กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

นิ่วในไตคืออะไร? รวมสัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณเป็นนิ่วในไต!

สาเหตุและอาการของโรคนิ่วในไต รู้ก่อนเพื่อป้องกันก่อนเป็น
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
นิ่วในไตคืออะไร? รวมสัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณเป็นนิ่วในไต!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • นิ่วในไตคือ การตกผลึกของสารก่อนิ่วในไตจนเกิดเป็นก้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลึกแคลเซียมออกซาเลต และบางครั้งอาจเป็นแคลเซียมฟอสเฟต ยูริก หรือสารอื่นๆ ได้เช่นกัน
  • นิ่วในไตพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ชายจะมีโอกาสเป็นนิ่วมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า และในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้บ่อยในทางภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งอาจเป็นผลจากสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่ต่างกัน
  • โรคนิ่วในไตมักเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ การดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง มีโปรตีนสูง หรือมีโซเดียมสูง เป็นประจำ มีภาวะยูริกในเลือดสูง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเกาต์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงการรับเคมีบำบัด
  • นิ่วในไตอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยก็ได้ โดยนิ่วสามารถเคลื่อนที่ไปในท่อไตและทำให้เกิดอาการปวดตามมา นอกจากนี้อาจรู้สึกถึงอาการปวดที่บริเวณหลัง สีข้าง และปวดร้าวไปถึงท้องน้อยหรือที่ขาหนีบเป็นพักๆ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

โรคนิ่วในไต สามารถเป็นได้ทั้งผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ในวัยหนุ่มสาว โดยเป็นนิ่วที่พบได้บ่อยกว่านิ่วในอวัยวะอื่นๆ บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับนิ่วในไตกันว่า เกิดขึ้นจากอะไร และมีอาการอย่างไรบ้าง 

นิ่วในไต คืออะไร

นิ่วในไตคือ การตกผลึกของสารก่อนิ่วในไตจนเกิดเป็นก้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลึกแคลเซียมออกซาเลต และบางครั้งอาจเป็นแคลเซียมฟอสเฟต ยูริก หรือสารอื่นๆ ได้เช่นกัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นิ่วมีหลากหลายชนิดและมีขนาดที่แตกต่างกันไป อาจเกิดขึ้นก้อนเดียว หรือหลายก้อน และแม้จะเกิดขึ้นในไต แต่ก้อนนิ่วก็มีโอกาสหลุดลงมาในท่อไตจนถึงบริเวณกระเพาะปัสสาวะได้ 

นิ่วในไตพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ชายจะมีโอกาสเป็นนิ่วมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า และในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้บ่อยในทางภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งอาจเป็นผลจากสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมการรับประทานอาหารที่ต่างกัน

สาเหตุการเกิดนิ่วในไต

โรคนิ่วในไตส่วนมากเกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ได้แก่

  1. การอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน ทำให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อได้ง่าย ประกอบกับพฤติกรรมดื่มน้ำน้อย จึงทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูงขึ้น และเกิดเป็นตะกอนนิ่วได้
  2. การรับประทานอาหารบางอย่างเป็นประจำ เช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูง มีโปรตีนสูง หรือมีโซเดียมสูง ทั้งนี้การรับประทานอาหารจะถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงก็ต่อเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนั้นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจึงสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้โดยที่อาจจะไม่มีผลต่อการเกิดโรค
  3. การมีภาวะยูริกในเลือดสูง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเกาต์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงการรับเคมีบำบัด และผู้ที่กำลังใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านการขับกรดยูริก เช่น ยากันชักเฟนิโทอิน (Phenytoin) 
นิ่วในไต

อาการของนิ่วในไต

นิ่วในไตอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง หรือเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยก็ได้ โดยนิ่วสามารถเคลื่อนที่ไปในท่อไตและทำให้เกิดอาการปวดตามมา 

นอกจากนี้อาจรู้สึกถึงอาการปวดที่บริเวณหลัง สีข้าง และปวดร้าวไปถึงท้องน้อย หรือที่ขาหนีบเป็นพักๆ 

ส่วนอาการอื่นๆ ได้แก่ ระคายเคืองเวลาปัสสาวะ หรือมีอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีเม็ดทรายปนออกมากับปัสสาวะ คลื่นไส้ อาเจียน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สัญญาณอันตรายนิ่วในไต

หากคุณมีอาการผิดปกติต่อไปนี้ คุณควรไปพบแพทย์ เพราะอาจบ่งบอกได้ว่ากำลังมีอาการนิ่วในไต

  • ปวดท้องบริเวณบั้นเอวหรือท้องน้อยที่ข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว
  • รู้สึกปวดบิดๆ เกร็งๆ เป็นพักๆ คล้ายกับอาการท้องเดิน หรืออาการปวดประจำเดือน
  • อาจรู้สึกปวดเป็นชั่วโมงๆ หรือปวดทั้งวันก็เป็นได้
  • อาจมีอาการปวดลามจากบั้นเอว ไปถึงบริเวณอัณฑะ หรือช่องคลอดข้างเดียวกัน
  • มีอาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ ไม่หายขาด หรือนานๆ ครั้งเป็นที ซึ่งหากก้อนนิ่วไม่หลุดออกมา ก็จะปวดอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ
  • มีอาการใจหวิว ใจสั่น หรือคลื่นไส้อาเจียน
  • หากมีก้อนนิ่วหลายก้อน หรือก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก อาจพบเห็นก้อนนิ่วเล็กๆ ปนออกมากับปัสสาวะ
  • เมื่อกดบริเวณที่ปวดจะไม่รู้สึกเจ็บ หรือบางครั้งก็อาจรู้สึกสบายขึ้น
  • หากมีอาการหนัก จะปวดท้องพร้อมกับมีไข้สูง แม้จะรับประทานยาบรรเทาปวดแล้วก็ยังไม่หาย

หากเริ่มรู้สึกว่า มีอาการปวดท้องบ่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือปวดมากจนทนไม่ไหว รับประทานยาบรรเทาปวดก็ไม่หาย ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะนั่นแสดงว่าก้อนนิ่วอาจมีขนาดใหญ่ 

เมื่อก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ก้มีโอกาสไปอุดตันส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะภายในร่างกาย จนทำให้ทำงานบกพร่อง หรือเกิดการอักเสบขึ้นได้ 

นิ่วในไตรักษาได้หรือไม่?

นิ่วในไตเป็นโรคที่รักษาได้ โดยก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็กจะรักษาได้ด้วยการดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับให้นิ่วออกมาทางปัสสาวะ แต่หากไม่สามารถขับนิ่วออกมาด้วยวิธีนี้ได้ 

แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาช่วยขับนิ่ว ซึ่งมีหลากหลายชนิดด้วยกัน เลือกใช้ตามลักษณะนิ่วของผู้ป่วย และในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่เกินไปอาจต้องผ่าตัดใส่เครื่องมือบางชนิดเพื่อเข้าไปกำจัดหรือสลายนิ่ว 

ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่มีสัญญาณเตือน 9 ข้อข้างต้น เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของนิ่วในไตเข้าสู่ระยะรุนแรงหรือยากต่อการรักษา และเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ.กิตติณัฐ กิจวิกัย ภาควิชาศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (https://drive.google.com/file/d/1Ygw2rF8CFF3DOdGyeWQkIdZlyIctCK8t/view), 9 August 2020.
ผศ.นพ.เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, มารู้จัก...นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1334), 9 August 2020.
What are Kidney Stones? (https://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/kidney-stones), 23 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป