กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

หวัดลงคอ / โรคหวัดภูมิแพ้ / โรคภูมิแพ้อากาศ

หวัดลงคอ แสบคอ เจ็บคอ มีเสมหะ เสียงแหบ เสียงหาย ไอไม่หยุด ไม่มีเสียง เกิดจากอะไร? อาการหวัดลงคอ มีอะไรบ้าง? วิธีรักษาหวัดลงคอ เป็นอย่างไร ต้องกินยาอะไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
หวัดลงคอ / โรคหวัดภูมิแพ้ / โรคภูมิแพ้อากาศ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคหวัดลงคอ เป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) เกิดจากเยื่อบุจมูกไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าคนทั่วไป
  • โรคหวัดลงคอ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ มีอาการเฉพาะช่วง และมีอาการตลอดทั้งปี ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแพ้ตลอดทั้งปี และมีอาการแย่ลงเมื่ออยู่ในช่วงที่สารก่อภูมิแพ้ในอากาศมีปริมาณมาก
  • อาการของโรคหวัดลงคอจะเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น คันจมูก หายใจไม่สะดวก น้ำมูกไหล และไอบ่อยๆ
  • สารก่อภูมิแพ้ในอากาศที่คนส่วนมากแพ้ ได้แก่ ไรฝุ่น สปอร์ของเชื้อรา เกสรดอกไม้ และวัชพืช ส่วนสารก่อภูมิแพ้ภายในบ้าน เช่น ไรฝุ่น รังแคสัตว์ ขนสัตว์ และแมลงสาบ
  • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุ สามารถป้องกันไม่ให้อาการแพ้กำเริบได้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ได้ที่นี่)

โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis) หรือมีอีกชื่อที่คุ้นเคยกันดีอย่าง โรคหวัดลงคอ หรือโรคหวัดภูมิแพ้ จัดเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเยื่อบุจมูกสัมผัสสารก่อภูมิแพ้เป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งอักเสบ และเกิดอาการของโรคขึ้น

ผู้ป่วยมักมีอาการคันจมูก คัดจมูก หายใจไม่สะดวก น้ำมูกไหล และอาจกระแอมไอบ่อยๆ เนื่องจากมีน้ำมูกไหลลงคอ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

โรคนี้พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย มีอาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรังเป็นเดือนเป็นปี น่ารำคาญ แต่ก็ไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง

ประเภทของโรคหวัดลงคอ

โรคหวัดลงคอเหมือนกับอาการของโรคภูมิแพ้อื่นๆ เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไวในการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ซึ่งปกติแล้วสารก่อภูมิแพ้นี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหาในคนส่วนใหญ่ แต่จะส่งผลต่อคนที่เป็นโรคภูมิแพ้

โรคหวัดลงคอ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ชนิดมีอาการเฉพาะช่วง (Seasonal) 

ผู้ป่วยหวัดลงคอจะมีอาการในช่วงเวลาที่มีสารก่อภูมิแพ้ในอากาศมาก คือมีอาการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือฤดูใดฤดูหนึ่งเท่านั้น โดยพบว่า ผู้ป่วยมักมีอาการในฤดูใบไม้ผลิ 

สารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น สปอร์ของเชื้อรา เกสรหญ้า ดอกไม้ และวัชพืช  

2. ชนิดมีอาการตลอดทั้งปี (Perennial) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

โรคหวัดลงคอชนิดมีอาการตลอดทั้งปี มักมีสาเหตุมากการแพ้ตัวไรฝุ่น ขนสัตว์ รังแคสัตว์ แมลงสาบ หรือเชื้อรา ส่วนอาการแพ้อาหารนั้นพบได้น้อย

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของหวัดลงคอทั้ง 2 ประเภท คือ มีอาการตลอดทั้งปี แต่จะมีอาการแย่ลงเมื่อต้องอยู่ในฤดูกาลที่มีเกสรดอกไม้ปริมาณมากในอากาศ หรือบางทีอาการหวัดลงคอที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากการแพ้ แต่เป็นสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เสนอการแบ่งชนิดของโรคหวัดลงคอแบบใหม่เป็น 2 ชนิดคือ

  1. Intermittent หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการหวัดลงคอเป็นบางครั้งโดยมีอาการน้อยกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันน้อยกว่า 4 สัปดาห์ 
  2. Persistent หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการหวัดลงคอตลอดเวลาโดยมีอาการมากกว่า 4 วันต่อสัปดาห์ หรือมีอาการติดต่อกันมากกว่า 4 สัปดาห์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหวัดลงคอ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหวัดลงคออาจเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน ดังนี้

1. กรรมพันธุ์ หรือพันธุกรรม 

หากพ่อ หรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือหวัดลงคอ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 50% แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 70%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. สิ่งแวดล้อมทั้งภายในบ้าน และนอกบ้าน 

ฝุ่นละอองจากสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ทั้งภายในบ้านแ ละนอกบ้าน เช่น ไรฝุ่น ฝุ่นบ้าน นุ่น ของเสียที่ขับออกจากตัวไรฝุ่น สัตว์เลี้ยงต่างๆ ขนสัตว์ แมลงสาบ เชื้อราในอากาศและในดิน เกสรของหญ้า ดอกไม้ พืชบางชนิด หรือต้นไม้ เชื้อราในอากาศ 

3. มลภาวะในอากาศ 

เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ฝุ่นจากการก่อสร้าง หรือยากันยุง

4. บุหรี่ 

ในควันบุหรี่ประกอบด้วยสารพิษหลายชนิด ซึ่งมีทั้งสารก่อมะเร็งและสารก่อความระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ 

โดยพบว่า ควันบุหรี่ที่ออกมาจากผู้สูบบุหรี่ หรือที่เรียกว่าการสูบบุหรี่มือสอง (Passive smoking) นั้นมีปริมาณสารพิษในควันบุหรี่มากกว่าควันที่ตัวผู้สูบบุหรี่สูบเข้าไปโดยตรงถึง 3-40 เท่า 

ดังนั้น เด็กที่มีผู้ปกครองสูบบุหรี่ในบ้าน โดยเฉพาะเมื่อแม่เด็กเป็นผู้สูบ จะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ และโรคหอบหืดมากกว่าเด็กปกติถึง 2 เท่า 

ส่วนผู้ที่สูบบุหรี่เองก็จะมีแอนติเจน lgE ในร่างกายสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ หรือภูมิแพ้กำเริบมากตามไปด้วย ฉะนั้นผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้จึงควรงดสูบบุหรี่ด้วย

กลไกการเกิดอาการแพ้

เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าเซลล์มาสต์ (Mast cell) จะปล่อยสารเคมีออกมาทำให้เยื่อจมูกอักเสบ 

โดยระยะแรกจะมีแอนติเจนชื่อว่าแมคโคฟาจ (Macrophage) เข้าสู่เซลล์และกระตุ้นลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ให้สร้างอิมมูโนโกลบูลินอี (Immunoglobulin E: IgE) เพื่อไปจับกับเซลล์มาสต์ที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ในจมูก ผิวหนัง ทางเดินอาหาร เป็นต้น 

ในระยะนี้ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการ แต่ต่อมาเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดิม สารดังกล่าวจะไปจับกับ IgE บนเซลล์มาสต์ ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เซลล์มาสต์ปล่อยสารเคมีออกมา เช่น ฮีสตามีน ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว ผู้ป่วยจึงมีเยื่อบุจมูกบวม และมีน้ำมูกมาก 

นอกจากนี้สารดังกล่าวยังไปกระตุ้นปลายประสาท ทำให้เกิดอาการจาม และคัดจมูก ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

ผลกระทบจากโรคหวัดลงคอ

แม้โรคหวัดลงคอจะไม่ทำให้เกิดภาวะอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง แต่ก็น่ารำคาญและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อย ผู้ป่วยอาจพบปัญหาต่อไปนี้

  • ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน
  • ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • ความสามารถในการตัดสินใจลดน้อยลง
  • การประสานงานกันระหว่างตา และมือแย่ลง
  • รู้สึกหงุดหงิด
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
  • อ่อนเพลีย
  • อาจมีอาการหนักถึงขั้นต้องขาดเรียนหรือขาดงาน
  • เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุขณะเรียน หรือขณะทำงานมากขึ้น

ผู้ปกครองของเด็กที่เป็นหวัดลงคอให้ข้อมูลว่า เด็กเล็กจะมีอารมณ์หงุดหงิด เจ้าอารมณ์มากกว่าปกติในช่วงฤดูที่มีอาการภูมิแพ้ เนื่องจากเด็กๆ ไม่สามารถบอกอาการได้ทางวาจา แต่จะพยายามแสดงออกด้วยท่าทางที่บ่งบอกว่า รู้สึกไม่สบายขณะอยู่ที่โรงเรียน และที่บ้าน 

นอกจากนี้ อาการหงุดหงิดและอาการจากหวัดลงคออื่นๆ ที่เกี่ยวกับกับหู จมูก และลำคอ อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่า เป็นโรคสมาธิสั้นได้

อย่างไรก็ตาม หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็จะสามารถควบคุมอาการหวัดลงคอของเด็ก และช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการเรียนและปัญหาด้านพฤติกรรมได้

การวินิจฉัยโรคหวัดลงคอ

เพื่อค้นหาวิธีรักษาอาการจากโรคหวัดลงคอที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ 

โดยแพทย์จะรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามอาการของคุณ และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน คุณจะถูกถามคำถามหลายคำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และที่ทำงาน สัตว์เลี้ยง นิสัยการรับประทานอาหาร ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว ไปจนถึงความถี่ และความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น 

ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่ช่วยระบุสาเหตุของอาการหวัดลงคอได้ 

หลังจากการสอบถามอาการของผู้ป่วยโรคนี้ อาจพบว่ามีประวัติอาการเป็นหวัด คัดจมูก จามบ่อย มีน้ำมูกลักษณะใสๆ รวมทั้งอาจมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ หรือตัวผู้ป่วยเองมีประวัติโรคภูมิแพ้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

จากนั้นแพทย์อาจตรวจร่างกาย ตรวจตา โดยผู้ป่วยโรคแพ้อากาศจะมีอาการคันตา เคืองตา และตาแดง รวมทั้งตรวจพบว่า มีเยื่อจมูกบวมและซีดหรือเป็นสีม่วงอ่อนๆ ต่างจากโรคไข้หวัดหรือไซนัสอักเสบที่เยื่อจมูกจะมีลักษณะบวมและออกสีแดง 

นอกจากนี้มักพบน้ำมูกลักษณะใสๆ บางคนอาจมีเยื่อตาขาวแดงเล็กน้อย 

นอกจากนี้คุณอาจต้องตรวจภูมิแพ้เพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่า อาการหวัดลงคอเกิดจากอะไร โดยทำได้ 3 วิธี คือ

1. การทดสอบทางผิวหนังแบบสะกิด (Skin Prick Test: SPT) 

เป็นการตรวจที่ง่าย สะดวก เสียค่าใช้จ่ายน้อย และมีความแม่นยำมาก ทำโดยใช้น้ำยาที่สกัดจากสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิดหยดบนผิวหนังบริเวณท้องแขนแล้วใช้เข็ม หรืออุปกรณ์พิเศษสะกิดให้น้ำยาซึมลงใต้ผิวหนัง

หากผู้ป่วยมีอาการแพ้สารนั้น ก็จะเกิดรอยบวมแดงขึ้นภายใน 15-30 นาที

2. การทดสอบใต้ผิวหนัง (Intradermal test)

เป็นการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ต้องการทดสอบปริมาณเล็กน้อยเข้าสู่ใต้ผิวหนังโดยใช้เข็มขนาดเล็ก ซึ่งจะสังเกตผลได้หลังจากฉีดประมาณ 20 นาที

3. ตรวจเลือด (Blood test) 

ข้อดีคือไม่ทำให้เกิดการแพ้ และสามารถตรวจขณะที่มีผื่นแพ้ได้ด้วย โดยแล็ปที่ตรวจต้องมีมาตรฐาน 

อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจพบว่า โรคหวัดลงคอที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากสภาวะทางการแพทย์ต่างๆ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated septum) ซึ่งเป็นอาการการโค้งงอของกระดูก และกระดูกอ่อนที่กั้นระหว่างรูจมูกสองข้าง 

หรือเกิดจากการมีริดสีดวงจมูก (Nasal polyps) ซึ่งเป็นก้อนเนื้อที่เจริญขึ้นผิดปกติในโพรงจมูก หรือในไซนัส 

สาเหตุเหล่านี้จะทำให้อาการแย่ลงได้หากป่วยเป็นหวัด ส่วนใครที่มีอาการทางจมูกที่เกิดขึ้นจากปัญหามากกว่าหนึ่งปัญหา เช่น เป็นทั้งภูมิแพ้ และมีผนังกั้นช่องจมูกคด อาจทำให้รักษาได้ยาก 

โดยมักต้องอาศัยความร่วมมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นๆ เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก

วิธีดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคหวัดลงคอ

สิ่งแรกที่ผู้ป่วยโรคหวัดลงคอต้องทำคือการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่กระตุ้นให้เกิดอาการทุกชนิด โดยต้องปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมของตนเองและสภาพแวดล้อม 3 ข้อ ดังนี้

1. เลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ภายนอกอาคาร

  • แนะนำให้อยู่ภายในอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในฤดูที่มีเกสรดอกไม้ปริมาณมาก โดยเฉพาะในช่วงสายและช่วงเย็น หรือเมื่อมีลมพัดเอาเกสรดอกไม้มา
  • สวมหน้ากากชนิด N95 เมื่อต้องตัดหญ้าในสนามหญ้า กวาดใบไหม้ หรือทำสวน และอาจต้องรับประทานยาแก้แพ้ก่อนการทำกิจกรรมดังกล่าวด้วย
  • พยายามไม่ขยี้ตา เพราะจะทำให้ระคายเคืองที่ตาและทำให้อาการแย่ลงได้

2. เลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ภายในอาคาร

  • พยายามปิดหน้าต่าง เปลี่ยนมาใช้เครื่องปรับอากาศในรถยนต์ และในบ้านแทน และควรทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ
  • ลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่นโดยเฉพาะในที่นอน ด้วยการใช้ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้านวม ที่นอน ผ้าปูที่นอนสำหรับกันไรฝุ่น และทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนอย่างน้อย 54.4 องศาเซลเซียสเป็นประจำ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนไปใช้เตียงนอนที่ไม่มีขา
  • ทำความสะอาดสถานที่อยู่อาศัยเป็นประจำเพื่อไม่ให้ฝุ่นค้างอยู่นานจนเกิดตัวไรฝุ่นขึ้น 
  • หากผู้ป่วยแพ้เชื้อราในดิน ไม่ควรกระถางต้นไม้ไว้ในบ้าน และเวลาดูแลสวนหรือรดน้ำพรวนดินควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้เข้าจมูก 

3. เลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง

  • ล้างมือทันทีหลังจากสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง ซักเสื้อผ้าหลังจากไปพบเพื่อนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง
  • ถ้าคุณแพ้สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน ให้นำสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าสัตว์เลี้ยงต้องอยู่ในบ้านจริงๆ ก็ให้อยู่นอกห้องนอนของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ขณะนอนหลับ

การรักษาโรคหวัดลงคอ

หากหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ หรือปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ตามคำแนะนำข้างต้นแล้วอาการหวัดลงคอยังไม่ดีขึ้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้อาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการแพ้ เช่น 

อย่างไรก็ตาม วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุดก็ยังเป็นการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เพื่อป้องกันอาการแพ้กำเริบอยู่ดี

ถึงแม้โรคหวัดลงคอจะยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่ก็มีวิธีป้องกันไม่ให้อาการแพ้กำเริบบ่อยๆ ได้ เช่น ทำความสะอาดห้องนอนเป็นประจำ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ แต่หากไม่รู้ว่า แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด การตรวจภูมิแพ้อาจให้คำตอบได้

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treatment-Allergic rhinitis (https://www.nhs.uk/conditions/allergic-rhinitis/treatment/), 20 February 2019
Michael D.Seidman. Clinical practice guideline: Allergi rhinitis. American academy of otolaryngology-head and neck surgery 2015; 152: 1-43

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)