Dextromethorphan (เดกซ์โตรมีธอร์แฟน)

ยากดอาการไอที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม รวมถึงส่งผลทางจิต
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Dextromethorphan (เดกซ์โตรมีธอร์แฟน)

เดกซ์โตรมีธอร์แฟน เป็นยาที่มีโครงสร้างในกลุ่มมอร์ฟีแนน (Morphinan) ที่มีฤทธิ์ง่วงซึม อาการทางจิต (Dissociative) และฤทธิ์กระตุ้น (Stimulant) เมื่อใช้ในขนาดสูง เป็นยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ ใช้สำหรับในผู้ป่วยโรคหวัดที่มีอาการไอ มีการใช้ในการรักษาที่หลากหลายตั้งแต่ใช้ในการบรรเทาอาการปวด (ทั้งใช้ในรูปแบบยาแก้ปวด และใช้เป็นยาเสริมฤทธิ์ของโอพิออยด์ (Opioid)) จนถึงใช้ในการรักษาอาการติดยา (Addiction) ยามีความจำหน่ายมีรูปแบบยาน้ำเชื่อม ยาเดกซ์โตรมีธอร์แฟน เป็นยาที่มักมีการใช้ในทางที่ผิด คือใช้ในขนาดเกินกว่าที่แนะนำ ทำให้เกิดภาวะ Aissociative anesthesia ข้อบ่งใช้หลัก คือ ใช้เป็นยาหลักในการกดอาการไอ มีการใช้เดกซ์โตรมีธอร์แฟนในผู้ป่วยอาการทางจิต ในปี ค.ศ. 2010 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริการมีการรับรองการใช้ยาเดกซ์โตรมีธอร์แฟนร่วมกับยาควินิดีน (Quinidine) ในการรักษาภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่ (Pseudobulbar effect) และในปี ค.ศ. 2016 มีการศึกษาการใช้ยาเดกซ์โตรมีธอร์แฟน ร่วมกับพรีกาบาลิน (Pregabalin) อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) และนาพรอกเซน (Naproxen) ว่าสามารถลดอาการปวดหลังการผ่าตัดได้

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Dextromethorphan ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

ชื่อยา รูปแบบที่มีวางจำหน่าย ผู้ผลิต
A-Tussin - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม
- ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร
Osoth Interlab
Depan-F - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม MacroPhar
Dextromethorphan MacroPhar - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม MacroPhar
Dextroral - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม General Drugs House
Pusiran - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม Atlantic Lab
Strepsil Dry Cough - ยาอม ขนาด 5 มิลลิกรัม Reckitt Benkiser
Troatsil Dex - ยาอม ขนาด 5 มิลลิกรัม Millimed
Cetussin - ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุพงษ์เภสัช
Cortuss - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม Utopian
Dextramet - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด
Dextrodon - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม บริษัท แอคดอน จำกัด
Dextrosia - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม Siam Medicare
Icolid - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม
- ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร
- ยาอม ขนาด 5 มิลลิกรัม
Greater Pharma
Lohak - ยาเม็ด ขนาด 30 มิลลิกรัม T P Drugs Laboratories
Manodextro - ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร บริษัทโรงงานเภสัชกรรม แหลมทองการแพทย์ จำกัด
Polydex - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม บริษัท ฟาร์มาสันต์แล็บบอราตอรี่ส์ จำกัด
Potussan - ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร บริษัท ฟาร์มาสันต์แล็บบอราตอรี่ส์ จำกัด
Romilar - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม บริษัท อินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
Tussanyl - ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม Inpac Pharma
Tusacdon - ยาน้ำเชื่อม ความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร Acdon

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับกดอาการไอ

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Dextromethorphan

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เดกซ์โตรมีธอร์แฟน เป็นยาในกลุ่มกดอาการไอ ออกฤทธิ์ยับยั้งศูนย์ควบคุมการไอในระบบประสาทส่วนกลาง ผ่านการกระตุ้นตัวรับซิกมา (Sigma) ในสมองส่วนเมดัลลา (Medulla) เป็นผลให้เกิดการลดลงของความไวตัวรับการไอ และยังขัดขวางการส่งผ่านสัญญาณการไอในระบบประสาทส่วนกลาง

ข้อบ่งใช้ของยา Dextromethorphan

ข้อบ่งใช้สำหรับกดอาการไอ

  • ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 10 ถึง 20 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง หรือ 30 มิลลิกรัมทุก 6 ถึง 8 ชั่วโมง
  • ยาในรูปแบบ extended release ขนาด 60 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุด 120 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ยาในรูปแบบยาอม ไม่อมมากกว่า 10 เม็ดต่อวัน ขนาดการใช้ยาในเด็ก อายุ 4 ถึง 6 ปี ขนาด 2.5 ถึง 5 มิลลิกรัมทุก 4 ชั่วโมง หรือ 7.5 มิลลิกรัมทุก 6 ถึง 8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุด 30 มิลลิกรัมต่อวัน อายุมากกว่า 6 ปีถึง 12 ปี ขนาด 5 ถึง 10 มิลลิกรัมทุก 4 ชั่วโมง หรือ 15 มิลลิกรัม ทุก 6 ถึง 8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุด 60 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ใช้ขนาดยาแบบเดียวกับผู้ใหญ่ 

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Dextromethorphan

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Dextromethorphan

  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดระบบทางเดินหายใจล้มเหลว
  • ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการใช้ยากลุ่ม MAOI หรือ SSRI ในช่วง 14 วัน
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ 
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเอ็มไฟซีมา (Emphysema)
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหืด หรือในภาวะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการไอเรื้อรัง
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติการติดยาเสพติด
  • ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยานี้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Dextromethorphan

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อย ได้แก่ อาการมึนงง รบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ง่วงซึม สับสน ตื่นตัว ระคายเคือง กลุ่มอาการเซโรโทนิน กดระบบทางเดินหายใจ เกิดผลข้างเคียงต่อระบบผิวหนัง เช่น เกิดผื่น

ข้อมูลการใช้ยา Dextromethorphan ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Dextromethorphan

เก็บที่อุณหภูมิระหว่าง 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ป้องกันจากแสง

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dextromethorphan: Side Effects, Dosages, Treatment, Interactions, Warnings (https://www.rxlist.com/consumer_dextromethorphan/drugs-condition.htm)
Dextromethorphan Hbr Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing - WebMD (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-363/dextromethorphan-hbr-oral/details)
Dextromethorphan Uses, Dosage, Side Effects. Drugs.com. (https://www.drugs.com/dextromethorphan.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม