กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Conjunctivitis (ตาแดง หรือเยื่อบุตาอักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

โรคตาแดงคืออะไร

โรคตาแดง (Conjunctivitis) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า "เยื่อบุตาอักเสบ" เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อลักษณะบางและใส ทำหน้าที่ปกคลุมส่วนตาขาวและพื้นผิวภายในของเปลือกตา ซึ่งการอักเสบของเยื่อบุตาบางชนิดสามารถติดต่อกันได้ และแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วด้วย ทำให้โรคตาแดงเป็นโรคที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จนเกิดเป็นพฤติกรรมเคยชินของหลายๆ คนที่เมื่อเห็นผู้ป่วยโรคตาแดง ก็จะไม่ยอมสบตาเพราะกลัวจะได้รับเชื้อไปด้วย ซึ่งความจริงแล้ว การติดต่อของโรคตาแดงนั้นไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสบตาแต่อย่างใด

ส่วนมากโรคตาแดงมักเกิดขึ้นที่ตาข้างเดียวก่อน จากนั้นจึงแพร่เชื้อไปที่ดวงตาอีกข้าง โรคตาแดงเป็นโรคตาที่เกิดขึ้นได้บ่อย แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็มักไม่ค่อยสร้างความเสียหายระยะยาวให้กับการมองเห็นของผู้ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของตาแดง

โรคตาแดง แบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่

  1. โรคตาแดงจากการติดเชื้อ: การอักเสบของโรคตาแดงมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุอาจมาจากพฤติกรรมไม่ดูแลความสะอาดให้กับดวงตา เช่น ชอบขยี้ตา ไม่ล้างมือ ใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่สะอาดหรือใช้ร่วมกับผู้อื่น นอกจากนี้ เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคตาแดงยังสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายด้วย โดยเชื้อแบคทีเรียที่มักเป็นสาเหตุของโรคตาแดง จะได้แก่ เชื้อแบคทีเรียสแตฟฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ส่วนเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคตาแดงซึ่งพบได้บ่อย คือ 
    1. อะดีโนไวรัส (Adenovirus) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ และโรคหวัด
    2. เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus) หรือเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเริม
    3. เชื้อไวรัสพิคอร์นา (Picorna viruses) เป็นเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ
  2. โรคตาแดงจากการแพ้: มักเกิดในผู้มีอาการแพ้ต่อสิ่งกระตุ้นบางอย่างมาก่อนแล้ว จนเมื่อได้ไปสัมผัสสิ่งกระตุ้นนั้นอีกครั้ง จึงทำให้เกิดกระบวนการแพ้ขึ้นบริเวณเยื่อบุตาจนเกิดโรคตาแดงขึ้น ซึ่งสิ่งกระตุ้นดังกล่าวมักจะถูกเรียกว่า "สารก่อภูมิแพ้" และในผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมีอาการแพ้ต่อสิ่งกระตุ้นที่แตกต่างกันไป เช่น อากาศตามฤดูกาล เกสรดอกไม้หรือดอกหญ้า ขนสัตว์ ไรฝุ่น 
  3. โรคตาแดงจากสิ่งระคายเคือง: เกิดจากมีสิ่งระคายเคืองจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเข้ามาสัมผัสกับเยื่อบุตาจนเกิดเป็นโรคตาแดง เช่น ควัน เขม่าไอเสียจากรถยนต์ มลภาวะทางอากาศ สบู่ สารทำความสะอาด สเปรย์จัดแต่งทรงผม เครื่องสำอาง และสารคลอรีนที่ใส่ในสระว่ายน้ำ

อาการของโรคตาแดง

โรคตาแดงสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้ง 2 ข้างหรืออาจเกิดขึ้นที่ดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง โดยจะมีอาการเกิดขึ้นต่อไปนี้

  • บริเวณตาขาวกลายเป็นสีชมพูหรือสีแดง
  • รู้สึกปวดตา โดยอาการปวดนี้จะรวมถึงอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน และรู้สึกระคายเคืองตาด้วย
  • มีหนองหรือมีของเหลวใสไหลออกมาจากตา ซึ่งอาจทำให้เปลือกตาบนและล่างติดกันเวลาตื่นนอนตอนเช้า
  • เปลือกตาบวม
  • มีน้ำตาไหลมากผิดปกติ
  • ตาแพ้แสง

นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ผู้ป่วยควรระวัง ซึ่งหากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เช่น คลื่นไส้ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส การมองเห็นผิดปกติไปจากเดิม 

การวินิจฉัยโรคตาแดง

แพทย์จะเริ่มการวินิจฉัยโรคตาแดงโดยการสอบถามเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นก่อน เช่น อาการคัน ปวด มีหนองไหลจากดวงตา มองเห็นไม่ชัด คัดจมูก มีไข้ หรือเจ็บคอ จากนั้นจะมีการตรวจดวงตาผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบพิเศษ เพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคตาแดงเพียงข้างเดียวหรือที่ตาทั้ง 2 ข้าง หากแพทย์สงสัยว่าอาการโรคตาแดงเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส แพทย์อาจใช้สำลีปลอดเชื้อเก็บตัวอย่างเชื้อหรือขี้ตาของผู้ป่วยเพื่อไปส่งตรวจ หรือเพื่อเพาะเชื้อในห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุของการอักเสบต่อไป 

การรักษาโรคตาแดง

วิธีการรักษาโรคตาแดงขึ้นอยู่กับสาเหตุว่าเกิดจากปัจจัยใด แล้วจะรักษาไปตามต้นเหตุของโรค

  • โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย: รักษาโดยการใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตาที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นภายใน 3-4 วัน 
  • โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส: การรักษาโรคจากสาเหตุนี้ยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะและต้องปล่อยให้อาการดีขึ้นเอง ซึ่งปกติมักใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจใช้การประคบร้อนและประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นด้วย หรือใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของยาต้านฮิสทามีน (Antihistamine) หรือใช้น้ำตาเทียมร่วมด้วยก็ได้ 
  • โรคตาแดงจากอาการแพ้: สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาแก้แพ้ และยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ แอสไพริน (Aspirin)
  • โรคตาแดงจากการระคายเคือง: สามารถรักษาได้โดยการล้างตาด้วยน้ำสะอาด ร่วมกับใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดงจากการสัมผัสสารเคมี หรือสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ตา

การป้องกันโรคตาแดง

โรคตาแดงมักมีสาเหตุมาจากอาการแพ้ หรือจากการระคายเคืองซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ หรือสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นและสิ่งสกปรกที่ทำให้เกิดโรคตาแดงได้ เช่น 

  • ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา
  • หมั่นเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวและผ้าเช็ดหน้าบ่อยๆ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของทั้ง 2 อย่างนี้ร่วมกับผู้อื่น
  • เปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น รวมถึงอุปกรณ์แต่งหน้า
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ เพื่อลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในรูปของโรคตาแดงได้
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระน้ำที่มีคลอรีนไม่สะอาดหรือไม่ได้มาตรฐาน
  • ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรทำความสะอาดคอนแทคเลนส์บ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น
  • อยู่ให้ห่างจากผู้ป่วยโรคตาแดงเพราะโรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อต่อหากันได้ง่าย
  • พกแว่นกันแดดติดตัวเมื่อออกไปข้างนอก เพื่อป้องกันดวงตาจากฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก

นอกจากข้อระมัดระวังดังกล่าว เรายังต้องหมั่นสังเกตอาการของโรคตาแดงที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และควรรักษาสุขอนามัยเกี่ยวกับดวงตาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคตาแดงและการแพร่เชื้อของโรคตาแดงด้วย


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pink eye (conjunctivitis) - Symptoms and causes - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pink-eye/symptoms-causes/syc-20376355)
Gary Heiting, OD, Conjunctivitis (Pinkeye) (https://www.allaboutvision.com/conditions/conjunctivitis.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ดวงตาสู้แสงไม่ได้ แสบตาบ่อยครั้ง อยากทราบจะเกิดโรคอะไรที่เกี่ยวกับตามั้ย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
รู้สึกว่าตาไม่สู้แสงอย่างแรงกล้า แม้แสงบางๆในยามเช้าก็ทำให้แสบตาได้ มีวิธีทำให้ตาแข็งแรงสู้แสงได้ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการระคายเคืองตาบ่อยๆสาเหตุเกิดจากอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ช่วงนี้สายตาไม่ค่อยดี เหมือนมีขี้ตา ตาแฉะเป็นครั้งคราวไม่ทราบว่าเป็นอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อยากรู้เกี่ยวกับกระจกตาอักเสบ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ม่านตาอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)