ตา เป็นอวัยวะสำคัญของทุกคน เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตา เช่น ตาบวม เราจึงมักตื่นกลัวอยู่เสมอ เพราะไม่รู้ว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไร ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจกับสาเหตุของอาการตาบวมที่พบได้บ่อย เพื่อจะได้ป้องกันและรักษาเบื้องต้นได้ถูกวิธี
7 สาเหตุของอาการตาบวม
อาการตาบวมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นคุณควรสังเกตลักษณะและอาการของตนเองดูว่าเกิดจากอะไร เพื่อจะได้หาวิธีรักษาอย่างถูกต้อง โดยสาเหตุที่พบบ่อยของอาการตาบวม มีดังนี้
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1. ตากุ้งยิงชนิดติดเชื้อ (Hordeolum)
ตากุ้งยิงชนิดติดเชื้อ จะมีลักษณะเป็นก้อนกลมบวมแดงบริเวณเปลือกตาใกล้กับขนตา เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ อาจมีหนองไหลออกจากดวงตา บางคนปวดตลอดเวลา
ตากุ้งยิงชนิดนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สแตฟฟิลโลคอคคัส (Staphylococcus) เข้าไปทำให้ต่อมไขมันไมโบเนียน (Meibomian gland) ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยไขมันควบคุมความสมดุลของน้ำตาจนเกิดการอักเสบ
ลักษณะของตากุ้งยิงที่ติดเชื้อ สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
- ตากุ้งยิงชนิดหัวเข้า (Internal hoedeolum) จะเกิดการบวมขึ้นจากภายใน และต้องปลิ้นเปลือกตาออกถึงจะมองเห็นหัวตากุ้งยิงภายใน
- ตากุ้งยิงชนิดหัวออก (External hordeolum) จะสามารถสังเกตหัวของตากุ้งยิงได้จากภายนอก มักเกิดบริเวณโคนตา
อย่างไรก็ตาม ตากุ้งยิงอาจเกิดได้ทั้งชนิดเดียวหรือเกิด 2 ชนิดพร้อมกันก็ได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
2. ตากุ้งยิงชนิดไม่ติดเชื้อ (Chalazion)
ตากุ้งยิงชนิดนี้เกิดจากต่อม ไมโบเมียน (Meibomian gland) อุดตัน ทำให้ไขมันที่ช่วยควบคุมสมดุลดวงตาสะสมภายในผนังต่อมจนบวมขึ้นมา โดยปกติ สามารถรักษาหายได้ด้วยตัวเองในไม่กี่สัปดาห์ แต่หากรักษาความสะอาดไม่ดี ก็มีโอกาสจะกลายเป็นตากุ้งยิงชนิดติดเชื้อได้
ตากุ้งยิงชนิดนี้มีลักษณะเป็นก้อนกลมแข็งๆ ขนาดใกล้เคียงกับถั่วเขียวบริเวณเปลือกตา เมื่อนำมือสัมผัสจะไม่มีอาการเจ็บ แต่จะสังเกตเห็นได้ชัด ตากุ้งยิงชนิดนี้เรียกอีกอย่างได้ว่า "ซีสต์ (Cyst)" ที่ตา
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
3. โรคภูมิแพ้ (Allergies)
โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นบางอย่าง จนเกิดเป็นอาการแพ้แสดงออกมา แม้สิ่งนั้นจะไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงก็ตาม เช่น เกสรดอกไม้ ไรฝุ่นเล็กน้อย เชื้อรา อาหารทะเล
อาการของโรคภูมิแพ้สามารถเกิดขึ้นได้หลายส่วนของร่างกาย เช่น ผื่นคัน ปากบวม คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่สะดวก และหนึ่งในนั้นก็คือ อาการตาบวม น้ำตาไหล ซึ่งผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักจะเผลอเอามือไปขยี้ตาข้างที่บวม จนอาจเกิดอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น เป็นตาแดง ตากุ้งยิง
4. ตาแดง (Pink eye)
ตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านทางการสัมผัสน้ำตา และทางอากาศ หากติดเชื้อแล้วจะใช้เวลา 1-2 วันก่อนจะเริ่มแสดงอาการ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาจทำให้กระจกตาอักเสบจนมีอาการปวดตตา และสายตามัวได้
ตาแดง คืออาการที่เยื่อบุตามีสีแดงหรือชมพูเข้ม อีกทั้งน้ำตาไหลเยอะ มีหนองเหนียวเคลือบดวงตา อาจติดที่ขอบตา หรือขนตาด้วย เปลือกตาบวม ทำให้เกิดความระคายเคือง และอาการสามารถลุกลามไปยังตาอีกข้างหนึ่งได้ภายใน 2-3 วัน
5. ร้องไห้มากเกินไป (Crying)
การร้องไห้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็สามารถทำให้เปลือกตาบวมได้เช่นกัน เนื่องจากเวลาเราร้องไห้ จะมีเลือด และของเหลวมาเลี้ยงบริเวณดวงตาเยอะ หากร้องไห้เป็นเวลานาน จะทำให้เส้นเลือดฝอยในตา และเปลือกตาแตก ทำให้เกิดการสะสมของเหลวบริเวณรอบดวงตาจนตาบวมได้
อาการตาบวมที่เกิดจากการร้องไห้มากเกินไปมักไม่มีอันตรายร้ายแรง อาจใช้การประคบเย็นหรือดื่มน้ำทดแทน ก็สามารถบรรเทาอาการได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
6. เนื้อเยื่อเบ้าตาอักเสบ (Orbital cellulitis)
เนื้อเยื่อเบ้าตาอักเสบเกิดได้จากการติดเชื้อหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ แบคทีเรีย สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เข้าไปทำให้เยื้อกั้นหลังเบ้าตา (Orbital septum) ซึ่งเป็นเยื่อบางๆ จนเกิดการอักเสบ
คนที่เนื้อเยื่อเบ้าตาอักเสบจะมีอาการดังต่อไปนี้
- รอบดวงตาบวมมาก
- ระคายเคืองตา
- ปวดตา
- เยื่อบุตาเป็นสีแดงคล้ายกับโรคตาแดงแต่กลอกตาไปมาลำบาก หรืออาจกลอกตาไม่ได้เลย
- การมองเห็นแย่ลง
หากมีอาการดังที่กล่าวมาด้านบนรวมกับมีไข้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบไปพบจักษุแพทย์
7. โรคเกรฟส์ (Graves’ disease)
โรคเกรฟส์ คือโรคต่อมไร้ท่อผิดปกติส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ (Thyriod) ทำงานมากเกินไป ซึ่งต่อมไทรอยด์จะทำหน้าที่ส่งเซลล์ขึ้นไปเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อยู่บริเวณดวงตา ทั้งๆ ที่ยังไม่เกิดการติดเชื้อ และการเพิ่มจำนวนของเซลล์เหล่านั้น จึงทำให้เกิดการสะสม และบวมขึ้นในที่สุด
อาจกล่าวได้ว่าโรคนี้อาจไม่ใช่โรคที่เกี่ยวกับดวงตาโดยตรง แต่ส่งผลทำให้ตาบวมได้
หากปล่อยไว้อาจเกิดการอีกเสบในตาได้ ซึ่งการรักษาต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือใช้ยาหลายประเภท
วิธีรักษาอาการตาบวมเบื้องต้น
หากเกิดอาการตาบวมในระยะเริ่มต้น และอาการยังไม่รุนแรง สิ่งที่สามารถทำได้ทันทีเพื่อบรรเทาอาการ มีดังต่อไปนี้
- ประคบตาด้วยผ้าชุบน้ำเย็น แต่หากทราบว่าเป็นซีสต์หรือตากุ้งยิง ให้ประคบด้วยผ้าอุ่นๆ แทน
- ล้างตาด้วยน้ำเกลือสะอาด (Saline solution) เพื่อขจัดสิ่งสกปรกที่ทำให้ระคายเคืองตา
- หากเป็นตาแดง ให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดรอบดวงตา
- ประคบตาด้วยถุงชาดำแช่เย็น เนื่องจากคาเฟอีนในชาช่วยลดอาการบวมได้
- หนุนหมอนสูงขึ้นเล็กน้อยขณะนอนหลับ เพื่อช่วยการไหลเวียนของเหลวที่อยู่ในร่างกาย
- ทำความสะอาดหมอนให้สะอาด เพื่อลดโอกาสเกิดภูมิแพ้จากไรฝุ่น
กรณีฉุกเฉินที่ควรไปพบจักษุแพทย์เมื่อเกิดอาการตาบวม
ในกรณีที่ตาบวมจากสาเหตุอันตราย อาจส่งผลกระทบร้ายแรงแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ ดังนั้นจึงควรสังเกตว่า มีอาการตาบวมร่วมกับอาการเหล่านี้หรือไม่ หากมี ควรไปพบจักษุแพทย์ทันที
- มีไข้ขึ้นสูง
- เวียนหัว สับสน
- มองเห็นภาพซ้อน
- กลอกตาลำบาก
- เจ็บภายในดวงตา หรือรู้สึกว่ามีบางอย่างอยู่ในดวงตา
ข้อควรระวังเมื่อเกิดอาการตาบวม
- ไม่ควรใส่คนแทคเลนส์ระหว่างที่เกิดอาการตาบวม
- ไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดสัมผัสบริเวณรอบดวงตา เพราะอาจติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางระหว่างที่เกิดอาการตาบวม
คุณสามารถป้องกันอาการป้องกันอาการตาบวมเบื้องต้นได้โดยรักษาความสะอาดของดวงตาเป็นประจำ หากเป็นโรคเกี่ยวกับตา ก็ให้หมั่นดูแลตนเอง รับประทาน หรือหยอดตาตามแพทย์สั่งให้อาการดีขึ้นโดยเร็ว เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจทำให้ตาบวมกว่าเดิมได้
ดูแพ็กเกจตรวจตา เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android