โซเดียมเป็นเกลือแร่ที่ช่วยคงสมดุลของน้ำภายในและรอบๆ เซลล์, ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้เป็นปกติและยังช่วยคงระดับของความดันโลหิตให้เหมาะสม
การมีโซเดียมในเลือดต่ำนั้นเกิดจากการที่น้ำและโซเดียมนั้นไม่สมดุลกัน คืออาจจะเกิดจากการที่มีน้ำมากเกินไปหรือมีโซเดียมน้อยเกินไป
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โดยทั่วไป ระดับโซเดียมในเลือดนั้นควรอยู่ระหว่าง 135-145 mEq/L ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำนั้นจึงเป็นการที่มีระดับโซเดียมในเลือดต่ำกว่า 135 mEq/L
อาการ
อาการของการมีโซเดียมในเลือดต่ำนั้นขึ้นกับแต่ละบุคคล หากระดับโซเดียมในเลือดนั้นค่อยๆ ลดลง อาจจะไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ ในขณะที่หากลดลงอย่างรวดเร็ว อาจจะมีอาการที่รุนแรงมากกว่า
การสูญเสียโซเดียมอย่างรวดเร็วนั้นถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ สามารถทำให้หมดสติ ชักและไม่รู้สึกตัวได้
อาการที่พบได้บ่อยของการมีโซเดียมในเลือดต่ำประกอบด้วย
- อ่อนแรง
- ไม่มีแรง
- ปวดหัว
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- กล้ามเนื้อเป็นตะคริวหรือหดตัว
- สับสน
- กระสับกระส่าย
สาเหตุ
มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ โดยอาจจะเกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุมากเกินไป หรืออาจจะเป็นอาการของโรคบางโณคได้
สาเหตุที่ทำให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำประกอบด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- อาเจียนหรือท้องเสียรุนแรง
- รับประทานยาบางชนิดเช่น ยาต้านเศร้าและยาแก้ปวด
- ทานยาขับปัสสาวะ
- ดื่มน้ำมากเกินไปในระหว่างที่ออกกำลังกาย (แต่พบได้น้อยมาก)
- ขาดน้ำ
- โรตไตหรือไตวาย
- โรคตับ
- มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเช่นหัวใจวาย
- มีความผิดปกติที่ต่อมหมวกไตเช่นโรค Addison’s ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมสมดุลระหว่างโซเดียม โพแทสเซียมและน้ำในร่างกายของต่อมหมวกไต
- ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
- ภาวะกระหายน้ำมาก
- การใช้ยาเสพติด
- Syndrome of inappropriate antidiuretic hormone (SIADH) ซึ่งทำให้ร่างกายนั้นมีสารน้ำในตัวเพิ่มขึ้น
- โรคเบาจืด ซึ่งเป็นโรคที่ร่างกายนั้นไม่มีการสร้างฮอร์โมนที่ขับน้ำออกจากร่างกาย
- Cushing’s syndrome เกิดจากการที่มีระดับ cortisol สูง
ปัจจัยเสี่ยง
มีหลายปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีระดับโซเดียมในเลือดต่ำ ซึ่งประกอบไปด้วย
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- การใช้ยาขับปัสสาวะ
- การใช้ยาต้านเศร้า
- การเป็นนักกีฬา
- การอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศร้อน
- การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ
- มีโรคหัวใจวาย โรคไต SIADH หรือโรคอื่นๆ
หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ คุณอาจจะต้องระมัดระวังในการรับประทานเกลือแร่และน้ำมากขึ้น
การวินิจฉัย
ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจเลือดซึ่งรวมอยู่ในการตรวจวัดระดับเกลือแร่อื่นๆ และสามารถช่วยวินิจฉัยในผู้ป่วยที่อาจจะไม่มีอาการได้
หากคุณมีระดับโซเดียมที่ผิดปกติ แพทย์จะมีการสั่งตรวจปัสสาวะเพิ่มเติมเพื่อดูปริมาณโซเดียมในปัสสาวะ การตรวจนี้จะช่วยระบุสาเหตุที่ทำให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำ
หากระดับโซเดียมในเลือดนั้นต่ำแต่ในปัสสาวะนั้นสูงแสดงว่าร่างกายกำลังขับโซเดียมออกมามากเกินไป
หากมีระดับโซเดียมในเลือดและปัสสาวะต่ำ แสดงว่าร่างกายได้รับโซเดียมใม่เพียงพอ หรืออาจจะหมายความว่ามีน้ำอยู่ภายในร่างกายมากเกินไป
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การรักษา
การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุ ซึ่งอาจจะประกอบด้วย
- การลดปริมาณสารน้ำที่รับประทาน
- การปรับขนาดยาขับปัสสาวะที่รับประทาน
- การรับประทานยาเพื่อรักษาอาการเช่นปวดหัว คลื่นไส้และชัก
- รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ
- การให้สารน้ำที่มีโซเดียมทางเส้นเลือดดำ
การป้องกัน
การดูแลให้มีสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายในระดับที่สมดุลนั้นสามารถช่วยป้องกันการมีระดับโซเดียมต่ำได้
หากคุณเป็นนักกีฬา อย่าลืมดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมระหว่างที่ออกกำลังกาย และอาจจะต้องเลือกรับประทานเครื่องดื่มเกลือแร่ ซึ่งมีโซเดียมอยู่ภายใน เครื่องดื่มนี้จะช่วยชดเชยโซเดียมที่สูญเสียไปผ่านทางเหงื่อ เครื่องดื่มเกลือแร่นี้อาจจะดีหากคุณมีการสูญเสียสารน้ำปริมาณมากผ่านการอาเจียนหรือท้องเสีย
ในเวลาปกติ ผู้หญิงควรจะดื่มน้ำให้ได้วันละ 2.2 ลิตรและผู้ชายควรดื่มน้ำ 3 ลิตรต่อวัน เวลาที่คุณดื่มน้ำเพียงพอ ปัสสาวะของคุณจะมีสีเหลืองจางหรือใสและไม่รู้สึกหิวน้ำ
คุณจำเป็นต้องดื่มน้ำเพิ่มขึ้นหาก
- อุณหภูมิสูงขึ้น
- อาศัยอยู่ในที่สูง
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- มีอาการอาเจียน
- มีอาการท้องเสีย
- มีไข้
- คุณไม่ควรดื่มน้ำมากกว่า 1 ลิตรต่อชั่วโมง และอย่าลืมว่าไม่สามารถดื่มน้ำจำนวนมากเร็วเกินไปเช่นกัน
ภาวะโซเดียมในเลือดสูง
ภาวะโซเดียมในเลือดสูงนั้นพบได้น้อย โดยจะเกิดเมื่อผู้ป่วยได้รับสารน้ำไม่เพียงพอจากการที่ไม่มีน้ำดื่มหรือกลไกเกี่ยวกับการกระหายน้ำนั้นผิดปกติ และมีส่วนหนึ่งที่เกิดจากการเป็นโรคเบาจืด ภาวะนี้จะเกิดเมื่อมีระดับโซเดียมในเลือดสูงกว่า 145 mEq/L
การมีระดับโซเดียมในเลือดสูงนั้นสามารถทำให้เกิดอาการต่อไปนี้
- สับสน
- กล้ามเนื้อและระบบประสาทตื่นตัวผิดปกติ
- ระบบการตอบสนองของร่างกายเร็วกว่าปกติ
- ชัก หมดสติ