โรคคางทูม (Mumps) คือการติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยกับเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน MMR
อาการของโรคที่เด่นชัดที่สุดคืออาการปวดที่ด้านข้างของใบหน้า ณ ตำแหน่งใต้ใบหูลงไป (ส่วนต่อมน้ำลายข้างกกหู) จนทำให้ใบหน้าส่วนนั้นบวมออกจนมีใบหน้าคล้ายหนูแฮมส์เตอร์
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการอื่น ๆของโรคคางทูมเช่นปวดศีรษะ ปวดข้อต่อ และมีไข้สูงจะเกิดขึ้นก่อนการบวมของต่อมน้ำลายข้างกกหูไม่กี่วัน
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
หากต้องสงสัยว่าคุณป่วยเป็นโรคคางทูมให้รีบติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยในทันที แม้ว่าโรคคางทูมจะไม่ร้ายแรง แต่อาการของภาวะนี้ก็คล้ายกับการติดเชื้อร้ายแรงกว่าอย่างโรคไข้และต่อมน้ำเหลืองโต และต่อมทอนซิลอักเสบ
แพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคคางทูมได้จากการสังเกตและสัมผัสบริเวณที่บวม ตรวจหาตำแหน่งของต่อมทอนซิลในปาก และวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยเพื่อดูว่าสูงกว่าปกติหรือไม่
คุณต้องแจ้งแพทย์ก่อนเข้าพบล่วงหน้าเพื่อให้แพทย์สามารถทำการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไว้ก่อน
หากแพทย์คาดการณ์ว่าคุณเป็นโรคคางทูม แพทย์จะทำการตรวจตัวอย่างน้ำลายของคุณเพื่อยืนยันการวินิจฉัยหรือกำจัดความเป็นไปได้ของภาวะอื่น ๆ ตามความจำเป็น
โรคคางทูมแพร่กระจายได้อย่างไร?
โรคคางทูมแพร่กระจายได้ด้วยวิธีเดียวกับไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ คือผ่านละอองสารคัดหลั่งจากน้ำลายที่เข้าไปในจมูกผ่านการสูดดม หรือหยิบจับสิ่งของที่มีเชื้อและนำไปสัมผัสกับจมูกหรือปาก
ฉีดวัคซีน MMR วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เมื่อผู้ติดเชื้อสัมผัสจมูกของปากของตนเอง พวกเขาจะสามารถส่งต่อเชื้อไปยังสิ่งของต่าง ๆ อย่างลูกบิดประตู หรือโต๊ะทำงานได้ และหากผู้อื่นสัมผัสกับสิ่งของเหล่านี้จะทำให้เชื้อกระจายเข้าไปสู่ระบบหายใจได้
ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้ง่ายมากในช่วงไม่กี่วันแรกหลังแสดงอาการ ระหว่างช่วงแพร่เชื้อ สิ่งที่ควรทำคือการป้องกันการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่น โดยเฉพาะกับวัยรุ่นและผู้ใหญ่อายุน้อยที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
ผู้ป่วยโรคคางทูมที่ไม่แสดงอาการชัดเจนก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน
หากคุณป่วยเป็นโรคคางทูม คุณสามารถป้องกันได้ด้วยการ:
- ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ
- ปิดปากและจมูกขณะจามด้วยกระดาษชำระ
- ลาเรียนหรือลางานเป็นเวลาอย่างน้อยห้าวันหลังจากที่แสดงอาการแรก
การป้องกันโรคคางทูม
คุณสามารถป้องกันลูกของคุณจากโรคคางทูมได้ด้วยการพาพวกเขาไปรับวัคซีน MMR (วัคซีนสำหรับโรคคางทูม โรคหัด และหัดเยอรมัน)
ลูกของคุณควรได้รับวัคซีนหนึ่งโดสเมื่อพวกเขามีอายุระหว่าง 12-13 เดือน และโดสที่สองคือก่อนวัยเรียน ลูกของคุณจะต้องได้รับวัคซีนครบทั้งสองครั้งเพื่อทำให้ร่างกายของพวกเขาต่อสู้กับโรคคางทูมได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การรักษาโรคคางทูม
ยังไม่มีวิธีรักษาโรคคางทูม ซึ่งการติดเชื้อนี้ควรจะหายไปเองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์
การรักษาง่าย ๆ จะมีเพื่อบรรเทาอาการของโรคไปจนกว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อไวรัสไปเอง เช่น:
- การดื่มน้ำและพักผ่อนให้มาก ๆ
- การทานยาแก้ปวด อย่างอิบูโพรเฟนและพาราเซตตามอล คุณไม่ควรให้ยาแอสไพรินแก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี
- ประคบเย็นหรือร้อนบริเวณที่บวมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
- ทานอาหารที่ไม่ต้องเคี้ยวมาก เช่นซุป มันฝรั่งบด และไข่คน
หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปเจ็ดวัน หรือทรุดลงกะทันหันให้รีบติดต่อแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในทันที
ใครได้รับผลกระทบจากโรคคางทูมบ้าง?
กรณีผู้ป่วยคางทูมส่วนมากจะเกิดกับผู้ใหญ่อายุน้อย (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1980 และ 1990) ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน MMR มาก่อน หรือไม่เคยป่วยเป็นคางทูมมาก่อน
เมื่อคุณติดเชื้อไวรัสคางทูม ร่างกายคุณจะพัฒนาภูมิต้านทานโรคนี้ขึ้นมาจนทำให้คุณแทบไม่สามารถป่วยเป็นคางทูมอีกครั้งได้
อาการของโรคคางทูม
อาการของโรคคางทูมมักจะปรากฏออกมาหลังติดเชื้อไวรัส 14 ถึง 25 วัน (เรียกว่าระยะฟักตัว) โดยช่วงเวลาฟักตัวของเชื้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 17 วัน
การบวมของต่อมน้ำลายข้างกกหูเป็นอาการทั่วไปของโรคคางทูม โดยต่อมนี้จะมีอยู่หนึ่งคู่อยู่ใต้ใบหูข้างละหนึ่งต่อมและมีหน้าที่ผลิตน้ำลาย
ต่อมทั้งสองสามารถได้รับผลกระทบจากการบวมของใบหน้าแต่จะมีหนึ่งต่อมเท่านั้นที่บวมออก การบวมนี้จะสร้างความเจ็บปวด กดเจ็บ และทำให้กลืนอาหารลำบาก
อาการอื่น ๆ ของโรคคางทูมจะเกิดขึ้นก่อนการบวมของต่อมน้ำลายข้างกกหูไม่กี่วัน ซึ่งมีดังนี้:
- ปวดศีรษะ
- ปวดข้อต่อ
- รู้สึกไม่สบาย
- ปากแห้ง
- ปวดท้องเล็กน้อย
- เหน็ดเหนื่อย
- ไม่อยากอาหาร
- มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
กรณีผู้ป่วยโรคคางทูมหนึ่งในสามอาจจะไม่แสดงอาการที่เห็นได้ชัดเจน
สาเหตุของโรคคางทูม
โรคคางทูมเกิดมาจากเชื้อไวรัสคางทูม ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่ม paramyxoviruses และเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อในเด็กมากที่สุด
เมื่อคุณได้รับเชื้อ ไวรัสจะขยับผ่านระบบหายใจของคุณ (จมูก ปาก และลำคอ) ไปยังต่อมน้ำลายข้างกกหูและจะเริ่มเพิ่มจำนวนภายในต่อมนั้น ๆ จนทำให้เกิดอาการบวมขึ้น
ไวรัสสามารถเข้าสู่น้ำไขสันหลัง (cerebrospinal fluid - CSF) ที่เป็นน้ำที่ห้อมล้อมและปกป้องสมองกับสันหลังของคุณ เมื่อไวรัสเข้าสู่ CSF จะทำให้ไวรัสแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่นสมอง ตับอ่อน อัณฑะ และรังไข่
การวินิจฉัยโรคคางทูม
หากต้องสงสัยว่าคุณป่วยเป็นโรคคางทูมให้รีบติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยในทันที
คุณต้องแจ้งแพทย์ก่อนเข้าพบล่วงหน้าเพื่อให้แพทย์สามารถทำการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไว้ก่อน
แพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคคางทูมได้จากการสัมผัสบริเวณที่บวม และส่องดูภายในช่องปากของคุณเพื่อดูว่าต่อมทอนซิลถูกดันออกมาจากตำแหน่งที่ควรเป็นหรือไม่ อีกทั้งแพทย์จะทำการตรวจอุณหภูมิร่างกายเพื่อดูว่าสูงกว่าปกติหรือไม่อีกด้วย
หากแพทย์คาดการณ์ว่าคุณเป็นโรคคางทูม แพทย์จะทำการตรวจตัวอย่างน้ำลายของคุณเพื่อยืนยันการวินิจฉัยหรือกำจัดความเป็นไปได้ของภาวะอื่น ๆ ตามความจำเป็น
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส
หากคุณหรือลูกของคุณป่วยเป็นโรคคางทูม ควรทำการป้องกันการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ใหญ่อายุน้อยที่เกิดระหว่างปี 1980 กับ 1990 ไว้จะดีที่สุด (คนกลุ่มนี้มักจะไม่ได้รับวัคซีนป้องกันมาก่อน)
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ: เมื่อมีอากรครั้งแรก ให้ลาเรียนหรือหยุดงานเป็นเวลาอย่างน้อยห้าวัน ล้างมือด้วยน้ำกับสบู่บ่อย ๆ ใช้กระดาษชำระปกปิดปากและจมูกเมื่อทำการไอหรือจาม และต้องทิ้งกระดาษชำระที่ใช้แล้วลงถังขยะในทันที
ภาวะแทรกซ้อนของโรคคางทูม
โรคคางทูมมักจะหายไปและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ป่วย แปลได้ว่าภาวะแทรกซ้อนจากโรคคางทูมเป็นเรื่องหายากมาก
โรคคางทูมสามารถนำไปสู่ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสได้หากเชื้อลามเข้าไปในเยื่อสมอง ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างอัณฑะบวม (ผู้ชาย) หรือรังไข่บวม (ผู้หญิง) ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่เลยช่วงเจริญพันธุ์ไปแล้ว
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
1.อัณฑะบวม
อาการปวดและบวมที่อัณฑะจะเกิดกับผู้ป่วยชายที่ผ่านช่วงเจริญพันธุ์หนึ่งในสี่คน อาการบวมนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และเกิดกับลูกอัณฑะเพียงข้างเดียวจนทำให้อัณฑะอุ่นและกดเจ็บได้
อาการบวมนี้สามารถเกิดได้กับเด็กและผู้ใหญ่ และมักจะเกิดขึ้นหลังจากการบวมของต่อมน้ำลายข้างกกหูประมาณสี่ถึงแปดวัน บางครั้งอาการบวมนี้ก็สามารถเกิดขึ้นภายหลังจากต่อมบวมหกสัปดาห์ก็ได้
อาการปวดอัณฑะสามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้จากร้านขายยาอย่างพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟน แต่หากมีอาการปวดรุนแรงก็ควรไปพบแพทย์เพื่อให้พวกเขาจ่ายยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงขึ้นกับคุณ
การประคบเย็นหรืออุ่นที่อัณฑะและการสวมกางเกงในรองรับก็สามารถช่วยลดความเจ็บปวดลงได้บ้าง
ผู้ป่วยชายไม่ถึงครึ่งที่มีอาการอัณฑะบวมจากโรคคางทูมจะสังเกตว่าลูกอัณฑะของพวกเขาหดลง และคาดกันว่ามีผู้ชาย 1 ใน 10 คนที่มีปริมาณน้ำเชื้อลดลง อย่างไรก็ตามภาวะเหล่านี้ก็ไม่ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากแต่อย่างใด
2.รังไข่บวม
ผู้ป่วยหญิงที่เป็นคางทูมหนึ่งจาก 20 คนและเลยช่วงเจริญพันธุ์มาแล้วจะมีอาการบวมของรังไข่ ซึ่งจะทำให้เกิด: อาการปวดท้องน้อย มีไข้สูง รู้สึกคลื่นไส้
อาการของภาวะนี้มักจะหายไปเมื่อร่างกายสามารถกำจัดการติดเชื้อคางทูมที่เหลือทั้งหมด
3.เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเกิดขึ้นเมื่อเชื้อไวรัสคางทูมลามเข้าไปยังเยื่อหุ้มสมอง โดยภาวะนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคคางทูมประมาณหนึ่งในเจ็ดกรณี
แตกต่างจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรียที่เป็นภาวะร้ายแรงถึงชีวิต การติดเชื้อจากไวรัสนี้จะมีความรุนแรงอ่อนกว่ามาก และมีอาการคล้ายกับเป็นหวัด อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ น้อยมากอีกด้วย
ภาวะอ่อนไหวต่อแสง เจ็บคอ และปวดศีรษะเป็นอาการทั่วไปของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส และมักจะหายไปเองภายใน 14 วัน
4.ตับอ่อนอักเสบ
กรณีผู้ป่วยโรคคางทูม 1 ใน 20 คนจะเกิดภาวะตับอ่อนอักเสบขึ้น (ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน) โดยอาการส่วนมากคืออาการเจ็บกะทันหันที่กลางหน้าท้อง ส่วนอาการอื่น ๆ ของภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันมีดังนี้:
แม้ว่าภาวะตับอ่อนอักเสบที่เกี่ยวพันกับโรคคางทูมจะไม่รุนแรง คุณก็อาจต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหากว่าการทำงานร่างกายคุณเกิดหยุดชะงักเพื่อรับการช่วยเหลือไปจนกว่าตับอ่อนจะฟื้นตัวกลับมา
ภาวะแทรกซ้อนหายากจากโรคคางทูม
ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับโรคคางทูมมีทั้งการติดเชื้อที่สมองที่เรียกว่าไข้สมองอักเสบ โดยคาดกันว่าภาวะนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยคางทูมที่มีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัสประมาณ 1 จาก 1,000 คน ภาวะไข้สมองอักเสบเป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที อีกทั้งผู้ป่วยคางทูม 1 จาก 20 คนจะประสบกับภาวะสูญเสียการได้ยินชั่วคราว ซึ่งความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นแบบถาวรนั้นเป็นเรื่องหายาก โดยคาดกันว่าเกิดกับผู้ป่วยคางทูม 1 จาก 20,000 คน
บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีน MMR (วัคซีนโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน) คืออะไร จำเป็นหรือไม่ ใครควรฉีดบ้าง?