การผ่าตัดขยายเส้นเลือดคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การผ่าตัดขยายเส้นเลือดคืออะไร?

การผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty) เป็นการผ่าตัดขนาดเล็กที่ทำเพื่อขยายเส้นเลือดแดงที่ตีบตัน ซึ่งเกิดจากการสะสมของคราบหินปูน (plaque) ที่เกิดจากไขมัน เซลล์และสารอื่นๆ โดยภาวะนี้เรียกว่า ผนังเส้นเลือดแดงแข็งตัว (Atherosclerosis) สามารถเกิดขึ้นที่เส้นเลือดแดงเส้นใดก็ได้ในร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัดขยายเส้นเลือด มักทำเพื่อให้มีการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจอีกครั้งในผู้ที่มีภาวะผนังเส้นเลือดแดงแข็งตัว ช่วยลดอันตรายที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจหลังจากการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและการเสียชีวิต และยังทำให้อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอกและหายใจลำบากดีขึ้น นอกจากนี้ การผ่าตัดขยายเส้นเลือดยังอาจทำในผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่น เช่น

  • ผนังเส้นเลือดแดงแข็งที่ขาหรือแขน เรียกอีกอย่างได้ว่า โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral artery disease)
  • โรคความดันโลหิตสูงในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต หรือความดันโลหิตสูงที่เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ซ
  • เป็นภาวะเส้นเลือดแดงที่คอไปยังสมองตีบ (Carotid artery stenosis)

ขั้นตอนการผ่าตัดขยายเส้นเลือด

ก่อนที่จะทำการผ่าตัด แพทย์จะต้องระบุตำแหน่งเส้นเลือดที่เกิดการตีบโดยการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือด (Angiography) ระหว่างทำหัตถการนี้จะมีการใส่ท่อขนาดเล็กเข้าไปในเส้นเลือดแดง (มักเป็นที่ขาหนีบหรือแขน) ก่อนที่จะดันท่อเข้าไปสู่บริเวณที่เป็นปัญหา เช่น บริเวณเส้นเลือดหัวใจ หลังจากนั้นจะใช้สีย้อมชนิดพิเศษที่มองเห็นได้ในการเอกซเรย์เข้าไปในร่างกายผ่านท่อนี้ ทำให้แพทย์เห็นการไหลเวียนของเลือดภายในเส้นเลือดแดง 

การผ่าตัดขยายเส้นเลือดจะใช้สายสวนที่มีลูกโป่งอยู่ที่ปลายเข้าไปยังบริเวณเส้นเลือดที่มีการตีบตัน ก่อนที่แพทย์จะทำให้ลูกโป่งนั้นกางออกและดันให้คราบหินปูนแบนชิดกับผนังของหลอดเลือด เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หลังจากนั้นจะมีการปล่อยลมในลูกโป่งออกและนำสายสวนออกมา ในบางกรณี แพทย์อาจใช้สายสวนที่ลูกโป่งนี้มีท่อเหล็กคลุม ซึ่งจะยังคงอยู่ในร่างกายอย่างถาวรเพื่อถ่างขยายเส้นเลือดแดงหลังจากที่นำสายสวนออกไป

ความเสี่ยงของการผ่าตัดขยายเส้นเลือด

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการรผ่าตัดขยายเส้นเลือดที่พบได้แม้จะไม่บ่อย ได้แก่

  • เส้นเลือดถูกทำลายและมีเลือดออก
  • ปฏิกิริยาการแพ้ หรือมีไตถูกทำลายจากสารทึบรังสีที่ใช้
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • หัวใจวายเฉียบพลัน
  • เส้นเลือดในสมองตีบ
  • เส้นเลือดแดงหดตัว
  • เจ็บหน้าอก
  • เกิดแผลเป็นและลิ่มเลือดรอบๆ ขดลวดขยาย

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)