ภาวะแท้ง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยครั้งในสตรีตั้งครรภ์ช่วงแรก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก มีทั้งที่พบและไม่พบสาเหตุ
แต่ในปัจจุบัน ด้วยความรู้สมัยใหม่ และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบางสาเหตุของการแท้งก็สามารถตรวจพบได้แล้ว รวมถึงสามารถให้การป้องกันรักษาในกลุ่มเสี่ยงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะมีอาการผิดปกติด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ดังนั้นสตรีที่ตั้งครรภ์แล้ว หรือที่กำลังพยายามมีลูก จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับอาการแท้งในเบื้องต้น เพื่อจะได้รับการตรวจรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างทันท่วงที
ความหมายของภาวะแท้
ภาวะแท้ง ทางการแพทย์ให้คำจำกัดความไว้ว่า "การที่มีการยุติการตั้งครรภ์" ทั้งโดยเจตนาหรือโดยธรรมชาติ โดยตัวอ่อนที่ออกมาไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้
คำจัดความนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ และกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น องค์การอนามัยโรค และประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ว่า อายุครรภ์ของตัวอ่อนที่แท้งออกมาต้องน้อยกว่า 20 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 500 กรัม
ในขณะที่ระบบสาธารณสุขไทยกำหนดไว้ว่า อายุครรภ์จะต้องน้อยกว่า 28 สัปดาห์ จึงถือเป็นการแท้ง
สืบเนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างมาก ทำให้การตรวจเจาะค่าระดับฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ (hCG) และการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมในเกือบทุกสถานพยาบาล
แพทย์จึงวินิจฉัยภาวะแท้งในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้มากขึ้น เช่น ครรภ์ไข่ลม คือการที่มีการตั้งครรภ์ มีถุงการตั้งครรภ์ชัดเจน แต่ภายในถุงนั้นไม่มีตัวอ่อนของเด็ก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ในการตั้งครรภ์ โดยปกติจะแบ่งเป็นสามไตรมาสหลักๆ อันประกอบไปด้วย
- ไตรมาสที่หนึ่ง คือ ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์-13 สัปดาห์
- ไตรมาสที่สอง คือ ตั้งแต่ 13สัปดาห์-28 สัปดาห์
- ไตรมาสที่สาม คือ ตั้งแต่ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป
เนื่องจากภาวะแท้งนั้น ในประเทศไทยจะครอบคลุมทั้งในไตรมาสที่หนึ่ง และสอง แต่มากกว่า 80% จะพบมากในช่วงไตรมาสที่หนึ่ง ดังนั้นในที่นี้จะขอกล่าวถึงแต่การแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นหลัก
อุบัติการณ์การแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ในการศึกษาสตรีที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 5-20 สัปดาห์นั้น พบว่ามีอุบัติการณ์ของการเกิดการแท้งอยู่ที่ 11-22% และอุบัติการณ์การแท้งนี้จะมากขึ้นในอายุครรภ์ที่น้อยลง
ในบางการศึกษา พบถึง 33% ที่เป็นการแท้งในอายุครรภ์น้อยกว่า 5 สัปดาห์โดยไม่มีอาการผิดปกติ หรือในผู้ป่วยบางรายก็เข้าใจว่าเป็นเลือดประจำเดือนที่มาผิดปกติเล็กน้อยเท่านั้น
สาเหตุของการแท้ง
ปัจจัยที่อาจมีผลทำให้เกิดการแท้งนั้นแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่
1. ปัจจัยจากตัวทารก
มีการศึกษาพบว่า สาเหตุของการแท้งทั่วโลกเกินกว่าครึ่งหนึ่งเกิดจากความผิดปกติทางโครโมโซมของตัวทารกเอง
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โดยการแท้งที่อายุครรภ์น้อยๆ มักเกิดจากสาเหตุความผิดปกติของโครโมโซมนี้ มากกว่าการแท้งในอายุครรภ์มากๆ มากว่า 75% จะแท้งก่อนอายุครรภ์ครบ 8 สัปดาห์ และรูปแบบของโครโมโซมที่ผิดปกติมาที่สุดคือ คู่โครโมโซมเกินมามากผิดปกติ (Trisomy)
โดยหนึ่งในโรคที่คู่โครโมโซมเกินมากผิดปกตินั้นที่มักรู้จักกันดี คือ โรคดาวน์ซินโดรม โรคดังกล่าวนี้จะสัมพันธ์กับอายุของมารดาที่สูงขึ้นด้วย
2. ปัจจัยจากมารดา
ในการแท้งที่ตรวจพบว่าไม่มีความผิดปกติทางด้านโครโมโซมของทารกนั้น ในปัจจุบันการศึกษาก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่าโรคผิดปกติ หรือโรคประจำตัวต่างๆ ของมารดา รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาจจะส่งผลทำให้เกิดการแท้งได้
อุบัติการณ์ของภาวะแท้งดังกล่าวมักเกิดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
ปัจจัยจากมารดาที่ทำให้แท้ง ได้แก่
- การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือโปรโตซัว ทั้งจากการติดเชื้อทางกระแสเลือด หรือการลุกลามของเชื้อจากทางช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนอยู่ ก็อาจจะมีผลกระทบต่อตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ และนำมาซึ่งการแท้งได้
แม้ว่าการติดเชื้อที่นำมาซึ่งการแท้งนั้นจะพบได้น้อย และยากมาก ผู้ป่วยก็ควรเฝ้าระวัง และดูการให้แน่ชัด และรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถ้ามีอาการสงสัย - โรคประจำตัวของมารดา เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ทั้งที่เป็นก่อนตั้งครรภ์ หรือเริ่มเป็นตอนตั้งครรภ์ โรคอ้วน โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคประจำตัวอื่นๆ
เมื่อทราบว่า มีการตั้งครรภ์หรือระหว่างที่พยายามตั้งครรภ์ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาว่าจะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือไม่
ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว และรับประทานยาเป็นประจำก็ควรนำยา และประวัติการรักษาทั้งหมดมาให้แพทย์ที่จะฝากครรภ์ด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดภาวะที่ผิดปกติ หรือผลข้างเคียงของการตั้งครรภ์ได้อย่างทันท่วงที - มะเร็งในสตรี ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและทราบว่ามีการตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านมะเร็งและการฝากครรภ์ เพราะการรักษามะเร็งในหลายๆ วิธีอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ และนำมาซึ่งการแท้งได้ เช่น การฉายแสง การได้รับเคมีบำบัด
- อุบัติเหตุต่างๆ พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งในไตรมาสแรกน้อยมาก แต่ทั้งนี้ หากประสบอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันว่าไม่มีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์
- ความอ้วน จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือมีภาวะโรคอ้วนจะพบโอกาสเสี่ยงที่จะแท้งได้มากกว่าคนทั่วไป
- การใช้สารเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ในปริมาณมาก เพิ่มโอกาสเสี่ยงการแท้งได้
- การดื่มกาแฟ ในบางการศึกษาพบว่า ถ้าร่างกายได้รับคาเฟอีนปริมาณมาก ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงแท้งได้
- การสัมผัสสารพิษ หรือสารรังสีต่างๆ ก็อาจส่งผลทำให้เกิดการแท้งได้
3. ปัจจัยจากบิดา
อายุที่เพิ่มขึ้นของฝ่ายชาย ทำให้พบโอกาสเสี่ยงของการแท้งมากขึ้น โดยเชื่อว่า น่าจะมาจากโครโมโซมของสเปิร์มจากฝ่ายชายที่ผิดปกติ
จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 25 ปี โอกาสเสี่ยงแท้งของภรรยาจะต่ำ และโอกาสเสี่ยงดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปี
อาการที่บ่งบอกว่าอาจมีภาวะแท้ง
โดยปกติ การแท้งจะแบ่งเป็นชนิด ตามระยะของการแท้ง ดังนี้
1. การแท้งคุกคาม
มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยหลังจากการที่ตรวจภายในแล้ว ปากมดลูกยังปิดอยู่ และต้องแยกจากภาวะเลือดออกผิดปกติอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก
เช่น เลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน หรือการติดเชื้ออื่นๆ ในช่องคลอด เป็นต้น
ลักษณะเลือดที่ออกเมื่อแท้งคุกคามมักเป็นสีแดง อาจออกอยู่เป็นหลักวันจนถึงสัปดาห์ หรืออาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกไม่สบายเชิงกรานด้านล่าง เกร็ง ปวดหลัง
ภาวะแท้งคุกคามนี้ มีเกินครึ่งที่สามารถตั้งครรภ์คลอดต่อเนื่องจนทารกคลอดออกมาปกติ และบางส่วนที่อาการเลือดออกปวดท้องมากขึ้นจนกลายเป็นการแท้งจริงๆ ได้
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่เกิดการแท้งจริงๆ ตามมา ภาวะแท้งคุกคามดังกล่าวก็จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงภาวะผิดปกติอื่นๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด เพิ่มโอกาสการต้องผ่าตัดคลอด มีภาวะตกเลือด หรือต้องล้วงรกออกหลังคลอด ไปจนถึงอาจเกิดผลกระทบต่อทารกได้
เช่น ทารกน้ำหนักตกเกณฑ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด เป็นต้น
ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกหรือปวดท้อง ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเบื้องต้นอาจนอนพักติดเตียง หรือกินยาแก้ปวดเองก่อน
2. การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
จะมีลักษณะอาการคล้ายภาวะแท้งคุกคาม แต่หลังจากที่ตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยการตรวจภายในแล้ว จะพบว่าปากมดลูกมีการเปิด และหรือถุงการตั้งครรภ์กำลังจะหลุด แต่ยังไม่หลุดออกมา
การแท้งแบบนี้ไม่สามารถยับยั้งไม่ให้เป็นการแท้งจริงได้
3. การแท้งไม่ครบ
แท้งไม่ครบ จะมีอาการเลือดออกจากช่องคลอด และจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือมีเศษถุงการตั้งครรภ์ออกมาจากช่องคลอด แต่ออกมาไม่ครบทั้งถุงการตั้งครรภ์ ร่วมกับอาจจะมีอาการปวดเกร็งท้องได้
และถ้าผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวแล้วไม่ได้มารับการรักษาการตกเลือด ต่อไปอาจทำให้มีอาการวิงเวียนหน้ามืดจากการเสียเลือดมากได้
ภาวะแท้งไม่ครบดังกล่าวจะสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน ควบคู่กับการอัลตราซาวด์ว่ามีเศษถุงการตั้งครรภ์ค้างอยู่ในโพรงมดลูกอีกหรือไม่ และถ้ายังมีค้างอยู่ก็มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาอื่นๆ ต่อไป
4. การแท้งครบ
หมายถึง การแท้งที่ถุงการตั้งครรภ์ทั้งถุงหลุดลอกออกมาครบ ไม่เหลือเศษซากค้างในโพรงมดลูก
โดยปกติ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกและปวดมาก จนกระทั้งมีเศษซากถุงการตั้งครรภ์หลุดออกมาทั้งหมด อาการปวดและเลือดออกจึงเบาลง หรือในบางรายจะไม่เหลืออาการอะไรเลย
ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ หลังมีอาการที่สงสัยแท้งครบ ผู้ป่วยควรเก็บเศษชิ้นเนื้อที่ออกมาจากช่องคลอดใส่ถุงพลาสติก และรีบนำมาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและเลือกแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง
5. การแท้งค้าง
คือการที่ทารกในครรภ์เสียชีวิตเป็นเวลาหลายวันและปากมดลูกยังปิดอยู่ โดยปกติผู้ป่วยอาจไม่มีเลือดออก แต่อาจจะมีอาการรู้สึกไม่สบายบริเวณอุ้งเชิงกรานได้
การรักษาภาวะแท้ง
การรักษาภาวะแท้งนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของการแท้ง โดยการรักษาการแท้งคุกคามคือ การนอนพัก ส่วนการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนหรือยากันแท้ง ยังไม่พบว่ามีประโยชน์มากนักในการรักษาการแท้งชนิดนี้
การแท้งอื่นๆ เช่น การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การแท้งไม่ครบ หรือการแท้งค้าง สามารถรักษาได้ 3 แบบ การรักษาโดยการเฝ้าสังเกตอาการ การรักษาโดยการใช้ยา และการรักษาโดยการทำหัตถการ
การรักษาภาวะแท้งแต่ละแบบมีรายละเอียดดังนี้
1. การรักษาโดยการสังเกตการณ์
โดยปกติ การแท้งแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้และแท้งไม่ครบนั้น ถ้าใช้วิธีการรักษาแบบสังเกตการณ์เพียงอย่างเดียวโดยไม่รับการักษาอื่นๆ จะเกิดการแท้งครบได้เองแบบสมบูรณ์ 80% ภายในระยะเวลา 3 วัน
แต่โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังกลกับการเฝ้ารอ และในบางส่วนอาการก็อาจแย่ลงจนต้องได้รับการรักษาแบบอื่นอย่างฉุกเฉินได้
2. การรักษาโดยการใช้ยา
การใช้ยาเหน็บหรือรับประทาน แพทย์จะเป็นผู้เลือกให้ตามชนิด และอาการของการแท้ง
โดยปกติจะพิจารณาในรายที่ผู้ป่วยเป็นเพียงแค่แท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หรือแท้งค้าง หรือแท้งครบที่อาการตกเลือดเป็นไม่มาก
การรักษาดังกล่าวควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่แนะนำให้ใช้เองที่บ้าน เนื่องจากมีผู้ป่วยบางรายที่การรักษาด้วยยาไม่สำเร็จ หรือเศษซากถุงการตั้งครรภ์หลุดลอกไม่ครบ ต้องได้รับการรักษาโดยการทำหัตถการอื่นๆ ต่อ
การรักษาโดยการทำหัตถการนั้นแบ่งคร่าวๆ ได้ดังนี้
- การขยายปากมดลูก และทำการขูดหรือดูดโพรงมดลูก
- การผ่าตัดเปิดโพรงมดลูกเพื่อนำเศษชิ้นส่วนการตั้งครรภ์ออก
- การผ่าตัดมดลูก
การที่จะเลือกหัตถการที่เหมาะสม ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
แต่โดยปกติ วีธีที่นิยม และมักเลือกทำบ่อยๆ คือ การขยายปากมดลูกและทำการขูด หรือดูดโพรงมดลูก ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาเตรียมตัวไม่นานมาก หรือสามารถทำฉุกเฉินได้ทันที ระยะเวลาการทำสั้น ประมาณ 10-15 นาที พักฟื้นประมาณ 1-2 วัน
ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้จากการขูดมดลูก เช่น มดลูกทะลุ การติดเชื้อในโพรงมดลูก ซึ่งปกติก่อนและหลังทำจะมีการให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว หรือการเกิดพังพืดในโพรงมดลูก
การป้องกันภาวะแท้ง
สืบเนื่องจากสาเหตุของการแท้งตามที่กล่าวไปแล้ว ส่วนมากมักไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ฉะนั้นแนวทางในการป้องกันการเป็นหรือการแท้งซ้ำจึงยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัด อาจทำได้แค่เพียงปรับลดสาเหตุอื่นๆ ที่ทราบแน่ชัดแล้วเช่น
- ควรวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำให้ตั้งครรภ์ตอนที่อายุของมารดาไม่ควรเกิน 35 ปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของภาวะที่โครโมโซมของทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ
- ถ้าสตรีตั้งครรภ์ใดมีโรคประจำตัว หรือยารักษาประจำ ควรรีบแจ้งแพทย์ประจำที่ทำการตรวจรักษาโรคนั้นๆ เพื่อควบคุมอาการและยาที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการแท้งให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
- ควรรับการตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ และตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ตอนก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงระหว่างตั้งครรภ์แล้วด้วย เพื่อประเมินโรคแฝงอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และนำมาซึ่งการแท้งได้
- หากมีอาการผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ปวดท้อง เลือดออก ตกขาว หรือไข้ขึ้นสูง ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง
- รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ เน้นสุกสะอาด
- ห้ามใช้สารเสพติด งดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณจำกัดไม่ควรเกิน 5 แก้วต่อวัน
- ฝากครรภ์สม่ำเสมอ รับประทานยาบำรุงครรภ์ตามที่แพทย์สั่ง
- ควบคุมให้น้ำหนักไม่มาก หรือน้อยเกินไป และแต่ละครั้งที่ฝากครรภ์พยายามทำน้ำหนักให้ขึ้นตามเกณฑ์ไม่มากไปหรือน้อยไป
- ออกกำลังกาย ทำงานเบาๆ ได้ตามปกติ
- ในผู้ที่มีการแท้งบ่อยๆ มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจโรคแฝงอื่นๆ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป
การวางแผนครอบครัวถือเป็นเป้าหมายในชีวิตที่ใหญ่ที่สุดของใครหลายคน เพื่อให้คุณสามารถมีลูกน้อยได้อย่างปลอดภัย แม่และเด็กไม่มีภาวะแทรกซ้อน และร่างกายแข็งแรงดีกันทั้งคู่ คุณควรศึกษาปัจจัยที่เสี่ยงทำให้แท้ง รวมถึงวิธีป้องกันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสูญเสียนี้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ขอถามกรณีที่เราแท้งบุตร เราต้องดูแลสุขภาพยังไงค่ะและสามารถมีบุตรได้อีกใหมค่ะ