ่มมีการโตขึ้นเท่านั้น

บางคนเลือกที่จะไม่รับการรักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากคาดว่าตนเองจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นานหรือมีโรคทางกายรุนแรงอื่นๆ พวกเขาอาจรู้สึกว่าความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง (เช่น การผ่าตัดหรือการฉายรังสี) อาจมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ ทางเลือกนี้จึงเป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผลในสถานการณ์ที่เหมาะสมและต้องการการปรึกษากับแพทย์และครอบครัวอย่างระมัดระวังและละเอียดถี่ถ้วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อะไรจะเกิดขึ้นหากไม่ได้รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก?

ในบางครั้งแพทย์อาจพูดเกี่ยวกับการดำเนินของโรคตามธรรมชาติหากไม่ได้รับการรักษา สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมักตรวจพบในช่วงที่มะเร็งยังคงอยู่เฉพาะภายในต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ง่ายที่สุด ในระยะนี้การผ่าตัดและการฉายรังสีมีโอกาสที่จะสามารถรักษาโรคให้หายขาดและจัดการกำจัดเซลล์มะเร็งที่อยู่ภายในร่างกายได้ทั้งหมด แต่หากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งต่อมลูกหมากก็สามารถมีการพัฒนาไปได้หลายทาง

มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายไปที่ใดบ้าง?

มะเร็งต่อมลูกหมากที่ไม่ได้รับการรักษาส่วนใหญ่จะโตและอาจแพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากไปยังเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้างหรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ ตำแหน่งแรกที่มักมีการแพร่กระจายก็คือเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยมะเร็งสามารถแพร่ผ่านหลอดเลือด ทางเดินน้ำเหลืองหรือเส้นประสาทที่มีการเข้าหรือออกจากต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งอาจลุกลามผ่านแคปซูลที่หุ้มต่อมลูกหมากออกไปโดยตรง ตำแหน่งที่มักมีการแพร่กระจายได้บ่อยในระยะแรก คือ seminal vesicles และอาจมีการลุกลามรุนแรงขึ้นไปจนถึงกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ตรงที่อยู่ใกล้เคียง

การดำเนินโรคระยะต่อไปของมะเร็งจะเกิดเมื่อเซลล์มะเร็งเข้าสู่กระแสเลือดและทางเดินน้ำเหลือง โดยจะทำให้เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถฝังตัวเข้าไปยังส่วนใดของร่างกายก็ได้ ส่วนมากมักพบว่ามีการแพร่กระจายไปที่กระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนล่าง กระดูกเชิงกราน และกระดูกต้นขา อาจพบการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ตับ สมอง หรือปอดได้ แต่น้อย

เมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจายออกจากต่อมลูกหมากไปไกลแล้ว ก็จะทำให้การรักษาโรคให้มีประสิทธิภาพหรือให้หายขาดทำได้ยากขึ้น ทางเลือกในการรักษาในระยะนี้อาจใช้ยาเคมีบำบัดหรือการใช้ฮอร์โมน เนื่องจากสามารถรักษามะเร็งได้ทั่วร่างกาย ควรทราบว่าบางครั้งมะเร็งต่อมลูกหมากถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาก็อาจจะไม่ได้โตขึ้นหรือโตได้ช้ามาก

มีการศึกษาบางชิ้นพบว่ามีการตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้สูงอายุที่เสียชีวิตส่วนใหญ่แม้ว่าจะไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งมาก่อน แสดงว่ามีผู้สูงอายุหลายรายอาจเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีขนาดเล็กและโตช้า แต่ทำให้เกิดอาการเพียงเล็กน้อยและไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต

โดยสรุป

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่ซับซ้อนและต้องการการตัดสินใจอย่างรอบคอบเกี่ยวกับแนวทางการรักษาที่เหมาะสม (ทั้งสำหรับคุณและคนที่คุณรัก) มีแนวทางการรักษาที่เป็นไปได้หลายทางและอาจจะไม่มีทางใดทางหนึ่งที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์และอย่ากลัวที่จะมองหาคำแนะนำจากแพทย์ท่านอื่น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prostate cancer - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/prostate-cancer/treatment/)
Advanced prostate cancer: Stages, risk factors, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/314157)
Early-stage prostate cancer: Treat or wait?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/early-stage-prostate-cancer-treat-or-wait-2009031010)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป