โรคโรซาเชีย (Rosacea) แต่ก่อนในภาษาไทยเรียกว่า "สิวหน้าแดง" เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากบริเวณหน้า แต่สามารถลามไปบริเวณคอ หน้าอก และหลังได้ โรคนี้มักจะเริ่มจากการที่หน้าแดงบ่อย หลังจากนั้นอาการหน้าแดงอาจจะเป็นอยู่ตลอด เริ่มเห็นเส้นเลือดฝอยจางๆ เป็นร่างแหรวมตัวกันอยู่ตรงกลางใบหน้า จมูก และแผ่ออกไปด้านข้างเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น อาการอื่นๆ ที่พบได้ คือ ผิวหนาขึ้นและมีตุ่มแดงขึ้นคล้ายสิว ซึ่งทำให้เรียกว่าโรคสิวหน้าแดง เพราะมีตุ่มคล้ายสิวแต่ไม่ใช่โรคสิว
ใครที่มักจะเป็นโรคโรซาเชีย?
สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดและไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ อย่างไรก็ตามโรคนี้มักพบในคนกลุ่มอายุ 30-60 ปี โดยพบในคนผิวขาวมากกว่าคนผิวเข้ม และพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้หญิง โดยมักมีรอยโรคที่จมูก
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เนื่องจากโรคโรซาเชียมีลักษณะเริ่มต้นได้ตั้งแต่ผิวแดงคล้ายโดนแดดไปจนถึงตุ่มคล้ายสิว ดังนั้นผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์ผิวหนังจะทำการตรวจเพื่อแยกประเภทของผื่นโรคโรซาเชียและให้การรักษาตามประเภทนั้นๆ
อาการของโรคโรซาเชีย
อาการของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป แต่อาการที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- ผิวหนังแดงง่าย
- หน้าแดงตลอด
- มีเส้นเลือดฝอยเล็กๆ (Telangiectasia)
- ผิวแพ้ง่าย ระคายเคืองง่าย และอาจมีอาการแสบหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
- เกิดตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง
อาการของโรคโรซาเชียยังแบ่งได้ตามประเภทของโรคที่มีทั้งหมด 4 ชนิด คือ
- Erythematotelangiectatic rosacea เป็นชนิดที่มีอาการหน้าแดงตลอดเวลา และมีลักษณะร่างแหของเส้นเลือดฝอยที่หน้า
- Papulopustular rosacea เป็นชนิดที่มีอาการหน้าแดงตลอดเวลา ร่วมกับมีตุ่มแดงหรือตุ่มหนอง
- Phymatous rosacea เป็นชนิดที่มีอาการที่ผิวหนังหนาตัวขึ้น จมูกและเนื้อเยื่อโดนรอบหนาตัวขึ้น ในกรณีที่เป็นมากจะเรียกว่า Rhinophyma ซึ่งเกิดจากต่อมน้ำมันด้านนอกจมูกทำให้จมูกโตขึ้น มีสีแดง หรือเหลืองเงามัน แต่จะพบในผู้ชายมากกว่า
- Ocular rosacea เป็นชนิดที่มีอาการของโรคโรซาเชียที่ตา อาการจะพบผิวหนังสีแดงที่รอบดวงตา เปลือกตา และมีอาการตาแห้ง ตาบวม น้ำตาไหลง่าย หรือแสบตาได้ ในบางกรณีอาจมีการติดเชื้อที่ตาซ้ำๆ โดยเกิดขึ้นได้แม้ในผู้ป่วยโรซาเชียที่มีอาการบนหน้าน้อย ซึ่งพบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคโซซาเชียมีอาการที่ตาร่วมด้วย การดูแลด้วยจักษุแพทย์จึงจำเป็นเพื่อช่วยลดอาการะคายเคืองตา การมองเห็นลดลง และในบางกรณีสามารถเกิดแผลที่กระจกตาได้
การรักษาโรคโรซาเชีย
เนื่องจากผู้ป่วยที่มีโรซาเชียมักมีอาการแตกต่างไปในแต่ละชนิด จึงจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีรักษาให้เหมาะสมสำหรับแต่ละคน โดยมีเป้าหมายของการรักษาคือเพื่อควบคุมอาการและทำให้สภาพผิวดีขึ้น การรักษาโรซาเชียให้ดีขึ้นนั้น มักจะต้องใช้เวลาหลายเดือน รวมทั้งต้องป้องกันไม่ให้ผื่นโรซาเชียเป็นรุนแรงมากขึ้น