กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. ธนู โกมลไสย แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. ธนู โกมลไสย แพทย์ทั่วไป

โรคหัด

ทำความรู้จัก "โรคหัด" โรคระบาดที่เป็นอันตรายต่อคุณและลูกน้อย
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
โรคหัด

โรคหัดคืออะไร

โรคหัด (Measles) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีลักษณะเด่นคือ มีจุดเทาขาวในปาก และมีผื่นสีน้ำตาลแดงไล่จากบริเวณศีรษะ คอ แล้วลงมาที่ตัวจนก่อเกิดความรู้สึกไม่สบายตัวขึ้น แต่อาการก็มักจะหายไปเองภายใน 7-10 วันโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม แต่ในบางครั้ง โรคหัดก็อาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงกว่าซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

โรคหัดเป็นโรคที่พบเห็นได้มากในกลุ่มผู้ป่วยเด็กเล็ก และเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายเชื้อได้ทางอากาศ ทำให้ในหลายๆ ประเทศได้จัดตั้งนโยบายการจ่ายวัคซีนป้องกันโรคหัดให้กับเด็กทุกคน แต่อย่านิ่งนอนใจไป เพราะโรคหัดไม่ได้เกิดได้แค่กับผู้ป่วยเด็กเล็กเท่านั้น แต่ยังพบได้ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่เช่นกัน ซึ่งหากผู้ป่วยคนใดเคยเป็นโรคหัดมาแล้ว ร่างกายก็จะผลิตภูมิต้านทานไวรัสชนิดนี้ขึ้นมา และช่วยลดโอกาสที่จะทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคหัดอีกเป็นครั้งที่ 2 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีน MMR วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคหัดแพร่กระจายได้อย่างไร

ไวรัสโรคหัดจะอยู่ในละอองสารคัดหลั่งจากจมูกและปากของผู้ติดเชื้อ ทำให้ผู้อยู่ใกล้ชิดสามารถรับไวรัสเหล่านั้นได้จากการสูดอากาศที่มีละอองเหล่านี้เข้าไป หรือสัมผัสกับละอองบนพื้นผิวสิ่งของต่างๆ ก่อนที่จะนำมือซึ่งเปื้อนเชื้อไปเข้าใกล้จมูก หรือปากของตนเอง โดยเชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถมีชีวิตอยู่บนสิ่งของได้นานหลายชั่วโมง ผู้ป่วยโรคหัดจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เมื่อเริ่มมีอาการไปจนถึง 4 วันหลังจากเป็นผื่นขึ้นครั้งแรก

อาการของโรคหัด

1. อาการแรกเริ่มของโรคหัด

โรคหัดจะเริ่มด้วยอาการคล้ายกับโรคหวัด โดยอาการแรกเริ่มของโรคหัดที่จะเริ่มขึ้นประมาณ 10 วันหลังติดเชื้อ ซึ่งอาการในผู้ป่วยเด็กกับผู้ใหญ่จะไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก 

อาการหลักๆ ของผู้ป่วยโรคหัดที่พบได้ จะมีดังต่อไปนี้

หลังจากมีอาการเหล่านี้ไม่กี่วัน ผู้ป่วยจะเกิดผื่นสีน้ำตาลแดงขึ้น ซึ่งมักจะเริ่มจากบนศีรษะหรือบนคอ ก่อนที่จะลามลงไปทั่วร่างกาย 

2. ผื่นจากโรคหัด

ผื่นที่เกิดขึ้นจากโรคหัดจะเริ่มขึ้นประมาณ 2-4 วันหลังจากมีอาการแรกเริ่ม และจะค่อยๆ หายไปภายใน 1 สัปดาห์ และในระหว่างที่ผื่นปรากฏออกมา ผู้ป่วยมักจะรู้สึกไม่สบายตัวอย่างมากในช่วง 1-2 วันแรก โดยผื่นที่เกิดขึ้นนั้นจะมีลักษณะดังนี้

  • จะมีลักษณะแบนหรือเห่อขึ้นเล็กน้อย มีขนาดเล็ก เป็นสีน้ำตาลแดง และอาจเกิดขึ้นติดกันหลายจุดจนกลายเป็นปื้นขนาดใหญ่
  • มักจะปรากฏบนศีรษะหรือคอ ก่อนจะลามลงไปทั่วร่างกาย
  • มีอาการคันเล็กน้อยสำหรับผู้ป่วยบางราย
  • ลักษณะผื่นดูคล้ายกับผื่นจากภาวะสุขภาพในเด็กอย่าง "โรคหัดกุหลาบ" (Slapped cheek syndrome) 

3. จุดในปากจากโรคหัด

หลังจากมีผื่นขึ้นไปแล้ว 1-2 วัน ผู้ป่วยหลายรายจะมีจุดสีเทาขาวเกิดขึ้นในช่องปาก (Koplik's spot) ซึ่งไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่จะประสบกับภาวะเช่นนี้ ซึ่งจุดสีเทาที่เกิดขึ้นมักจะกินระยะเวลาอยู่ไม่กี่วันเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่รู้สึกว่าตนเอง หรือลูกของคุณเป็นโรคหัด และควรแจ้งทางโรงพยาบาลด้วยว่าอาจเป็นโรคหัด เพื่อให้ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมแนวทางป้องกันการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น และเนื่องจากโรคหัดเป็นโรคที่ติดต่อหากันได้ ถึงแม้คุณจะไม่ได้มีอาการเป็นโรคหัด แต่มีคนใกล้ตัวที่เป็นโรคนี้และคุณยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดมาก่อน คุณก็ควรเข้ารับการตรวจเพื่อป้องกันการติดเชื้อไว้ก่อน

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคหัดยังสามารถเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ ซึ่งหากตัวคุณหรือลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ฉุกเฉินทันที เพราะมันอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อไวรัสที่รุนแรงมากกว่าการติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไป

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ผู้ป่วยโรคหัดส่วนมากจะหายจากโรคได้เองหลังจากติดเชื้อ 7-10 วัน แต่บางกรณี โรคหัดก็ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่นๆ ขึ้นมาได้ โดยภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ท้องร่วง ท้องเสีย และอาเจียนจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
  • การติดเชื้อของหูชั้นกลางจนทำให้เกิดอาการปวดหู
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • การอักเสบของกล่องเสียง
  • ปอดบวม ปอดอักเสบและเป็นโรคครูป (Croup) ซึ่งเป็นการติดเชื้อของหลอดลมและปอด
  • ชักจากไข้ที่ขึ้นสูง

เด็กที่ป่วยเป็นโรคหัดประมาณ 1 จากทุกๆ 15 คนจะมีภาวะแทรกซ้อนข้างต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตลูกน้อยที่เป็นโรคหัดว่ามีอาการแทรกซ้อนดังกล่าวหรือไม่ และนอกเหนือจากภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยแล้ว ยังมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้น้อย แต่ก็ควรมีการเฝ้าสังเกตอาการและระมัดระวังไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย เช่น

  • การติดเชื้อที่ตับ
  • การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มรองสมองและไขมันสันหลัง
  • เป็นไข้สมองอักเสบ
  • ตาเข ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมอง
  • การติดเชื้อที่เส้นประสาทตา ซึ่งคอยทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากตาไปสมอง และอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้
  • เกิดปัญหาที่ระบบหัวใจและประสาท
  • ภาวะสมองอักเสบแบบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute Sclerosing Panencephalitis: SSPE) สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดมาหลายปี แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ยากมากๆ

การรักษาโรคหัด

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคหัดโดยเฉพาะ แต่โรคนี้ก็สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน และแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านไปจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น และนอกจากนี้ ยังมีอีกหลายวิธีที่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดจะสามารถบรรเทาอาการ และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปหาผู้อื่นได้ เช่น

  • รับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamolแอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดไข้และอาการปวดกล้ามเนื้อ แต่ควรระมัดระวังไม่ใช้ยาแอสไพรินกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • ปิดม่านเพื่อลดภาวะไวต่อแสงอาทิตย์
  • ใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบน้ำเพื่อทำความสะอาดรอบตา
  • ลาเรียนหรือลางานเป็นเวลาอย่างน้อย 4 วันหลังจากที่เริ่มมีผื่นขึ้น หรือในกรณีที่อาการป่วยรุนแรงมากหรือมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย ผู้ป่วยควรนอนพักที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอาการ และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้อื่นรับเชื้อไปด้วย

