กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Angioedema (โรคแองจิโออีดีมา)

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

โรคแองจิโออีดีมา คือการบวมของผิวหนังชั้นลึกที่เกิดขึ้นจากการสะสมกันของของเหลว อาการของแองจิโออีดีมาสามารถปรากฏบนตำแหน่งใดของร่างกายก็ได้ แต่อาการบวมมักจะเกิดขึ้นกับดวงตา ริมฝีปาก อวัยวะเพศ มือ หรือเท้า นอกจากนี้ผู้ป่วยหลายคนอาจประสบกับอาการของโรคลมพิษได้ด้วย ซึ่งจะมีอาการเป็นผื่นแดงคันขึ้นตามผิวหนัง

อาการของแองจิโออีดีมา

สัญญาณหลักของภาวะแองจิโออีดีมาคืออาการบวมที่เกิดขึ้นใต้ชั้นผิวหนัง โดยเกิดขึ้นเนื่องจากการสะสมกันของของเหลวที่ผิวหนังชั้นลึก ส่วนมากมักจะมีอาการขึ้นที่มือ เท้า ดวงตา ริมฝีปาก หรืออวัยวะเพศ และอาจเกิดขึ้นที่เยื่อบุของลำคอและลำไส้ได้ด้วย แต่ก็พบได้น้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการบวมมักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และมีความรุนแรงกว่าภาวะลมพิษมาก ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 วัน ก่อนจะมีอาการบวมปรากฏให้เห็น อาจมีอาการเจ็บแปลบคล้ายถูกเข็มแทงบริเวณนั้นได้ด้วย

การบวมของแองจิโอดีมามักจะไม่ก่อให้เกิดอาการคัน และผิวหนังจะมีสีปกติมาก แต่ผู้ป่วยแองจิโออีดีมาจากภูมิแพ้หรือที่ไม่ทราบสาเหตุอาจมีอาการลมพิษ ซึ่งจะทำให้ผิวหนังมีสีแดงและคันได้

นอกจากอาการบวมแล้ว แองจิโออีดีมายังสามารถก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ได้ เช่น รู้สึกร้อนหรือเจ็บปวดบริเวณที่บวม กลืนอาหารลำบาก มีเสียงหวีดแหลม ลิ้นบวมจนทำให้หายใจลำบาก และเยื่อบุตาบวม (ชั้นเซลล์ใสที่ปกคลุมส่วนตาขาว) จนกระทบต่อการมองเห็น

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นแองจิโออีดีมากลุ่มพันธุกรรมอาจมีอาการปวดท้องเนื่องจากการบวมขึ้นของกระเพาะอาหารและลำไส้ จนทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะบวม จนทำให้เกิดปัญหาการขับถ่าย

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการของโรคแองจิโออีดีมา แม้จะไม่มีอาการที่ส่งผลต่อการหายใจ หรือไม่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นแองจิโออีดีมามาก่อน โดยจำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบเพื่อให้แพทย์จำแนกประเภทแองจิโออีดีมาที่คุณเป็น

หากมีอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน ได้แก่ หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ลิ้นและคอบวม คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที และหากเคยได้รับยาฉีดอะดรีนาลีนอัตโนมัติมา คุณควรใช้ยานั้นกับผู้ป่วยในขณะรอความช่วยเหลือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของโรคแองจิโออีดีมา

สาเหตุของโรคแองจิโออีดีมาขึ้นอยู่กับประเภทของโรค ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภทหลัก ดังนี้

  1. แองจิโออีดีมาจากภูมิแพ้ เป็นการบวมที่เกิดจากปฏิกิริยาแพ้ของร่างกาย เช่น แพ้ถั่วลิสง และบางครั้งอาจเกิดขึ้นร่วมกับปฏิกิริยาแพ้รุนแรงเฉียบพลันด้วยก็ได้
  2. แองจิโออีดีมาที่หาสาเหตุไม่ได้ เป็นการบวมที่เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ อาจมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ความเครียดหรือการติดเชื้อก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด
  3. แองจิโออีดีมาจากการใช้ยา เป็นอาการบวมที่เป็นผลข้างเคียงของยาบางประเภท ซึ่งส่วนมากมักมาจากการใช้ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors
  4. แองจิโออีดีมาโดยกำเนิด เป็นการบวมที่เกิดขึ้นจากพันธุกรรมที่ผิดปกติที่ส่งต่อจากพ่อแม่

การวินิจฉัยภาวะแองจิโออีดีมา

แพทย์สามารถวินิจฉัยแองจิโออีดีมาได้จากการตรวจผิวหนังบริเวณที่มีอาการและสอบถามอาการ แต่ก็อาจมีการทดสอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตรวจเลือดหรือตรวจภูมิแพ้เพื่อใช้ชี้ชัดประเภทของแองจิโออีดีมา สำหรับแองจิโออีดีมาที่หาสาเหตุไม่ได้นั้นจะวินิจฉัยได้แน่ชัดก็ต่อเมื่อแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุได้

แองจิโออีดีมาแต่ละประเภทมีวิธีตรวจวินิจฉัยที่แตกต่างกันไป ดังนี้

แองจิโออีดีมาชนิดภูมิแพ้

แพทย์จะสอบถามว่ามีประวัติสัมผัสหรือถูกสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้หรือไม่ เช่น รับประทานถั่วหรือน้ำยาง และอาจสอบถามเกี่ยวกับประวัติภูมิแพ้ เช่น โรคลมพิษ หรือหอบหืด เนื่องจากผู้ที่เป็นภูมิแพ้มักจะมีภาวะภูมิแพ้แบบอื่นๆ ขึ้นมา

ให้คุณแจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่กำลังใช้อยู่ รวมไปถึงยาทั่วไปที่หาซื้อจากร้านขายยาอย่างยาแก้ปวด ยาเสริมสมุนไพร และวิตามิน เพื่อดูว่ามีแนวโน้มเกิดอาการแพ้จากการใช้ยาหรือไม่ นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำให้คุณจดบันทึกข้อมูลสิ่งเร้าต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดภูมิแพ้ขึ้น หรือจดบันทึกอาหารประจำวันหากสงสัยว่าคุณแพ้อาหารบางประเภท

ถ้าแพทย์คาดการณ์ว่าคุณเป็นภาวะแองจิโออีดีมาชนิดภูมิแพ้ คุณจะถูกส่งตัวไปพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้เพื่อรับการทดสอบเพิ่มเติม ได้แก่ การทดสอบสะกิดผิวหนังด้วยสารที่ต้องสงสัยว่าก่อให้เกิดภูมิแพ้ เพื่อดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น และการตรวจเลือด ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างเลือดไปทดสอบว่าภูมิคุ้มกันของคุณตอบสนองกับสิ่งเร้าต่างๆ อย่างไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แองจิโออีดีมาที่เกิดจากการใช้ยา

หากคุณกำลังใช้ยาที่มีผลก่อให้เกิดภาวะแองจิโออีดีมา แพทย์จะแนะนำให้คุณเลิกใช้ยาตัวดังกล่าวและจ่ายยาตัวใหม่ให้คุณแทน ทั้งนี้คุณไม่ควรหยุดยาใดๆ โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อนเด็ดขาด หากหลังหยุดยาแล้วอาการของภาวะแองจิโออีดีมาหายไป แพทย์จะสรุปว่าภาวะแองจิโออีดีมาของคุณเกิดจากยาเป็นต้นเหตุจริงๆ

แองจิโออีดีมาโดยกำเนิด

ภาวะแองจิโออีดีมาชนิดเป็นมาตั้งแต่กำเนิดสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบระดับโปรตีนควบคุมยีน C1-inh ซึ่งหากมีระดับโปรตีนตัวดังกล่าวต่ำจะสรุปได้ว่าคุณเป็นภาวะแองจิโออีดีมาโดยกำเนิด การวินิจฉัยและการจัดการกับภาวะแองจิโออีดีมาโดยกำเนิดต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น

แองจิโออีดีมาที่ไม่ทราบสาเหตุ

ภาวะแองจิโออีดีมาที่ไม่ทราบสาเหตุมักเป็นภาวะสุดท้ายแพทย์จะสรุปได้ ซึ่งหมายถึงว่าอาการและการวินิจฉัยต่างๆ ไม่เข้าข่ายภาวะแองจิโออีดีมาประเภทใดเลยข้างต้น ทั้งนี้แองจิโออีดีมาสามารถเชื่อมโยงไปยังปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้ เช่น ภาวะบกพร่องธาตุเหล็ก โรคตับ และปัญหาที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต้องทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบภาวะเหล่านี้ก่อน

การรักษาแองจิโออีดีมา

การภาวะแองจิโออีดีมาทำได้ด้วยการใช้ยาเป็นหลัก แต่ก็มีผู้ป่วยหลายรายที่จะหายจากภาวะนี้เองหลังจากมีอาการไม่กี่วัน แม้จะไม่ได้รับการรักษาใดๆ

สำหรับภาวะแองจิโออีดิมาจากภูมิแพ้กับที่ไม่ทราบสาเหตุนั้นมักจะมีวิธีรักษาแบบเดียวกัน คือ การผสมผสานระหว่างการใช้ยาต้านฮิสตามีนและยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อลดบวม ส่วนแองจิโออีดีมาจากการใช้ยามักจะรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนยาที่คนไข้ใช้อยู่ 

หากคุณเคยมีอาการของภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันระหว่างที่มีอาการแองจิโออีดิมา คุณจะได้รับยาฉีดอะดรินาลีนมาใช้ในกรณีที่มีอาการกลับมา

สุดท้ายคือภาวะแองจิโออีดิมาแต่กำเนิดที่ไม่สามารถรักษาและไม่ตอบสนองต่อยาอะดรีนาลีน ยาต้านฮิสตามีน หรือยาสเตียรอยด์ จึงจะมีการใช้ยาหลายประเภทเพื่อคงระดับโปรตีนในเลือดไว้ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการขึ้นมา

ยาต้านฮิสตามีน

ยาต้านฮิสตามีนมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของโปรตีนที่เรียกว่าฮิสตามีนที่เป็นสารเคมีที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้ผิวหนังของคุณบวมออก แพทย์มักใช้ยาฮิสตามีนที่ไม่มีผลข้างเคียงเป็นการกล่อมประสาทติดกัน 2 สัปดาห์ ซึ่งมีทั้งยาเฟโซเฟนาดิน และยาเซทิริซิน โดยยาเซทิริซินนั้นสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาและร้านค้าทั่วไปโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา

ยาต้านฮิสตามีนสามารถให้ในรูปแบบของยาฉีดตามโรงพยาบาลหรือจากแพทย์ผู้ดูแลก็ได้ หากคุณมีอาการของโรคลมพิษและมีอาการคันที่รบกวนการนอน แพทย์จะจ่ายยาต้านฮิสตามีนประเภทเก่าให้คุณใช้ก่อนเข้านอน ซึ่งยาดังกล่าวจะมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอน ซึ่งจะช่วยทำให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น

ถึงอย่างนั้นก็มีคนบางส่วนที่ใช้ยาต้านฮิสตามีนประเภทใหม่แล้วมีอาการง่วงนอนอยู่ หากคุณมีอาการง่วงนอน คุณควรเลี่ยงการขับรถ การดื่มแอลกอฮอล์  และการใช้งานเครื่องจักรหนักหรือเครื่องจักรที่มีความซับซ้อน

ผลข้างเคียงอื่นของยาต้านฮิสตามีนประเภทใหม่ ได้แก่ ปวดศีรษะ ปากแห้ง จมูกแห้ง ซึ่งมักเป็นผลข้างเคียงข้างต้นระยะเวลาสั้น และจะหายไปเองอย่างรวดเร็ว

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ทำงานด้วยการยับยั้งกิจกรรมของระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนมากแพทย์จะให้ใช้ยาเม็ดคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นเวลา 3-5 วัน และยาที่มักใช้กันมากที่สุดคือยาเพรดนิโซโลน

ผลข้างเคียงของยาเพรดนิโซโลน ได้แก่ คลื่นไส้ ปวดท้อง เหนื่อย มีผื่นในช่องปาก ติดเชื้อราในช่องปาก และวิงเวียนศีรษะ หากรู้สึกวิงเวียนหลังใช้ยาเพรดนิโซโลน ให้เลี่ยงการขับรถหรือใช้งานเครื่องจักรหนักไปก่อนจนกว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะหายไป

ในกรณีที่ป่วยเป็นแองจิโออีดิมารุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การฉีดสเตียรอยด์แทน ซึ่งต้องดำเนินการตามโรงพยาบาลหรือคลีนิกเฉพาะทางด้านภูมิแพ้เท่านั้น

ยาดานาโซล

ดานาโซลเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ป้องกันอาการของแองจิโออีดีมาด้วยการเพิ่มระดับโปรตีน C1-inh ขึ้น แต่ยาดาลาโซลก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่างด้วยกันหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ภาวะซึมเศร้า ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนขาด ความดันโลหิตสูง สำหรับผู้หญิงอาจมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชาย เช่น มีขนตามร่างกายขึ้น หน้าอกแบนลง เสียงทุ้มขึ้นเล็กน้อย และมีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น  

ผลข้างเคียงเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยภาวะแองจิโออีดีมาชนิดเป็นมาแต่กำเนิดหลายคนไม่มั่นใจกับการใช้ยาดานาโซลในการรักษาระยะยาว จึงมักหันไปเลือกใช้ยาสตาโนโซโลลที่เป็นยาที่คล้ายกันแต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า

กรดทราเนซามิก

กรดทราเนซามิกเป็นยาใช้รักษาแทนการใช้ยาดานาโซล มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับดานาโซล แต่ไม่มีผลข้างเคียงที่น่ากังวลเท่า และเป็นยาที่มักแนะนำให้ผู้หญิงใช้

Icatibant

ยา Icatibant เป็นยาที่ค่อนข้างใหม่ ใช้รักษาอาการบวมเฉียบพลัน โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งผลของสารเคมีบางตัวที่มีผลให้เกิดอาการบวมขึ้น ในกรณีของภาวะแองจิโออีดีมาชนิดเป็นมากำเนิด ยานี้จะให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังและอาจต้องมีการฉีดครั้งที่สองด้วย

ยา Icatibant อาจมีผลข้างเคียงให้เกิดปฏิกิริยาบนผิวหนังบริเวณที่ถูกฉีดยา เช่น เกิดความเจ็บปวด แดง บวม หรือคัน หรือเกิดอาการคันที่ผิวหนังตำแหน่งอื่น และวิงเวียนศีรษะ

C1-inhibitors Purified C1-inhibitor concentrate เป็นยาที่ใช้ทดแทนโปรตีนที่หายไปในเลือด แพทย์จะให้ยานี้กับผู้ป่วยก่อนเข้าผ่าตัด เพื่อป้องกันผลกระทบจากการกระทบกระเทือนที่เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัด อีกทั้งเป็นยาที่รักษาอาการเฉียบพลันและต้องทำการฉีดเข้าเส้นเลือดโดยตรง

ผู้ป่วยหลายคนต้องสำรองยาตัวนี้ไว้ที่บ้านเผื่อกรณีฉุกเฉินต่างๆ ทั้งนี้การใช้ยา Icatibant กับ C1-inhibitor concentrate จะต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันเท่านั้น


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Angioedema (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3651192/), 2008 Jun 15
nhs.uk, Angioedema (https://www.nhs.uk/conditions/angioedema/causes/), 28 August 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)