ผื่นแพ้ในเด็ก วิธีป้องกันและรักษาที่พ่อแม่ควรรู้

ความรู้พื้นฐานเรื่องการป้องกันและรักษาผื่นแพ้ในเด็ก
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผื่นแพ้ในเด็ก วิธีป้องกันและรักษาที่พ่อแม่ควรรู้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผื่นแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กทารกจนถึงอายุ 5 ปี แม้จะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่อาการจะดีขึ้นเองเมื่อโตขึ้น
  • แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะของผื่น และตำแหน่งที่ผื่นขึ้น โดยอาการหลักๆ คือ ผื่นคัน อาจมีสีแดง เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกผิวหยาบหนา หรือระคายเคือง
  • การรักษาผื่นแพ้โดยทั่วไปจะใช้ยาทา ได้แก่ ยาทาต้านฮิสตามีน และยาทาสเตียรอยด์ความรุนแรงเบาถึงปานกลาง โดยจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน ห้ามซื้อมาใช้เองเด็ดขาด และหากอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์เพื่อเปลี่ยนวิธีรักษาต่อไป
  • การป้องกันผื่นแพ้ทำได้โดยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง เช่น อาบน้ำบ่อยๆ ทาสารให้ความชุ่มชื้น เช่น ขี้ผึ้ง วาสลีน หรือโลชั่นที่ปราศจากสารสเตียรอยด์
  • วิธีการรักษาผื่นแพ้และภูมิแพ้ที่ดีที่สุดคือ การรู้สาเหตุของโรคด้วยการสังเกต หรือตรวจภูมิแพ้ และหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่)

ผื่นแพ้ (Eczema หรือ Atopic dermatitis) เป็นหนึ่งในโรคภูมิแพ้ในเด็กที่พบได้บ่อยในเด็กทารกจนถึงอายุ 5 ปี โดยสาเหตุของโรคเกิดจากผิวหนังแห้ง และสูญเสียความชุ่มชื้นง่าย เนื่องจากสร้างเซราไมด์ (Ceramide) ที่ผิวหนังได้น้อยเกินไป

ผื่นแพ้ เป็นโรคที่น่ากังวลใจสำหรับพ่อแม่ไม่น้อย เพราะเป็นโรคที่รักษาได้ยาก อย่างไรก็ตามอาการของโรคผื่นแพ้จะดีขึ้นเองเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะผิวหนังแข็งแรงขึ้นนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการผื่นแพ้ในเด็ก

  • อาการหลักของผื่นแพ้คือ ผื่นคัน อาจมีสีแดง เมื่อสัมผัสแล้วจะรู้สึกว่า ผิวหยาบหนา ระคายเคือง หรืออาจมีผิวลอกเป็นขุยก็ได้
  • ผื่นชนิดนี้มักเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ในวัยทารก และเป็นต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 5 ปี
  • ถึงแม้ว่า การรักษาจะช่วยควบคุมไม่ให้อาการกำเริบ และหายไปได้ แต่ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น ผู้ป่วยมักจะกลับมามีอาการเป็นครั้งคราว

การวินิจฉัยผื่นแพ้

การวินิจฉัยผื่นแพ้ทำได้โดยดูจากลักษณะของผื่นคัน และตำแหน่งเฉพาะของโรค ได้แก่ หน้าผาก แก้ม แขนและขาในทารก หรือด้านในบริเวณรอยพับของข้อศอก เข่า และข้อเท้าในเด็กโต

บางครั้งผื่นแพ้ก็ถูกเข้าใจผิดว่า เป็นผื่นคันชนิดอื่น เช่น ผื่นแพ้สัมผัส ผดร้อน เซบเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) หรือผื่นโรคสะเก็ดเงิน

อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่เกิดผื่น ตำแหน่งที่มีผื่นขึ้น และรูปแบบการกระจายตัวของผื่นจะช่วยให้กุมารแพทย์วินิจฉัยได้ว่า ผื่นนี้เป็นผื่นแพ้ หรือเป็นผื่นชนิดอื่นๆ กันแน่

วิธีการรักษาผื่นแพ้ในเด็กทั่วไป

เมื่ออาการผื่นแพ้กำเริบ การรักษาที่ใช้โดยทั่วไปจะใช้ยาทา ได้แก่

  • ยาต้านฮิสทามีนชนิดทา เช่น คลอร์เพน็อกซามีน (Chlorphenoxamine)
  • ยาสเตียรอยด์ชนิดทา มีตั้งแต่ครีมไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา ซึ่งมีฤทธิ์อ่อนมากจนอาจใช้ทาหน้าได้ในผู้ป่วยบางราย ไปจนถึงยาระดับแรงปานกลาง เช่น โมเมทาโซน (Mometasone) และ 0.02% ไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone)
  • หากเป็นยาสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์แรงมากจะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้วจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์รุนแรงมากในเด็ก

ข้อควรระวังในการใช้ยาทา

  • ยาทาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงได้ หากใช้บริเวณเดิมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น ทำให้ผิวบาง หรือมีรอยแตก 
  • ยาเหล่านี้ควรใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะการใช้กับใบหน้าของเด็ก หรือบริเวณจุดอับ เช่น ในผ้าอ้อม
  • ต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา เนื่องจากยาเหล่านี้มักห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่าสองขวบ เพราะยาสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

วิธีการรักษาผื่นแพ้ในเด็กอื่นๆ

  • ยาต้านฮิสทามีน (Antihistamine) ชนิดรับประทาน เป็นยาที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาผื่นแพ้ โดยค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับเด็กที่มีอาการคันจนนอนไม่หลับ เพราะจะช่วยให้หลับได้สบายขึ้น
  • หากเด็กเกาเมื่อมีอาการคัน สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการได้
  • ในกรณีของผื่นแพ้ที่รักษาได้ยากมาก อาจต้องใช้วิธีอื่นๆ ในการรักษา ซึ่งมีทั้งการทำแผล การให้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน การใช้รังสียูวี และการใช้ยากดภูมิคุ้มกันอื่นๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

วิธีป้องกันผื่นแพ้กำเริบ

1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นผื่นแพ้ที่รู้อยู่แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากพ่อแม่รู้ว่า ลูกแพ้สิ่งใดก็ให้หลีกเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น สบู่ ฟองสบู่ ไรฝุ่น อาหารที่แพ้ อากาศร้อน เหงื่อ เสื้อผ้าขนสัตว์ หรือใยสังเคราะห์

2. รักษาผิวของเด็กให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ

เนื่องจากการระบุ และหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการกำเริบของผื่นแพ้ เพราะผิวแห้งจะทำให้ระคายเคืองและอักเสบได้ง่าย มีวิธีการดังนี้

  • อาบน้ำให้เด็กวันละหนด้วยน้ำที่อุ่นเล็กน้อย โดยใช้สบู่ที่อ่อนโยนต่อผิว และให้ความชุ่มชื้น
  • ใช้สารให้ความชุ่มชื้นทาผิวเด็ก เมื่อเริ่มมีอาการผิวแห้ง และทาซ้ำอีก 2-3 ครั้งต่อวัน
  • สารให้ความชุ่มชื้นที่ใช้ได้มีหลายชนิด โดยแนะนำเป็นขี้ผึ้ง (Ointment) จะดีที่สุด แต่หากไม่สะดวกจะใช้วาสลีน ครีมทาผิว ครีมยา หรือโลชั่นยาชนิดปราศจากสเตียรอยด์ก็ใช้ได้เช่นกัน
  • เมื่อเลือกชนิดของสารให้ความชุ่มชื้นแล้ว ควรลองทาเพียงเล็กน้อยก่อนเพื่อดูว่า เด็กมีอาการแพ้หรือไม่

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับผื่นแพ้ในเด็ก

  • แม้จะยังไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่ผื่นแพ้จะหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น หรืออย่างน้อยก็มีอาการดีขึ้น
  • ผื่นแพ้ไม่ได้เป็นโรคที่ถ่ายทอดกันในครอบครัว แต่สามารถเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้บางชนิดได้ เช่น โรคเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) และหอบหืด
  • ควรทาสารให้ความชุ่มชื้นทับยาที่ทาไว้อีกชั้นในช่วงที่อาการผื่นแพ้กำเริบ
  • ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้เด็กอาบน้ำเป็นเวลา 10 นาที อย่างน้อยวันละครั้ง เพื่อช่วยคงความชุ่มชื้นของผิวหนัง ทำให้ผิวมีสุขภาพดี และทาสารให้ความชุ่มชื้นภายใน 2-3 นาทีหลังอาบน้ำ
  • เตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาที่ผื่นแพ้อาจกำเริบ หรือแย่ลง เช่น ในช่วงหน้าหนาวที่อากาศในบ้านแห้ง ช่วงหน้าร้อนที่เด็กอาจไปว่ายน้ำ หรือไปถูกอากาศที่ร้อนเกินไปข้างนอกบ้าน
  • ระมัดระวังการติดเชื้อที่ผิวหนัง เพราะมักทำให้การรักษาผื่นแพ้ทำได้ยากขึ้น และอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มเติมจากยาสำหรับผื่นแพ้ตามปกติ
  • หากอาการผื่นแพ้ไม่ดีขึ้นจากการรักษาขั้นพื้นฐาน ให้ไปพบกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง เพื่อขอความช่วยเหลือ และคำแนะนำในการรักษาต่อไป

ผื่นแพ้ในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อย พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลจนเกินไป เพราะเมื่อเด็กโตขึ้นอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง

อย่างไรก็ตามต้องดูแลผิวของเด็กอย่างเหมาะสม เช่น ทาสารให้ความชุ่มชื้นเป็นประจำ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้อาการผื่นแพ้กำเริบ เมื่อเกิดอาการแพ้ให้รีบรักษาไม่ปล่อยให้อาการรุนแรงขึ้น หรือมีอาการเรื้อรัง ก็จะช่วยให้สามารถควบคุมโรคผื่นแพ้ได้

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)