ยาพ่นจมูกสำหรับอาการภูมิแพ้

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาพ่นจมูกสำหรับอาการภูมิแพ้

ยาพ่นจมูกสำหรับอาการภูมิแพ้นั้น แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ตามกลไกการออกฤทธิ์ของยา ได้แก่กลุ่ม anticholinergic antihistamine decongestant mast cell inhibitor และ corticosteroid

ยาพ่นจมูกสำหรับภูมิแพ้ มีอะไรบ้าง?

1. ยากลุ่ม anticholinergic

ได้แก่ ยาพ่นจมูกไอปราโทเปียม โบรไมด์ (ipratropium bromide) กลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งการผลิตน้ำมูก ป้องกันการไหลของน้ำมูก ยาชนิดพ่นจมูกมีข้อบ่งช้ำสำหรับอาการน้ำมูกไหลที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ ขนาดใช้คือ พ่นเข้ารูจมูกแต่ละข้าง 2 ถึง 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 4 วัน หากเป็นอาการน้ำมูกไหลร่วมกับโรคหวัดธรรมดา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ได้แก่ อาการแห้ง ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปัสาวะขัด อาการอื่นๆ เช่น หัวใจเต็นเร็ว วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่มีอาการแพ้ยา ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิด ซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) ยากลุ่มนี้อยู่ใน category B ตามการจัดแบ่งของ US FDA ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ในหญิงตั้งครรภ์

2. ยากลุ่ม antihistamine

ได้แก่ ยาพ่นจมูกอะซีลาสทีน (azelastine) กลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งตัวรับฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารตัวกลางตอบสนองต่อการแพ้เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ และยับยั้งการหลั่งของสารตัวกลางก่อการอักเสบจากมาสท์เซลล์ (mast cell) ยาชนิดพ่นจมูกมีข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อจมูกอักเสบ ขนาดใช้คือ พ่นเข้ารูจมูกแต่ละข้าง 2 ครั้งต่อวัน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ได้แก่ ระคายเคืองจมูก รู้สึกคันจมูก จาม เลือดกำเดาไหล อาการอื่นๆ เช่น วิงเวียนศีรษะ รบกวนการรับรู้รส ปากแห้ง ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่มีอาการแพ้ยา ควรระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ยากลุ่มนี้อยู่ใน category C ตามการจัดแบ่งของ US FDA ยาค่อนข้างไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับการใช้ยาในกรณีตั้งครรภ์

3. ยากลุ่ม decongestant

ได้แก่ ยาพ่นจมูกออกซีเมทาโซลีน (oxymetazoline) กลไกการออกฤทธิ์คือ ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบซิมพาเทติกโดยตรง ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก ลดการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก ยาชนิดพ่นจมูกมีข้อบ่งใช้สำหรับอาการคัดจมูก ขนาดใช้คือ พ่นเข้าจมูกแต่ละข้าง 1 ถึง 3 ครั้ง จำนวน 2 ครั้งต่อวัน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ได้แก่ รู้สึกแสบจมูก ระคายเคือง จาม ปากและคอแห้ง ไม่ควรใช้ยาพ่นจมูกชนิดนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเนื่องจากจะทำให้เกิด rebound congestion คือทำให้อาการคัดจมูกกลับมาเป็นรุนแรงยิ่งขึ้น อาการอื่นๆ เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ รู้สึกกังวล หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะ ไม่ควรใช้ยาในผู้ป่วยต้อหิน ผู้ป่วยไฮเปอร์ไธรอยด์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี  ควรระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ยากลุ่มนี้อยู่ใน category C ตามการจัดแบ่งของ US FDA ยาค่อนข้างไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับการใช้ยาในกรณีตั้งครรภ์

4. ยากลุ่ม mast cell inhibitor

ได้แก่ ยาพ่นจมูกโครโมลิน โซเดียม (cromolyn sodium) กลไกการออกฤทธิ์คือ ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของมาสต์เซลล์ในการปลดปล่อยฮีสตามีน ลิวโคไตรอีน (leukotriene) ซึ่งเป็นสารตัวกลางก่อการแพ้ ยาชนิดพ่นจมูกมีข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ขนาดใช้คือ พ่นเข้ารูจมูกแต่ละข้าง 4 ครั้งต่อวัน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ได้แก่ ระคายเคืองจมูก จาม ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่มีอาการแพ้ยา ควรระวังการใช้ยาหญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยโรคตับหรือโรคไต ยากลุ่มนี้อยู่ใน category B ตามการจัดแบ่งของ US FDA ยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ในหญิงตั้งครรภ์

5. ยากลุ่ม steroid

ได้แก่ ยาพ่นจมูกโมเมทาโซน (mometasone) บูเดโซไนด์ (budesonide) ฟลูติคาโซน (fluticasone) ไตรแอมซิโนโลน (triamcinolone) กลไกการออกฤทธิ์ คือสเตียรอยด์กดการสร้าง การปล่อย และการทำงานของตัวกลางก่อการอักเสบ ได้แก่ ไคนิน (kinins) ฮิสตามีน (histamine) พรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) ยาชนิดพ่นจมูกมีข้อบ่งใช้สำหรับเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ขนาดใช้คือ พ่นเข้ารูจมูกแต่ละข้าง 1-2 ครั้ง จำนวน 1 ถึง 2 ครั้งต่อวัน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ได้แก่ การเกิดฝ้าขาวจากการติดเชื้อในช่องปาก การกดภูมิคุ้มกัน มะเร็ง Kaposi sarcoma อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคต้อกระจกและต้อหิน โรคไธรอยด์ หรือมีการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบนที่ยังไม่ได้รับการรักษา ยากลุ่มนี้อยู่ใน category B และ C ตามการจัดแบ่งของ US FDA ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับการใช้ยาในกรณีตั้งครรภ์


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nasacort vs. Flonase: How Are They Different?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/allergies/nasacort-vs-flonase)
Fluticasone Nasal Spray Drug Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a695002.html)
Overview of Nasal Sprays for Allergies. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/nasal-sprays-for-allergies-83139)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม