กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Theophylline (ทีโอฟิลลีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

Theophylline เป็นยาในยารักษาโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นสารในกลุ่มแซนทีน (xanthine) ในธรรมชาติพบสารนี้ในชา และโกโก้ กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ ยามีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเตอเรส (phosphodiesterase) แบบแข่งขัน ส่งผลให้เกิดการสร้าง cyclic adenine monophosphate (cAMP) มากยิ่งขึ้นในเนื้อเยื่อ ทำให้หลอดลมขยายตัว ยามีฤทธิ์ขับปัสสาวะ กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและกระตุ้นหัวใจ เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร

Theophylline จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย ตามการจำแนกโดยคณะกรรมการอาหารและยา มีจำหน่ายเฉพาะร้านยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งควบคุมการขายยา ต้องมีการจัดทำบัญชียาอันตราย และสำหรับบุคคลทั่วไปเภสัชกรสามารถจำหน่ายยาและให้คำแนะนำในการใช้ยาได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพฯ รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • รูปแบบยาเม็ด ขนาด 125 มิลลิกรัม
  • รูปแบบแคปซูล ขนาด 200 และ 400 มิลลิกรัม
  • รูปแบบยาเม็ดออกฤทธิ์เนิ่น (ยาที่ออกฤทธิ์นานกว่าปกติ) ขนาด 200 และ 250 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้ของยา Theophylline

โรคที่เป็นข้อบ่งใช้ของยานี้ ได้แก่

  • ภาวะหลอดลมหดเกร็งเฉียบพลัน และเรื้อรังในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โรคหืดเรื้อรัง หรือโรคปอดเรื้อรัง

ขนาดและวิธีการใช้ยา Theophyline

Theophylline มีขนาดและวิธีการใช้ตามข้อบ่งใช้ ดังนี้

  • ขนาดการให้ยาในผู้ป่วยขึ้นอยู่กับกระบวนการแมทาบอลึซึมของยาในผู้ป่วยแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ขนาดการใช้ยาโดยทั่วไปในผู้ป่วยคือ
  • ภาวะหลอดลมหดเกร็ง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การใช้ยาในรูปแบบยารับประทาน
    • ขนาดการใช้ยาในเด็กน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัม
      • ขนาดยาเริ่มต้น ขนาด 12-14 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน แบ่งให้ยาทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดคือ 300 มิลลิกรัมต่อวัน
      • หลังจาก 3 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น ให้เพิ่มขนาดยาเป็น 16 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน แบ่งให้ยาทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดคือ 400 มิลลิกรัมต่อวัน
      • หลังจากเพิ่มขนาดยาแล้ว 3 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น และจำเป็นต้องมีการเพิ่มขนาดยา ให้เพิ่มขนาดยาเป็น 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมต่อวัน แบ่งให้ยาทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดคือ 600 มิลลิกรัมต่อวัน
    • ขนาดการใช้ยาในเด็กน้ำหนักตัวมากกว่า 45 กิโลกรัม และในผู้ใหญ่
      • ขนาดยาเริ่มต้น ขนาด 300 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งให้ยาทุก 6-8 ชั่วโมง
      • หลังจาก 3 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น ให้เพิ่มขนาดยาเป็น 400 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งให้ยาทุก 6-8 ชั่วโมง
      • หลังจากเพิ่มขนาดยาแล้ว 3 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น และจำเป็นต้องมีการเพิ่มขนาดยาให้เพิ่มขนาดยาเป็น 600 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งให้ยาทุก 6-8 ชั่วโมง

ข้อควรระวังในการใช้ Theophylline 

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยา Theophylline และยาในกลุ่มอนุพันธ์ของแซนทีน (Xanthine)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยพอร์ฟิเรีย (porphyria) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายสร้างสารพอร์ไฟรินมากเกินไป ซึ่งพอร์ไฟรินเป็นสารที่เกี่ยวข้องการกับทำงานของเม็ดเลือดแดง สารพอร์ไฟรินที่มากเกินไปส่งผลต่อความผิดปกติของร่างกายทั้งในรูปแบบเฉียบพลัน คือส่งผลต่อระบบประสาท และรูปแบบส่งผลต่อผิวหนัง อาการแสดงส่งผลต่อหลายระบบ เช่น ส่งผลต่อระบบเลือด ความดันโลหิต ส่งผลต่อระบบประสาท เช่น อาการวิตกกังวล เห็นภาพหลอน ระบบกล้ามเนื้อ มีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนแรง อัมพาต ระบบหายใจ เช่น หายใจลำบาก เป็นต้น
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหาร
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในที่มีความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ ฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ โรคเบาหวาน
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคต้อหิน
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคลมชัก เนื่องจากเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ยาสามารถกระตุ้นให้เกิดการชักได้
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะคอร์พูลโมเนล (Cor pulmonale) หรือภาวะที่หัวใจห้องขวาล้มเหลวซึ่งเป็นผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของปอดหรือหลอดเลือดปอด เนื่องจากเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
  • ควระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติการสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
  • ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของการใช้ Theophylline 

ข้อควรทราบอื่นๆของยา Theophylline

  • ยาถูกจัดอยู่ในกลุ่ม category C ตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) ควรใช้ยานี้เฉพาะเมื่อแพทย์มีความเห็นว่า ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากยามากกว่าความเสี่ยงรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อทารกในครรภ์
  • เนื่องจากขนาดการให้ยาขึ้นอยู่กับการแมทาบอลิซึมของผู้ป่วยในกลุ่มต่างๆ ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้ ทำให้การทำลายของ Theophylline เกิดได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับยา Theophylline อยู่ในกระแสเลือดได้นานขึ้น อาจเกิดพิษและผลข้างเคียงรุนแรงถึงชีวิตได้
  • เด็กแรกเกิด เด็กอายุน้อยกว่ 1 ปี และในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะคอร์พูโมเนล (Cor pulmonale) หรือภาวะที่หัวใจห้องขวาล้มเหลวซึ่งเป็นผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของปอดหรือหลอดเลือดปอด
  • ผู้ป่วยที่มีไข้มากกว่า 24 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ (hypothyroidism)
  • ผู้ป่วยโรคตับ ได้แก่ ตับแข็ง และตับอักเสบ
  • ผู้ป่วยภาวะ Sepsis (ภาวะที่ร่างการตอบสนองต่อการติดเชื้อ โดยตอบสนองเป็นการอักเสบทั่วร่างกาย) ที่มีการทำลายของอวัยวะ และผู้ป่วยภาวะช็อก
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติการใช้บุหรี่มาก่อนหน้า

การใช้ยา Theophylline ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจึงควรมีการตรวจระดับ Theophylline ในกระแสเลือด อาจมีการพิจารณาลดขนาดยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง

  • ยานี้ควรรับประทานก่อนอาหาร 1-2 ชั่วโมง เนื่องจากอาหารทำให้การดูดซึมของยาเกิดช้าลง
  • การดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยานี้ส่งผลให้การขับของยาเกิดได้มากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ในระหว่างที่มีการใช้ยา
  • ยานี้แนะนำให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด และความชื้น

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
University of Illinois-Chicago, Drug Information Group, Theophylline, Oral Tablet (https://www.healthline.com/health/theophylline-oral-tablet), 18 September 2015.
medlineplus, Theophylline (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a681006.html), 15 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)