โรคไทรอยด์เป็นพิษ

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคไทรอยด์เป็นพิษ

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญของร่างกายตั้งอยู่บริเวณหน้ากล่องเสียง รูปร่างคล้ายผีเสื้อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ 2 ชนิด ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย การผลิตฮอร์โมนนั้นจะถูกควบคุมด้วยต่อมใต้สมองอีกทอดหนึ่ง

ไทรอยด์เกินมีหลายสาเหตุ

  • โรคคอพอก เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ โรคนี้พบในวัยกลางคน ช่วงอายุ 20-40 ปี ทั้งในเพศชายและหญิง อาการที่พบได้แก่ คอพอกเนื่องจากการเพิ่มขนาดของต่อมไทรอยด์ ตาโปน อาจทำให้เยื่อบุตาแดง อักเสบ กลอกตาลำบากและมองเห็นภาพซ้อน
  • ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งก้อนเหล่านี้สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้เหมือนเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์ปกติ
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ เกิดจากต่อมไทรอยด์อักเสชั่วคราวจากภูมิคุ้มกัน ซึ่งการอักเสบทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาเพิ่มขึ้น สามารถพบได้หลังคลอดบุตรโดยไม่มีอาการปวด
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบจากการติดเชื้อไวรัส จะมีอาการปวดบริเวณต่อม ต่อมโต กดเจ็บ หลังจากการติดเชื้อดีขึ้นจะเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำตามมาได้
  • รับประทานยาลดระดับฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนสูงผิดปกติ

อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษเป็นอย่างไร

  • กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
  • อ่อนแรงโดยเฉพาะต้นแขนต้นขาทำให้ยกแขนหรือเดินขึ้นบันไดลำบาก
  • มือสั่น
  • ร้อนง่าย
  • ใจเต้นเร็ว แรง
  • อ่อนเพลีย
  • กินจุ น้ำหนักลด
  • ลำไส้บีบตัวเร็ว ทำให้ถ่ายบ่อยหรือถ่ายเหลว

โรคไทรอยด์เป็นพิษวินิจฉัยได้อย่างไร

การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด เป็นวิธีเบื้องต้นในการตรวจว่าฮอร์โมนเกินหรือไม่ จากนั้นจึงตรวจเพื่อหาสาเหตุต่อไปเช่น การทำไทรอยด์สแกน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการรักษามีอะไรบ้าง

  • การใช้ยาประกอบด้วยยาลดการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์และยาลดอาการใจสั่น  ระยะเวลาของการรับประทานยาจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ปี ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 30 สามารถรักษาจนหายขาดได้ ถ้าอาการเป็นน้อยโอกาสหายขาดจะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 50-70 กรณีตัวโรคไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยา อาจพิจารณารักษาด้วยการกลืนแร่หรือการผ่าตัดต่อไป ในผู้ป่วยที่ไม่รักษาด้วยวิธีดังกล่าวก็สามารถรับประทานยาต่อในระยะยาวก็ได้ การใช้ยาในระยะยาวมีข้อควรระวังในสตรีตั้งครรภ์เนื่องจากยาไทรอยด์บางชนิดทำให้เกิดความพิการต่อทารก นอกจากนี้ต้องตรวจเม็ดเลือดขาวเพื่อติดตามภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำที่เป็นผลข้างเคียงที่สำคัญของยาอย่างสม่ำเสมอ
  • การกลืนแร่ไอโอดีน เป็นการใช้สารรังสีที่บรรจุเป็นแคปซูลหรือน้ำโดยต้องรับการดูแลในโรงพยาบาลในช่วงที่ได้รับสารรังสี เมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายประมาณ 6-18 สัปดาห์สารนี้จะไปทำลายเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์อย่างถาวรและมีความปลอดภัย ผู้ป่วยส่วนใหญ่รักษาเพียงครั้งเดียวแต่หากต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มากอาจจำเป็นต้องกลืนแร่มากกว่าหนึ่งครั้ง ในช่วง 3-7 วันหลังรับการรักษาอาจมีสารรังสีกระจายออกมาจากร่างกายจึงไม่ควรอยู่ใกล้ชิดเด็กหรือสตรีมีครรภ์ และไม่ควรตั้งครรภ์ในระหว่างที่รักษาด้วยวิธีนี้
  • การผ่าตัด ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วย 2 วิธีข้างต้นได้ ผู้ที่มีปัญหาหลอดลมและทางเดินหายใจถูกกดเบียดโดยต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดใหญ่หรือสงสัยมะเร็งของก้อนที่ต่อมไทรอยด์ โดยผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกอย่างไรก็ตามอาจทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำและต้องรับประทานฮอร์โมนทดแทนหลังการผ่าตัด  การผ่าตัดอาจเอาต่อมพาราไทรอยด์ออกไปด้วยจะทำให้เกิดระดับแคลเซี่ยมในเลือดเสียสมดุล หรือมีเสียงแหบเนื่องจากผ่าตัดถูกเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียง

ถ้าไม่รักษาจะเป็นอย่างไร

  • หัวใจโต เนื่องจากหัวใจต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวแต่โตขึ้นจนในที่สุดเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในสมองกลายเป็นอัมพฤต อัมพาต
  • ระดับไขมันชนิดดีในร่างกายลดลง ซึ่งไขมันตัวนี้มีหน้าที่ชะลอความเสื่อมของหลอดเลือด
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  • หายใจหอบเหนื่อย กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง ความดันในหลอดเลือดของปอดสูง ผู้ที่เป็นหอบหืดอาการจะเป็นรุนแรงขึ้น
  • การดูดซึมอาหารไม่ดี กลืนอาหารลำบากหากต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่
  • กระดูกพรุน
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีอาการทางจิตเวชเช่น ภาพหลอน สับสน ซึมเศร้า

18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Overactive thyroid (hyperthyroidism). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/overactive-thyroid-hyperthyroidism/)
Hyperthyroidism: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9153)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม