คางทูมเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คางทูมเป็นโรคติดต่อและพบได้บ่อยในเด็ก ลักษณะเด่นคือมีการปวดและบวมโตของต่อมน้ำลายด้านข้างแก้ม หรือต่อมน้ำลายพาโรติด (parotid glands)
สาเหตุของคางทูม
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม ซึ่งแพร่กระจาย ติดต่อสู่ผู้อื่นได้ง่ายผ่านน้ำลายของผู้ป่วย โดยการสัมผัสหรือหายใจเอาน้ำลายจากการไอหรือจามของผู้ป่วยเข้าไป หรือเกิดจากการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วยเช่น ช้อน ส้อม แก้วน้ำ เป็นต้น
ฉีดวัคซีน MMR วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาการของคางทูม
โรคคางทูม มีอาการเริ่มแรกคือมีไข้ 2-3 วัน ปวดหัว ปวดบริเวณกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า และเบื่ออาหาร จากกนั้นจะมีการบวมโตของต่อมน้ำลาย ประมาณ 20% ของผู้ป่วยโรคคางทูมจะไม่แสดงอาการของโรค ในผู้ป่วยเพศชายที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีประมาณ 10-20% มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อบริเวณอัณฑะได้ด้วย
การวินิจฉัยคางทูม
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคทางทูม อาจจะต้องทดสอบทางห้องปฏิบัติการได้แก่ ตรวจเลือด หรือ ทดสอบหาเชื้อไวรัสโดยวิธีพีซีอาร์ (PCR) เมื่อเราเป็นโรคร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีขึ้นเพื่อต่อสู้กับไวรัส ดังนั้นหากสงสัยเป็นคางทูมอาจตรวจได้โดยการทดสอบหาแอนติบอดีได้เช่นกัน
การรักษาคางทูม
โรคเกิดจากเชื้อไวรัส ดังนั้นยาปฏิชีวนะจะใช้ไม่ได้ผล และทำได้เพียงรักษาไปตามอาการ และจะหายได้เองในเวลา 2 สัปดาห์ การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ช่วยลดความเจ็บปวดได้ และช่วยป้องกันการติดต่อสู่ผู้อื่น ได้ดังนี้
- พักผ่อนจนกว่าอาการไข้จะหาย
- แยกตัวเองออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรคสู่ผู้อื่น อาจใช้ยาแก้ปวดหากมีอาการปวดมาก
- ประคบร้อนหรือประคบเย็นเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดและลดบวม
- เลี่ยงการรับประทานอาหารที่ต้องเคี้ยวเยอะ รับประทานอาหารอ่อน เช่น ซุป
- เลี่ยงการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยว หรือน้ำผลไม้ ซึ่งจะทำให้หลั่งน้ำลายออกมากขึ้น
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
โรคแทรกซ้อน
คางทูมสามารถหายได้เองและมีโรคแทรกซ้อนได้น้อยมาก โรคแทรกซ็อนที่อาจเป็นไปได้คือ การอักเสบ บวมแดง ในบางบริเวณได้ เช่น อัณฑะ ตับอ่อน รังไข่ เต้านม และเนื้อเยื่อสมองและของเหลวรอบสมองและไขสันหลัง คางทูมอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน และแท้งบุตรได้แต่พบได้น้อยมาก
การป้องกันคางทูม
ปกติในร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันอยู่บ้างแล้วจากการเคยติดเชื้อต่างๆ หรือเคยได้รับวัคซีนมาก่อน วัคซีนจะรวมกับโรคหัดและหัดเยอรมันด้วย ชื่อว่าวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ (measles-mumps-rubella ,MMR) ซึ่งจะให้ในเด็กทุกคน แบ่งให้ 2 ครั้ง คือ
- ครั้งแรก ในช่วงอายุ 12-15 เดือน
- ครั้งที่สอง ให้ช่วงอายุ 4-6 ปี หรือ 11-12 ปี
เมื่อได้รับครบทั้ง 2 ครั้ง วัคซีนจะป้องกันการเกิดโรคคางทูมได้ 95%