กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Graves’ Disease (โรคคอพอก หรือโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคเกรฟส์)

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

โรคนี้เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

โรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีการสร้างสาร antibody ที่เรียกว่า thyroid-stimulating immunoglobulin (TSI) ซึ่งสารนี้จะทำให้ต่อมไทรอยด์ (ซึ่งตั้งอยู่ที่ฐานของคอ) ผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนทั้งชนิด thyroxine (T4) และ triiodothyronine (T3) ออกมามากเกินไป โรคนี้ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งภาวะนี้จะทำให้การทำงานต่างๆ ของร่างกายหลายอย่างเกิดขึ้นเร็วขึ้น โดยจะทำให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานและอัตราการเต้นของหัวใจเกิดขึ้นเร็วขึ้น โรคนี้ตั้งชื่อตาม Robert Graves นายแพทย์ชาวไอร์แลนด์ที่ค้นพบในช่วงปี ค.ศ. 1830 แพทย์อาจทำการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจทางภาพวินิจฉัยเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความชุกของโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ

Graves' Disease & Thyroid Foundation กล่าวว่า โรคนี้พบได้ประมาณ 3% ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณเกือบ 10 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุแต่มักเริ่มเกิดระหว่างช่วงอายุ 20 ปีจนถึงวัยกลางคน

อาการของโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง ซึ่งประกอบด้วย

โรคตาที่มาจากโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ 

ผู้ป่วยโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ ประมาณ 30% จะมีเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านหลังลูกตาอักเสบ โดยอาการของภาวะนี้ ประกอบด้วย

  • ตาโปน
  • ปวดหรือมีความดันในลูกตา
  • รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมในตา
  • ตาแดงหรืออักเสบ
  • หนังตาบวม
  • ไวต่อแสง
  • มองไม่เห็น
  • เห็นภาพซ้อน

โรคผิวหนังที่มาจากโรคคอพอกหรือไทรอยด์เป็นพิษ

เป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่ทำให้เกิดอาการผิวหนังแดงและหนาตัวขึ้น มักเกิดที่บริเวณหน้าแข้งหรือหลังเท้า ปัญหานี้มักไม่ใช่เรื่องที่อันตรายหรือทำให้เกิดอาการเจ็บปวด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

นักวิจัยยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคนี้ เช่นเดียวกับโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเองอื่นๆ ปัจจัยต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ได้

  • การเป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันอื่นๆ : ผู้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันอื่นๆ (เช่น โรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ โรคด่างขาว โรคลูปัส หรือโรคเบาหวานชนิดที่ 1) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรค Graves' Disease
  • พันธุกรรม : ผู้ป่วยบางคนจะมีแนวโน้มที่เป็นโรคนี้มากขึ้นเนื่องจากมีประวัติครอบครัว
  • ความเครียดทางอารมณ์หรือทางกาย : ความเครียดหรือการได้รับอันตรายอย่างรุนแรงอาจกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้
  • การติดเชื้อ : นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าการติดเชื้อบางชนิดอาจมีบทบาทในการเกิดโรค Graves' Disease
  • เพศ : นักวิจัยกำลังอยู่ในช่วงศึกษาว่าฮอร์โมนเพศบางชนิดอาจสามารถอธิบายได้ว่าทำไมโรคนี้จึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • การตั้งครรภ์ : การตั้งครรภ์อาจกระตุ้นในเกิดโรค Graves' Disease ได้ในผู้หญิงบางคน เนื่องจากพบว่ามีผู้หญิงอายุน้อยที่เป็นโรค Graves' Disease มากถึง 30% ที่ตั้งครรภ์ในช่วง 1 ปีก่อนที่จะเริ่มมีอาการของโรค
  • สูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคอพอกและไทรอยด์เป็นพิษ

หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้ได้

  • ความผิดปกติของหัวใจ : โรคนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติหรือหัวใจล้มเหลวได้ในผู้ป่วยบางราย
  • ไทรอยด์เป็นพิษ : เป็นภาวะที่แทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิต โดยเกิดจากการมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ภาวะนี้พบน้อยแต่อาจทำให้เกิดหัวใจล้มเหลวและปอดบวมได้ หากเกิดภาวะนี้แล้วจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์ทันที
  • ปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ : อาจเกิดได้ทั้งการแท้ง คลอดก่อนกำหนด การทำงานของต่อมไทรอยด์ของทารกผิดปกติ มารดาหัวใจล้มเหลว และครรภ์เป็นพิษ
  • กระดูกเปราะ : Graves' Disease สามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้

การรักษาโรคคอพอกและไทรอยด์เป็นพิษ

การรักษาโรคนี้มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป ตัวอย่างทางเลือกในการรักษา ประกาอบด้วย

  • ยาต้านไทรอยด์ : ยากลุ่มนี้จะป้องกันไม่ให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากเกินไป ยาที่ใช้บ่อย เช่น Tapazole (methimazole) และ propylthiouracil
  • การกลืนแร่ : ยานี้ใช้รักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงมานานกว่า 60 ปี โดยจะทำให้ต่อมไทรอยด์มีการดูดกลืนสารทึบรังสีเข้าไปและทำให้เกิดการหดตัว
  • การผ่าตัด : บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์เพื่อรักษาโรคนี้
  • ยากลุ่ม Beta blockers : ยากลุ่มนี้มักใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นเร็ว วิตกกังวล และเหงื่อออกมากในผู้ป่วย Graves' Disease

ผู้ป่วยที่มีโรคตาจากคอพอกและไทรอยด์เป็นพิษ อาจต้องการยาตัวอื่นเพิ่มเติม เช่น สเตียรอยด์หรือยาหยอดตาชนิดพิเศษเพื่อช่วยควบคุมอาการ


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Overactive thyroid (hyperthyroidism) - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/overactive-thyroid-hyperthyroidism/causes/)
Graves disease. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000358.htm)
Graves Disease: Background, Pathophysiology, Epidemiology. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/120619-overview)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ไทยลอยน์มีโอกาสหายหรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ไทรอยด์เป็นพิษสามารถหายขาดได้ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคไทรอยด์เป็นพิษห้ามกินอะไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคไทร์รอยสามารถมีบุตรได้มั้ยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พอดีเป็นไทรอยต่ำมานาน ละ กินยาตั้งแต่อายุ14จนถึง29 หยุดกิน เพราะหมดสั่งและหลังจากนั้นก้อท้อง แต่ไม่มีผลกับลูก อยากทราบว่าจะมีลูกอีกได้มั๊ย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
รักษาไทรอยด์เป็นพิษรอบ2 มีโอกาสหายขาดไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)