เรื่องของแมลงหวี่ พานะนำโรคตาแดงมาสู่คน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เรื่องของแมลงหวี่ พานะนำโรคตาแดงมาสู่คน

แมลงหวี่เป็นแมลงที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปในบ้าน และชอบอยู่ตามที่สกปรก เป็นแมลงมีขนาดเล็ก ชอบกินหนองตามบาดแผล ตามดวงตา หากมีคนเป็นตาแดงจะมีขี้ตา ซึ่งแมลงหวี่ชอบตอมมาก และหนองจะติดตามขาของมัน หากแมลงหวี่เหล่านี้ไปตอมดวงตาอีกคน ก็จะติดโรคตาแดงชนิดตาอักเสบ หรือริดสีดวงตาได้ง่าย เป็นการระบาดได้รวดเร็วมาก

รูปร่างลักษณะ

แมลงหวี่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีดำ มีขนอยู่ด้านหลังมาก มี 6 ขา มีสีเหลือง ขนาดของหัวโต ตาโต ส่วนท้องโต และส่วนอกเล็กกว่า มีปีก 2 คู่ บนด้านหลัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วงจรชีวิตและการเป็นอยู่

แมลงหวี่ชอบเกาะตามเชือกที่ห้อยอยู่ในที่อับ และสกปรก แถวใต้ถุนบ้าน หรือบริเวณรอบบ้าน ตามชนบทที่ห้องครัวใช้ถ่าน และฟืน มักจะพบแมลงหวี่เกาะกันเป็นกลุ่ม ๆ บริเวณเพดานที่ไม่ได้บุฝ้า

แมลงหวี่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน และมีการเจริญเติบโต 4 ระยะ

  1. ระยะไข่ ตัวเมียชอบวางไข่ในที่สกปรก หรือที่ดินร่วนไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน หรือตัวหนอนภายในเวลาประมาณ 3 วัน และออกไข่ตัวละประมาณ 30-40 ฟอง
  2. ระยะตัวอ่อน เป็นลักษณะตัวหนอนมีสีดำ บางชนิดมีสีขาว ส่วนหัวจะมีปากเป็นตะขอ ใช้เกาะยึด และกัดกินอาหาร การเคลื่อนไหว ระยะตัวหนอนนี้จะมีอายุประมาณ 5-10 วัน ก็จะกลายเป็นดักแด้
  3. ระยะดักแด้ ลำตัวจะหดสั้น และแบนมีสีค่อนข้างเหลือง ไม่เคลื่อนไหวจะมีอายุประมาณ 6 วัน ก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเป็นแมลงหวี่ต่อไป
  4. ระยะตัวแมลงหวี่ ระยะนี้ตัวแมลงหวี่จะบินออกไปหาอาหารได้ เมื่อได้อายุประมาณ 6 วัน ก็พร้อมจะผสมพันธุ์ได้

การควบคุมป้องกันและกำจัด

  1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ทำการกำจัดขยะมูลฝอย ทำความสะอาดรอบบ้าน ชายคา และเพดาน หรือใต้หลังคาโรงครัวให้สะอาด เป็นการทำลายที่อยู่อาศัย
  2. การกำจัดตัวแก่แมลงหวี่ค่อนข้างยาก เพราะที่อยู่กระจัดกระจาย การฉีดยาฆ่าแมลงต้องใช้อย่างระมัดระวัง พิษยาฆ่าแมลงจะเป็นพิษต่อคนในบ้าน การป้องกันไม่ให้แมลงหวี่ตอมลูกตาที่อักเสบและตุ่มแผลมีหนอง โดยวิธีปิดตาที่อักเสบ และปิดแผล ตุ่มหนองให้มิดชิด

14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Conjunctivitis | Pink Eye | Clinical Definition. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/conjunctivitis/clinical.html)
Gary Heiting, OD, Conjunctivitis (Pinkeye) (https://www.allaboutvision.com/conditions/conjunctivitis.htm).
Pink eye (conjunctivitis) - Symptoms and causes - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pink-eye/symptoms-causes/syc-20376355)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
7 สาเหตุของอาการตาบวม
7 สาเหตุของอาการตาบวม

รวมสาเหตุที่ทำให้ตาบวม แบบไหนอันตราย แบบไหนรักษาเองได้ หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคม่านตาอักเสบ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคม่านตาอักเสบ

ม่านตาอักเสบเกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไรและมีวิธีรักษาอะไรบ้าง

อ่านเพิ่ม