กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ผิวร้อน (Feels hot to touch)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

ผิวร้อนเมื่อสัมผัส สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ไข้หวัด ออกกำลังกายหนัก ไปจนถึงภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อย่างโรคขาดน้ำ และฮีทสโตรก

อาการผิวร้อนเมื่อสัมผัส หมายถึง การที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากโรคภัยต่างๆ หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกร่างกาย โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผิวร้อนคือภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ซึ่งภาวะนี้จะเกิดได้ง่ายกับผู้ที่มีอายุน้อย ผู้ที่มีอายุมาก และผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุทั่วไปของภาวะผิวร้อน

ภาวะผิวร้อนเมื่อสัมผัส มักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • มีไข้ร่วมกับการติดเชื้อ
  • อยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสภาพแวดล้อมสูง และมีความชื้นสูงด้วย
  • ดื่มน้ำน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • การออกกำลังกาย
  • การสวมเสื้อผ้าหนาหรือหลายชิ้นเกินไป
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยากลุ่ม Anticholinergics เช่น ยาขับน้ำ (Diuretics) ยา Phenothiazines ยา Neuroleptics และยาผิดกฎหมายต่าง ๆ
  • อาการถอนแอลกอฮอล์ (Alcohol Withdrawal)
  • ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (Diverticulitis) และการติดเชื้อภายในอื่น ๆ
  • ปัญหาที่ต่อมเหงื่อ
  • อีสุกอีใส (Chicken Pox)
  • โรคเพลียแดด (Heat Exhaustion)
  • โรคลมแดด (Heat Stroke)
  • ตับอักเสบ (Acute Hepatitis)
  • Infectious Mononucleosis
  • เยื่อบุหัวใจติดเชื้อ (Infective Endocarditis)
  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis)
  • ภาวะติดเชื้อ (Sepsis)

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

หากพบอาการผิวร้อน ร่วมกับภาวะต่อไปนี้ ให้รีบไปโรงพยาบาล หรือโทรศัพท์สายด่วน 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลทันที

  • หมดสติจากภาวะขาดน้ำ
  • มีอาการสับสน หมดเรี่ยวแรง หรือเพ้อ
  • มีอาการเวียนศีรษะหรือชัก
  • หายใจถี่หรือมีชีพจรเต้นเร็ว
  • มีอาการทรุดลงเรื่อย ๆ
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน และไม่สามารถดื่มน้ำได้
  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมาก

การรักษาภาวะผิวร้อน

ระหว่างออกกำลังกาย หรืออยู่กลางแจ้ง ควรดื่มน้ำมากๆ ทุก 20 นาที หากร่างกายมีความร้อนมากเกินเจากการออกแรงหรือสภาพแวดล้อม ให้รีบเข้าในที่ร่มและมีอากาศเย็นทันที จากนั้นให้ประคบผิวด้วยผ้าเปียกที่ขาหนีบ คอ และรักแร้เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายลง พร้อมจิบน้ำเย็นบ่อยๆ

นอกจากน้ำเปล่าแล้ว สามารถจิบเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยของเหลวและอีเล็กโทรไลท์ (Electrolytes) ที่ร่างกายเสียไปพร้อมกับเหงื่อ ซึ่งจะจำเป็นมากๆ เมื่อร่างกายกำลังเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rachel Nall, BSN and Kathryn Watson, What’s Causing My Rash and Skin That Feels Hot to the Touch? (https://www.healthline.com/health/rash-and-skin-hot-to-touch), March 18, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)