ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Pseudoephedrine (ซูโดเอฟีดรีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

pseudoephedrine เป็นยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการหวัด โดย Pseudoephedrine เป็นสารในกลุ่มอัลคาลอยด์ เป็นไอโซเมอร์ (สารที่มีองค์ประกอบของโมเลกุลเหมือนกัน แต่การจัดเรียงโครงสร้างของโมเลกุลต่างกัน) รูปแบบหนึ่งของ ephedrine โดยยังคงฤทธิ์ในการขยายหลอดลมและกระตุ้นประสาท แต่มีความแรงน้อยกว่า ephedrine ลงครึ่งหนึ่ง นิยมนำมาใช้ในยาบรรเทาอาการคัดจมูกแทน Ephedrine ที่มีอันตรายมากกว่า กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ยากระตุ้นตัวรับอะดรีเนอร์จิก ชนิดอัลฟ่าและบีต้า ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดลมจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้หลอดเลือดหดตัว ฤทธิ์บรรเทาอาการคัดจมูกอาศัยการหดตัวของหลอดเลือดที่เข้าไปเลี้ยงบริเวณจมูก ลำคอ และไซนัส ทำให้ของเหลวและเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้ลดลง จึงช่วยลดการอักเสบที่เยื่อบุโพรงจมูกร่วมกันกับลดการสร้างน้ำมูก

Pseudoephedrine ที่เป็นยาสำเร็จรูป ทั้งรูปแบบยาสูตรเดียว รวมถึงยาสูตรผสมที่มี Pseudoephedrine เป็นส่วนประกอบ จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภทที่ 2 ตาม พรบ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ไม่สามารถวางจำหน่ายได้ในร้านขายยา บุคคลทั่วไปที่จำเป็นต้องใช้ยาต้องไปพบแพทย์ และสั่งจ่ายโดยแพทย์ในสถานพยาบาลเท่านั้น รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • รูปแบบยาเดี่ยว ชนิดยาเม็ด ขนาด 30 และ 60 มิลลิกรัม
  • รูปแบบยาเดี่ยว ชนิดยาน้ำเชื่อม ความแรง 30 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร
  • รูปแบบยาผสม ชนิดยาเม็ด ขนาด 30 และ 60 มิลลิกรัม โดยผสมกับ Triprolidine
  • รูปแบบยาผสม ชนิดยาน้ำเชื่อม ความแรง 30 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร โดยผสมกับ Triprolidine

ข้อบ่งใช้ของยา Pseudoephedrine

ใช้เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก

ขนาดและวิธีการใช้ยา Pseudoephedrine

การใช้ Pseudoephedrine ในรูปแบบรับประทานเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก มีขนาดและวิธีการใช้ตามข้อบ่งใช้ ดังนี้

  • ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 60 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดคือ 240 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 6-11 ปี ขนาด 30 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดคือ 120 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 12-17 ปี ขนาด 60 มิลิลกรัม วันละ 3-4 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดคือ 240 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อควรระวังในการใช้ Pseudoephedrine 

  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี รวมถึงการใช้ยาแก้หวัดอื่นที่มีส่วนผสมของ pseudoephedrine
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไตบกพร่อง ระดับรุนแรง
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยระดับฮอรโมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยต้อหินมุมปิด
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยเนื้องอกต่อมหมวกไต ชนิดฟีโอโครโมไซไซโตมา (pheochromocytoma)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่ได้รับยากลุ่ม MAOI (Mono Amine Oxidase Inhibitor - ยากลุ่มหนึ่งของยารักษาโรคซึมเศร้า) หรือเพิ่งหยุดการใช้ยากลุ่ม MAOI ยังไม่เกิน 2 สัปดาห์ (ยากลุ่ม MAOI ได้แก่ rasagiline, selegiline, isocarboxazid, phenelzine และ tranylcypromine)
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มกระตุ้นระบบซิมพาเทติก ยาบีต้าบล็อกเกอร์ และผู้ป่วยดมยาสลบ
  • ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาแก้หวัดในเด็ก เนื่องจากมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงสูง และยังมีข้อมูลด้านประสิทธิภาพในการรักษาที่จำกัด
  • ควรระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงของการใช้ Pseudoephedrine 

ข้อควรทราบอื่นๆ ของยา Pseudoephedrine

  • ยา Pseudoephedrine ยังไม่ถูกจัดกลุ่มตามดัชนีความปลอดภัยการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Safety Index) อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้ในสตรีมีครรภ์ควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
  • การใช้ยานี้ในสตรีให้นมบุตร อาจกดการสร้างน้ำนมของมารดาได้
  • ยานี้สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
  • ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ หากมีการใช้ยาควบคุมความดันโลหิต ยาในกลุ่มบีต้าบล็อคเกอร์ เนื่องจากยาส่งผลต่อความดันโลหิต โดยเฉพาะการใช้ยาในกลุ่ม MAOI อาจทำให้เกิดภาวะความดันสูงวิกฤตซึ่งอันตรายชีวิต
  • ยานี้แนะนำให้เก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เกิน 20-25 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสง และความชื้น

17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)