กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สังกะสี

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สังกะสี

สังกะสี

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสังกะสี คุณทราบหรือไม่ว่าประโยชน์ของแร่ธาตุนี้ดีต่อร่างกายคุณและโรคที่เกิดขึ้นหากคุณขาดสังกะสี รวมถึงแหล่งจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ศัตรู ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป ตลอดจนคำแนะนำที่น่าสนใจต่างๆมากมายสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

ข้อเท็จจริง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเข่าและกระดูก สูตรเฉพาะ รวมสารสกัดที่ผ่านงานวิจัย คอลลาเจน UC-II ขมิ้นชัน งาดำ และวิตามิน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ธาตุสังกะสีหรือซิงค์ทำงานคล้ายเป็นตำรวจจราจร คอยควบคุมให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังคอยช่วยซ่อมบำรุงระบบเอนไซม์และเซลล์ต่างๆ อีกด้วย
  • มีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนและคอลลาเจน
  • ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน
  • เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์สำคัญมากมาย รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระอย่างซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (เอสโอดี)
  • มีความสำคัญต่อความเสถียรของเลือด (ช่วยให้ความเข้มข้นของวิตามินอีในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม) และช่วยควบคุมสมดุลกรดและด่างภายในร่างกาย
  • ช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานได้เป็นปกติ และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์
  • ในการศึกษาวิจัยบางแห่งพบว่า สังกะสีมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของสมอง และช่วยในการรักษาโรคจิตเภท
  • มีหลักฐานชี้ชัดว่า สังกะสีจำเป็นต่อการสร้างดีเอ็นเอ
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 12-15 มก. สำหรับผู้ใหญ่ (หญิงให้นมบุตรขนาดจะสูงขึ้นเล็กน้อย)
  • หากมีเหงื่อออกมากเกินไป อาจทำให้สูญเสียสังกะสีได้ถึง 3 มก.ต่อวัน
  • สังกะสีในอาหารส่วนใหญ่ถูกทำลายไปในกระบวนการแปรรูปอาหาร หรืออาจมีในปริมาณที่น้อยมากตั้งแต่แรกถ้าพืชผักนั้นปลูกบนดินที่ไม่มีแร่ธาตุ

แร่ธาตุนี้ดีต่อร่างกายคุณอย่างไร

  • เร่งให้แผลทั้งภายในและภายนอกหายเร็วขึ้น
  • กำจัดจุดขาวบนเล็บมือ
  • ช่วยการรับรู้รสอาหาร
  • ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก
  • ช่วยป้องกันปัญหาต่อมลูกหมาก
  • เสริมสร้างการเจริญเติบโตและความตื่นตัวทางจิตและสมอง
  • ช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอล
  • ช่วยในการรักษาโรคทางจิต
  • ช่วยลดระยะเวลาเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรคหวัด

โรคจากการขาดแร่ธาตุ

อาจทำให้ต่อมลูกหมากโต (ต่อมลูกหมากโตโดยที่ไม่ได้เกิดจากมะเร็ง) ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง อวัยวะสืบพันธุ์ไม่เจริญเต็มที่

แหล่งจากธรรมชาติที่ดีที่สุด

เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเล (โดยเฉพาะหอยนางรม) จมูกข้าวสาลี บริเวอร์ ยีสต์ เมล็ดฟักทอง ไข่ นมผงแบบปราศจากไขมัน มัสตาร์ดแบบแห้ง

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • มีผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์วิตามินรวมและแร่ธาตุรวมคุณภาพสูงทั้งหมด
  • อาจหาซื้อได้ในรูปของซิงค์ซัลเฟต ซิงค์กลูโคเนต หรือซิงค์พิโคลิเนตในขนาด 15-50 มก.ของแร่ธาตุสังกะสี ซิงค์ซัลเฟตและซิงค์กลูโคเนตมีประสิทธิภาพดีเท่าๆ กัน แต่ซิงค์กลูโคเนตจะรับประทานได้ง่ายกว่า
  • ไกลซิเนตซิงค์ซิเทรตเป็นสังกะสีในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ดีที่สุด
  • สังกะสียังมีในแบบรวมกับวิตามินซี แมกนีเซียม และวิตามินบีรวมด้วย
  • สำหรับสังกะสีแบบลูกอมแก้หวัด คุณต้องปล่อยให้เม็ดอมละลายในปาก มิเช่นนั้นแล้วจะไม่มีประสิทธิภาพ

อาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป

หากรับประทานปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลให้ระบบย่อยอาหารแปรปรวน ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี และขาดธาตุทองแดงได้ ขนาดมากกว่า 1,000 มก.ขึ้นไปทำให้เกิดอาการเป็นพิษต่อร่างกายได้

ศัตรู

ไฟเทต ซึ่งเป็นสารที่พบในเมล็ดธัญพืชและถั่ว จะจับกับสังกะสี ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีไม่ได้

คำแนะนำส่วนตัว

  • คุณต้องการสังกะสีเพิ่มขึ้น หากคุณรับประทานวิตามินบี 6 ปริมาณสูง และเช่นกัน หากคุณดื่มสุราเป็นประจำหรือเป็นเบาหวาน
  • ทั้งผู้ชายที่มีปัญหาและไม่มีปัญหาด้านต่อมลูกหมากต่างก็ควรดูแลระดับสังกะสีในเลือดให้ดี
  • ผมได้เห็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการรักษาอาหารเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากการรับประทานบี 6 และสังกะสีเสริม
  • คนสูงอายุที่กังวลกับเรื่องความชรา อาจพบว่าการรับประทานสังกะสีและแมงกานีสเสริมมีคุณประโยชน์
  • หากคุณรำคาญกับอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ คุณอาจลองเสริมแร่ธาตุสังกะสี ก่อนจะข้ามไปรักษาด้วยฮอร์โมน เพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • ระดับสังกะสีในร่างกายอาจต่ำได้ หากคุณมีอาการท้องร่วงหรือรับประทานใยอาหารในปริมาณสูง
  • จำไว้ว่า หากคุณเพิ่มสังกะสีในอาหาร ร่างกายคุณจะต้องการวิตามินเอเพิ่มขึ้น (สังกะสีทำงานร่วมกับวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัสได้ดีที่สุด)
  • หากคุณกำลังรับประทานทั้งธาตุเหล็กและสังกะสีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรรับประทานแยกเวลากัน เนื่องจากมันอาจขัดขวางการทำงานกันเองได้

ข้อควรระวัง: ถึงแม้ว่าสังกะสีจะเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่หากรับประทานเกินกว่า 150 มก.ต่อวัน อาจขัดขวางการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Link Between Zinc and Erectile Dysfunction. Healthline. (https://www.healthline.com/health/erectile-dysfunction/zinc)
Zinc sulfate Uses, Side Effects & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mtm/zinc-sulfate.html)
Zinc: Benefits, intake, sources, deficiency, and side effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/263176)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป