กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Colloidal Silver (ซิลเวอร์คอลลอยด์)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ข้อมูลภาพรวมของซิลเวอร์คอลลอยด์

ซิลเวอร์คอลลอยด์ (colloidal silver) คือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดทางวิทยาศาสตร์ถึงบทบาทหน้าที่ในร่างกายของมนุษย์แม้จะมีการกล่าวอ้างสรรพคุณมากมายก็ตาม ซิลเวอร์คอลลอยด์ จัดว่าเป็นแร่ธาตุที่ไม่จำเป็น ในอดีตร้านขายยามีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาซิลเวอร์คอลลอยด์มากมาย แต่เมื่อมีข้อมูลออกมาว่าแร่ธาตุตัวนี้ยังไม่ถูกพิจารณาว่าปลอดภัยหรือมีประโยชน์ใด ๆ ทำให้บรรดาสินค้าซิลเวอร์คอลลอยด์ ไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงไม่มีหลักฐานยืนยันการจ่ายยาชนิดนี้ที่ร้านขายยาทั่วไป แม้ว่าจะยังมีสินค้าอาหารเสริมโภชนาการและการรักษาทางธรรมชาติ (homeopathic remedies) ที่ยังคงใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์อยู่ก็ตาม

ตามโลกอินเตอร์เน็ตมีการกล่าวถึงการผลิตซิลเวอร์คอลลอยด์เองที่บ้าน ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ผลิตเองไม่สามารถประเมินความสะอาดและความเข้มข้นของซิลเวอร์คอลลอยด์ที่ได้ทำให้วิธีดังกล่าวห่างไกลจากคำว่าประสิทธิภาพและความปลอดภัยอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แม้ว่าจะมีความกังขาในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิผลของซิลเวอร์คอลลอยด์ ผู้คนมากมายก็ยังหาซื้อซิลเวอร์คอลลอยด์มาใช้เป็นอาหารเสริมหรือใช้เพื่อรักษาโรคภัยต่าง ๆ กันอยู่

มีการกล่าวอ้างว่าซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถรักษาภาวะต่าง ๆ อย่างภาวะติดเชื้อ, มะเร็ง เบาหวาน ข้ออักเสบ และอื่น ๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันว่าการใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์นั้นปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพ

ซิลเวอร์คอลลอยด์ ออกฤทธิ์อย่างไร?

ซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถกำจัดเชื้อโรคได้บางประเภทด้วยเข้าจับเกาะและทำลายโปรตีน

วิธีใช้และประสิทธิภาพของซิลเวอร์คอลลอยด์

ภาวะที่ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา

  • ภาวะติดเชื้อที่ตา งานวิจัยพบว่าการใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของซิลเวอร์คอลลอยด์หยอดตาทั้งสองข้างของทารกแรกเกิดไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ อีกทั้งการทาสารละลายซิลเวอร์คอลลอยด์บนผิวดวงตาก่อนเข้ารับการผ่าตัดตาก็ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อของตาได้ดีเท่ากับการใช้สารละลาย povidone-iodine 

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าซิลเวอร์คอลลอยด์รักษาได้หรือไม่

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของซิลเวอร์คอลลอยด์เพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของซิลเวอร์คอลลอยด์

ซิลเวอร์คอลลอยด์ถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทาน ทาบนผิวหนัง หรือฉีดเข้ากระแสเลือด (intravenously (by IV)) โดยเงิน (silver) ในผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์คอลลอยด์จะเข้าไปสะสมอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ อย่างผิวหนัง ตับ ม้าม ไต กล้ามเนื้อ และสมอง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังมีสีน้ำเงินอ่อนแบบที่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยจะเกิดกับเหงือกก่อนเป็นที่แรก อีกทั้งสารนี้ยังกระตุ้นการผลิตเมลานินบนผิวหนังทำให้สีผิวคล้ำขึ้น โดยผิวหนังบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์จะพบการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ซิลเวอร์คอลลอยด์ถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเมื่อต้องทาบนผิวหนังหรือฉีดเข้าร่างกาย โดยเงิน (silver) อาจเข้าไปทางรกและเพิ่มระดับของเงินในครรภ์ได้ ซึ่งนั่นเชื่อมโยงกับความผิดปรกติที่เกิดกับใบหน้า, หู, และคอของทารก อาหารเสริมซิลเวอร์คอลลอยด์ยังอาจทำให้เกิดการสะสมกันของธาตุเงินภายในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังมีสีน้ำเงินอ่อนแบบที่แก้ไขไม่ได้ (argyria) อีกทั้งเงินยังสามารถเข้าไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ จนทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อตำแหน่งนั้น ๆ ได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ร่วมกับยาเหล่านี้

ใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดการดูดซับยาปฏิชีวนะของร่างกายได้ โดยการทานซิลเวอร์คอลลอยด์พร้อมยาปฏิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะลง

โดย ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจส่งผลกับประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะเหล่านี้ คือ ciprofloxacin (Cipro), enoxacin (Penetrex), norfloxacin (Chibroxin, Noroxin), sparfloxacin (Zagam), trovafloxacin (Trovan), และ grepafloxacin (Raxar)

  • ยาปฏิชีวนะ (tetracycline-lenocin' target='_blank'>Tetracycline antibiotics) กับซิลเวอร์คอลลอยด์

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดการดูดซับยาปฏิชีวนะของร่างกายได้ โดยการทานซิลเวอร์คอลลอยด์พร้อมยาปฏิชีวนะอาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะลง เพื่อเลี่ยงการตีกันของยาเช่นนี้ควรทานซิลเวอร์คอลลอยด์ก่อนหรือหลังทาน tetracyclines สี่ชั่วโมงโดยยาปฏิชีวนะที่อาจตีกับซิลเวอร์คอลลอยด์คือ demeclocycline (Declomycin), minocycline (Minocin), และ tetracycline (Achromycin)

  • Levothyroxine กับซิลเวอร์คอลลอยด์

ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดการดูดซับ levothyroxine ของร่างกาย การทาน levothyroxine พร้อมกับซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดประสิทธิภาพของ thyroxine ลง

  • Penicillamine (Cuprimine, Depen) กับซิลเวอร์คอลลอยด์

Penicillamine ถูกใช้รักษาโรควิลสัน (Wilson's disease) และข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ซิลเวอร์คอลลอยด์อาจลดกระบวนการดูดซับยา penicillamine ของร่างกายลง ซึ่งจะเป็นการลดประสิทธิภาพของยา penicillamine  เช่นกัน

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับซิลเวอร์คอลลอยด์นั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ สุขภาพ และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของซิลเวอร์คอลลอยด์ ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ทุกครั้ง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Van Hasselt P., G. a. (2004). Colloidal silver as an antimicrobial agent: fact or fiction? -: Journal of Wound Care
Ovais, M., Ahmad, I., Khalil, A.T. et al. Appl Microbiol Biotechnol (2018) 102: 4305

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)