การบรรเทาอาการโรคหัด

ถ้าอาการของโรคหัดสร้างความไม่สบายตัวให้กับคุณหรือลูกของคุณมากเกินไป ยังมีหลายวิธีที่คุณสามารถบรรเทาอาการได้ในระหว่างที่รอร่างกายฟื้นตัว เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. การควบคุมไข้และบรรเทาปวด: สามารถใช้ยาพาราเซตตามอล หรือยาไอบูโพรเฟนเพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวดได้ ส่วนผู้ป่วยเด็กนั้น ผู้ปกครองสามารถใช้ยาน้ำพาราเซตามอลป้อนได้ แต่ไม่ควรใช้ยาแอสไพรินกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี หรือทางที่ดีที่สุด ผู้ปกครองควรสอบถามเภสัชกรหรือแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาให้มั่นใจเสียก่อนว่า ลูกของคุณเหมาะกับยาชนิดไหนมากที่สุด 
  2. ดื่มน้ำให้มากๆ: หากผู้ป่วยมีไข้สูง ให้พยายามดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ และลดอาการไอจากความระคายเคืองภายในลำคอ นอกจากนี้ การดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาวจะช่วยคลายหลอดลม กำจัดเสมหะ และบรรเทาอาการไอได้ แต่ไม่ควรผสมน้ำผึ้งให้ผู้ป่วยเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน
  3. รักษาอาการเจ็บตา: ใช้ผ้าขนหนูหรือสำลีชุบน้ำแล้วเช็ดที่ตาเบาๆ เพื่อทำความสะอาดสะเก็ดจากเปลือกตาและขนตา และให้ปิดม่านเพื่อกันแสง รวมทั้งเปลี่ยนไปใช้หลอดไฟที่ไม่สว่างมาก เพื่อไม่ให้แสงทำร้ายดวงตาของผู้ป่วยได้
  4. รักษาอาการคล้ายไข้หวัด: หากผู้ป่วยมีอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น คัดจมูก หรือไอ การนั่งในห้องน้ำที่เต็มไปด้วยไอน้ำอุ่นๆ จะทำให้อากาศชุ่มชื้นขึ้น และอาจช่วยบรรเทาอาการไอได้  

วิธีป้องกันโรคหัด

คุณสามารถเลี่ยงการป่วยเป็นโรคหัดได้จากการรับวัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (Measles Mumps and Rubella vaccine: MMR) หรือหากคุณรู้สึกว่าตนเองไม่เหมาะกับการรับวัคซีน หรือไม่สะดวกในการฉีดวัคซีน ยังมีอีกวิธีป้องกันที่เรียกว่า กระบวนการเอชเอ็นไอจี (Human normal immunoglobulin Human normal immunoglobulin: HNIG)

การฉีดวัคซีน MMR

  1. การฉีดวัคซีนมาตรฐาน วัคซีน MMR จัดเป็นวัคซีนมาตรฐานที่ต้องทำการฉีดให้กับเด็กอายุตั้งแต่ 12-13 เดือน และจะมีการฉีดซ้ำครั้งที่ 2 ในช่วงอายุ 3 ปี 4 เดือนเป็นครั้งสุดท้าย คุณและลูกของคุณสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนเมื่อใดก็ได้หากยังไม่ครบ 2 ครั้ง หรือหากคุณไม่มั่นใจว่าเคยได้รับวัคซีนแล้วหรือยัง ก็สามารถรับการฉีดวัคซีนซ้ำอีกครั้งได้
  2. การฉีดวัคซีนในสถานการณ์พิเศษ วัคซีน MMR สามารถให้ได้ครั้งแรกกับผู้ป่วยเด็กที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนทันที หากว่าพวกเขาอยู่ในความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคหัดกะทันหัน ยกตัวอย่างเช่น
    1. มีการระบาดของโรคหัดตามพื้นที่อยู่อาศัย
    2. มีการเข้าใกล้กับผู้ป่วยโรคหัด
    3. มีแผนที่จะต้องต้องเดินทางไปในประเทศหรือพื้นที่ที่โรคหัดระบาด

กระบวนการเอชเอ็นไอจี 

กระบวนการป้องกันเอชเอ็นไอจีจะเป็นการให้สารภูมิต้านทานชนิดพิเศษที่จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดในระยะสั้น ซึ่งกระบวนการนี้จะแนะนำกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มต่อไปนี้

  • เด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน และเด็กทารกบางรายที่มีอายุระหว่าง 6-8 เดือน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือไม่เคยป่วยเป็นโรคหัดมาก่อน
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV

โรคหัดเป็นโรคติดต่อที่พบได้มากในเด็กเล็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอย่านิ่งนอนใจ และควรพาลูกน้อยไปเข้ารับการฉีดวัคซีนทันทีที่อายุถึงเกณฑ์ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการติดโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นได้จากอากาศรอบตัวลูกน้อยของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีน MMR (วัคซีนโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน) คืออะไร จำเป็นหรือไม่ ใครควรฉีดบ้าง?


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน MMR คืออะไร? ฉีดกี่เข็ม? ฉีดตอนไหน? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/vaccine-mmr).
Rota PA et al., Measles (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27411684), 14 July 2016
CDC, Measles (Rubeola) Signs and Symptoms (https://www.cdc.gov/measles/symptoms/signs-symptoms.html), 13 June 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป