ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

รวมยาแก้แพ้อากาศ ความแตกต่าง พร้อมข้อดี ข้อเสีย

รวมชื่อยาแก้แพ้อากาศ ความแตกต่างของยา ขนาดการใช้ ผลข้างเคียง และตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 28 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รวมยาแก้แพ้อากาศ ความแตกต่าง พร้อมข้อดี ข้อเสีย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาแก้แพ้ประเภทยาต้านฮิสตามีนจะมีความแตกต่างกันที่การออกฤทธิ์ของยา ไม่ได้เกี่ยวกับข้องกับสี หรือลักษณะของเม็ดยาแต่อย่างใด
  • สาเหตุที่ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิม มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน และอ่อนเพลีย ก็เพราะโมเลกุลของยามีขนาดเล็กจนสามารถผ่านแนวกั้นเยื่อสมองเข้าไปรบกวนระบบประสาทส่วนกลางได้
  • ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่เป็นยาที่ถูกพัฒนามาจากยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ได้พัฒนาโมเลกุลของยาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จนไม่สามารถผ่านแนวกั้นเยื่อสมองได้หมด จึงไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนมากเท่ายากลุ่มเดิม
  • ถึงแม้จะมีการพัฒนาตัวยาให้ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงน้อยลง แต่หากรับประทานยาเข้าไปแล้ว คุณก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานกับเครื่องจักร หรือสารเคมีที่อันตราย เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • คุณควรไปตรวจสุขภาพกับแพทย์ หากรู้สึกว่าตนเองมีอาการของโรคภูมิแพ้ และจะได้มีการจ่ายยาที่ถูกต้องเหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

การรับประทานยาแก้แพ้ เป็นวิธีรักษาโรคภูมิแพ้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยยาแก้แพ้ที่คุณคุ้นเคยกันนั้นมีหลายประเภท ทำให้หลายครั้งจึงทำให้เกิดความสับสนว่า แล้วสุขภาพกับลักษณะโรคภูมิแพ้ของคุณเหมาะกับยาตัวไหนกันแน่ ดังนั้นวันนี้เราลองมาเปรียบเทียบถึงความแตกต่างของยาแก้แพ้แต่ละชนิดกัน

ยาแก้แพ้สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด แต่ยาที่เป็นที่แพร่หลาย และผู้ป่วยมักจะได้รับเพื่อใช้ในการรักษามากที่สุดมักจะเป็น "ยาแก้ฮิสตามีน (Ainihistamine)" ซึ่งยาชนิดนี้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการออกฤทธิ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มแรก หรือกลุ่มดั้งเดิม (First Generation Antihistamine) 

เป็นยาต้านฮิสตามีนรุ่นแรก มีประสิทธิภาพในการลดการหลั่งของสารฮิสตามีนสูง ผ่านโมเลกุลของยาขนาดเล็กที่จะซึมผ่านเยื่อกั้นสมอง (Blood Brain Barrier) เข้าไปจับตัวรับฮิสตามีนภายในสมอง 

แต่ด้วยโมเลกุลของตัวยาที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ยาซึมผ่านเข้าสมองได้ง่าย และทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาคือ ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม อ่อนเพลีย ตาพร่าเบลอ  นอกเหนือจากอาการง่วง โมเลกุลยาของยาต้านฮิสตามีนกลุ่มที่ 1 ยังทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งได้แก่

ด้วยเหตุที่ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มนี้ทำให้งวงซึม จึงทำให้ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มแรกมักถูกใช้เป็นยานอนหลับสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับด้วย

2. ยาด้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่ (New Generation Antihistamine) 

เป็นยาต้านฮิสตามีนรุ่นแรกที่ถูกนำไปพัฒนาต่อ จนไม่สามารถเข้าไปรบกวนระบบประสาทส่วนกลางข้างในสมองได้มากเท่ายารุ่นดั้งเดิม จึงทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกง่วงซึมมากนัก เนื่องจากมีโมเลกุลของยาขนาดใหญ่ขึ้น ละลายไขมันได้น้อยลง 

และนอกจากสามารถขจัดอาการง่วงแล้ว ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่ยังไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารอะเซทิลโคลีน (Acethlcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่คอยควบคุมดูแลเกี่ยวกับกลไกการรับความรู้สึก การรับรสชาติ การนอนหลับ และภาวะซึมเศร้าด้วย

ข้อมูลยาต้านฮิสตามีนทั้ง 2 ชนิด

ยาต้านฮิสตามีนทั้ง 2 ชนิดมีข้อบ่งใช้ ขนาดการใช้ และข้อควรระวังดังตารางต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. กลุ่มยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิม

กลุ่มยาต้านฮิสตามีนดั้งเดิมมีด้วยกันหลักๆ 4 ประเภท มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ไซโพรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)

ตัวอย่างชื่อการค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Cyprodine
  • Cyprotec
  • Cyprocap
  • Cyprogin
  • Cyproheptadine Macrophar
  • Asian Pharm
  • Inpac
  • Medicine Products
  • Picco
  • T Man

เป็นยาที่ใช้สำหรับต้านอาการแพ้ เช่น การเกิดผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหลขนาดการใช้ยาอยู่ที่ 4 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ยามีผลข้างเคียงหนึ่งคือ เพิ่มความอยากอาหาร จึงมีการใช้ยานี้เพื่อเพิ่มความอยากอาหารในเด็ก อย่างไรก็ตามข้อบ่งใช้นี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์

ไดเมนไฮดรามีน (Dimenhydramine) / ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)

ตัวอย่างชื่อการค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Dramine
  • Dimeno
  • Denim
  • Divomit
  • Dimim
  • Motivan
  • Dimenhydrinate Asian Union
  • T Man
  • Picco
  • Pharma Square
  • Vomen

เป็นยาที่ใช้สำหรับต้านอาการแพ้ เช่น การเกิดผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหลขนาดการใช้ยาอยู่ระหว่าง 50-100 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ยานี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ จึงนิยมใช้ยาในข้อบ่งใช้นี้มากกว่า

ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)

ตัวอย่างชื่อการค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • Atarax
  • Allerax
  • Drazine
  • Histan
  • Hizin
  • Hyzine
  • Polizine
  • Taraxin
  • Hydroxyzine Inpac
  • Utopian

เป็นยาที่ใช้สำหรับต้านอาการแพ้ เช่น การเกิดผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหลขนาดการใช้ยาอยู่ระหว่าง 50-100 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง

เนื่องจากยามีฤทธิ์ทำให้ง่วงสูง จึงพบว่ามีการใช้ยานี้เพื่อช่วยให้หลับ เช่น ในผู้ที่อยู่ในระหว่างการเดินทางบนเครื่องบิน หรือในผู้ป่วยที่มีภาวะวิตกกังวล และต้องการทำให้หลับ หรือในรายที่มีอาการแพ้ และหวังผลให้ผู้ป่วยหลับ

คลอร์เฟนิรามีน (Clorpheniramine)

ตัวอย่างชื่อการค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Chlorpheniramine GPO
  • A.N.H.
  • Asian Pharm
  • Charoen Bhaesaj
  • Inpac, Nakornpatana
  • T.O.
  • Medicpharma
  • Chorphen

เป็นยาที่ใช้สำหรับต้านอาการแพ้ เช่น การเกิดผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหล ขนาดการใช้ยาอยู่ระหว่าง 50-100 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง นิยมใช้ลดน้ำมูกในผู้ป่วยโรคหวัด

ข้อควรระวังของกลุ่มยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิม

กลุ่มยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิม (Clorpheniramine, Dimenhydramine, Dimenhydrinate, Hydroxyzine, Cyproheptadine) จะมีข้อควรระวังและผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ในการใช้ยาใกล้เคียงกัน ดังต่อไปนี้

  • มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของอะเซทิลโคลีนสูง จึงทำให้เกิดอาการ ผิวหนังแห้ง ปากคอแห้ง ตาแห้ง ตาพร่า ม่านตาขยาย ท้องผูก ปัสสาวะขัดในเพศชาย
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้สูงอายุ และผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต เนื่องจากยาส่งผลต่อการปัสสาวะ
  • ยามีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้เครื่องจักรในระหว่างใช้ยานี้เนื่องจากทำให้สมรรถนะในการทำงานดังกล่าวลดลง และอาจเกิดอุบัติเหตุได้

2. กลุ่มยาต้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่

กลุ่มยาต้านฮิสตามีนดั้งเดิมมีด้วยกันหลักๆ 3 ประเภท มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ลอราทาดีน (Loratadine)

ตัวอย่างชื่อการค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Alertyne
  • Allersil
  • Lorsedin
  • Clalergy
  • Claridine
  • Loradine
  • Lortadine

เป็นยาใช้สำหรับต้านอาการแพ้ เช่น การเกิดผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหล ขนาดการใช้ยาคือ 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง (Aerius ขนาด 5 มิลลิกรัม กินครั้งละ 1 เม็ด วันละครั้ง) นอกจากนี้ เดสลอราทาดีน (Desloratadine) นิยมใช้เป็นยาสำหรับบรรเทาอาการแพ้ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น Aerius

เซทิริซีน (Cetirizine)

ตัวอย่างชื่อการค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Zyrtec
  • Alerest
  • Cetrizin
  • Zittec
  • Zensil
  • Zertine
  • Cyzine
  • Fatec

เป็นยาใช้สำหรับต้านอาการแพ้ เช่น การเกิดผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหล ขนาดการใช้ยาคือ 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือ 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine)

ตัวอย่างชื่อการค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

  • Bosnum
  • Fenafex
  • Telfast
  • Tofexo
  • Vifas
  • Fexotine

เป็นยาใช้สำหรับต้านอาการแพ้ เช่น การเกิดผื่นคัน ลมพิษ น้ำมูกไหล แต่ข้อจำกัดคือยาไม่สามารถผ่านเยื่อกั้นสมองได้ จึงนิยมใช้ยานี้ในนักบิน หรือผู้มีอาชีพที่การง่วงมีความเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง

ข้อแตกต่างจากยาต้านฮิสตามีนกลุ่มดั้งเดิม

ผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงน้อยลงอย่างมากเมื่อเทียบกับยาในรุ่นแรก และไม่มีฤทธิ์ anticholinergic แบบในรุ่นแรก

ความแตกต่างระหว่างยาแก้แพ้เม็ดสีขาว สีเหลือง และสีฟ้า

ความจริงแล้วสีของเม็ดยานั้นเป็นเพียงเครื่องมือช่วยจำชนิดหนึ่งเท่านั้น ในกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาจำนวนมาก หรือต้องรับประทานยาคนละกลุ่มกัน แต่สิ่งที่คุณจะต้องจำก็คือ ตัวยา และประเภทของยาที่บรรจุอยู่ข้างในแคปซูล หรือเม็ดยาต่างหาก เช่น

  • ยาแก้แพ้เม็ดสีเหลือง ที่เป็นที่รู้จักคือ คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ซึ่งจัดเป็นยาแก้แพ้ในกลุ่มที่ 1
  • ยาแก้แพ้เม็ดสีฟ้า ที่เป็นที่รู้จักคือ เดสลอราทาดีน (Desloratadine) แอเรียส (Aerius) ซึ่งจัดเป็นยาแก้แพ้ในกลุ่มที่ 2
  • ยาแก้แพ้เม็ดสีขาว ที่มีวางจำหน่ายนั้น จะมีทั้ง...
    1. เซทิริซีน (Cetirizine) เช่น Zyrtec, Cetrizin, Fatec, Cettec
    2. ลอราทาดีน(Loratadine) เช่น Lorsedin, Clarityn ซึ่งยาสองกลุ่มนี้จัดเป็นยาแก้แพ้กลุ่มที่ 2 ทั้งคู่
    3. ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine) เช่น Atarax ยากลุ่มนี้จะจัดเป็นยาแก้แพ้ในกลุ่มที่ 1

คุณไม่ควรจำแค่สียาเพียงอย่างเดียว เพราะข้อมูลเกี่ยวกับยาข้างในจะช่วยคุณได้ หากคุณต้องไปพบแพทย์ฉุกเฉิน และให้ข้อมูลว่า กำลังรับประทานยาอะไรอยู่บ้าง หรือหากไม่ทราบชื่อยา ก็ให้สอบถามกับแพทย์ที่รักษาโดยตรง หรือสอบถามเภสัชกรถึงชื่อยาตัวนั้น เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัพเดทแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Martin K Church and Diana S Church, Pharmacology of Antihistamines, May 2013.
Mark D. Coggins, Antihistamine Risk. Aging Well Vol. 6 No. 2 P. 6. March / April 2013
F Estelle R Simon and Keith J Simons, H1 Antihistamines: Current Status and Future Directions. 15 September 2008.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากผลข้างเคียง
วิธีการกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากผลข้างเคียง

ยาแก้แพ้ไม่ใช่ยานอนหลับ ใช้ถูกจะเป็นประโยชน์ แต่หากใช้ผิดจะเป็นภัย

อ่านเพิ่ม