มะเร็งหลอดอาหาร คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นกับเซลล์ภายในหลอดอาหารซึ่งมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติ ส่วนใหญ่แล้วมะเร็งชนิดนี้จะพบในผู้ที่อายุ 60 – 70 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยอาการกลืนลำบากเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด และยังมีอาการอื่นๆ เช่น แสบร้อนยอดอก อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้องส่วนบน เป็นต้น
บทนำมะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer) คือมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับหลอดอาหาร ซึ่งมีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหาร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ส่วนใหญ่แล้วมะเร็งชนิดนี้จะพบในผู้ที่อายุ 60 – 70 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
อาการของมะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งหลอดอาหารมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ในระยะเริ่มแรกของโรค ซึ่งก้อนเนื้องอกยังมีขนาดเล็กอยู่ และผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเมื่อก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น
อาการของมะเร็งหลอดอาหาร ได้แก่:
- อาการกลืนลำบาก
- อาหารไม่ย่อยเรื้อรัง หรือ แสบร้อนยอดอก
- ขย้อนอาหารขึ้นมาในเวลาไม่นานหลังรับประทานอาหร
- รู้สึกเบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
- มีอาการปวด หรือรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณช่องท้องส่วนบน หน้าอก หรือหลัง
เมื่อไรที่ควรมาพบแพทย์
ให้ไปพบแพทย์หากคุณมีอาการดังนี้:
- กลืนลำบาก
- แสบร้อนยอดอกเกือบทุกวันเป็นเวลานาน 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
- อาการผิดปกติใดๆ หรืออาการเรื้อรังใดๆ ที่เกิดขึ้น
อาการที่เกิดขึ้นมีสาเหตุได้จากหลายๆ โรค และหลายๆ ครั้งมักไม่เกิดจากโรคมะเร็ง แต่การไปพบแพทย์ถือเป็นแนวคิดที่ดีกว่าเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน
ถ้าแพทย์คิดว่าคุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาส่งต่อคุณไปรับการตรวจอย่างเหมาะสม
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหารยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น ได้แก่:
- เป็นโรคกรดไหลย้อนเรื้อรัง (gastro-esophageal reflux disease (GERD))
- สูบบุหรี่
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากติดต่อกันนานๆ
- มีภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน
- รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีผักและผลไม้ปริมาณน้อย
การหยุดสูบบุหรี่, การลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การลดน้ำหนัก และการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้
การรักษามะเร็งหลอดอาหาร
ถ้ามะเร็งหลอดอาหารได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะมีโอกาสรักษามะเร็งให้หายขาดได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้:
- การผ่าตัดเอาหลอดอาหารส่วนที่เป็นมะเร็งออก
- การให้ยาเคมีบำบัดเดี่ยวๆ หรือให้ร่วมกับการให้รังสีรักษา (chemoradiation) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและลดขนาดของก้อนเนื้องอก
ถ้ามะเร็งหลอดอาหารได้รับการวินิจฉัยในระยะท้ายแล้ว โอกาสในการรักษาหายขาดอาจไม่สามารถทำได้
ซึ่งในมะเร็งหลอดอาหารระยะท้ายๆ การใช้การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการให้รังสีรักษา เพื่อช่วยให้มะเร็งอยู่ภายใต้การควบคุม และเพื่อช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วย
การพยากรณ์โรคมะเร็งหลอดอาหาร
การพยากรณ์โรคมะเร็งหลอดอาหาร/ภาพอนาคตของผู้ป่วยจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น การแพร่กระจายของมะเร็งว่าแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด อายุของคุณ และสภาวะทางสุขภาพของคุณ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากมะเร็งหลอดอาหารตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ และมีขนาดเล็กมาก ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้มะเร็งหายขาดได้
แต่ตัวโรคมะเร็งหลอดอาหารมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ จนกว่าจะเข้าสู่ระยะท้ายของโรค ทำให้มะเร็งมีการแพร่กระจายไปมากแล้วขณะที่ได้รับการวินิจฉัย
อาการของผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งหลอดอาหารมักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ในระยะแรกของโรค แต่เมื่อมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น จะทำให้เกิดปัญหาในการกลืนอาการ รวมถึงอาการอื่นๆ ด้วย
อาการกลืนลำบาก
อาการกลืนลำบากคืออาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งจะทำให้หลอดอาหารตีบแคบ ทำให้อาหารยากต่อการเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหาร ซึ่งอาจรู้สึกเหมือนอาหารติดอยู่ และบางครั้งอาจรู้สึกเจ็บปวดขณะกลืน
คุณอาจต้องเคี้ยวอาหารให้ละเอียดมากขึ้น หรือต้องรับประทานเฉพาะอาหารอ่อนเท่านั้น ถ้าก้อนมะเร็งยังคงโตอย่างต่อเนื่อง แม้รับประทานเพียงของเหลวก็อาจยากต่อการกลืนได้
อาการอื่นๆ
อาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้แก่:
- อาหารไม่ย่อยเรื้อรัง หรือแสบร้อนยอดอก
- ขย้อนอาหารภายหลังการรับประทานอาหาร
- เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
- อาเจียนเรื้อรัง
- เจ็บ หรือรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณช่องท้องส่วนบน หน้าอก หรือหลัง
- ไอเรื้อรัง
- เสียงแหบ
- อ่อนเพลีย หายใจหอบเหนื่อย ผิวหนังมีสีซีด
- อาเจียนเป็นเลือด หรือไอเป็นเลือด – แต่มักพบไม่บ่อย
เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์
ให้ไปพบแพทย์หากคุณมีอาการดังนี้:
- กลืนลำบาก
- แสบร้อนยอดอกเกือบทุกวันเป็นเวลานาน 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
- มีอาการผิดปกติใดๆ หรืออาการเรื้อรังใดๆ
แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นสามารถเกิดจากโรคอื่นๆ ได้ และหลายๆ ครั้งไม่ได้เกิดจากโรคมะเร็ง แต่การเข้ารับการตรวจเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องคือคำแนะนำที่เหมาะสมมากกว่า
สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหารยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งชนิดนี้
โรคกรดไหลย้อน (GERD) และผู้ป่วยหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง (Barrett's oesophagus)
Gastro-esophageal reflux disease (GERD) คือสภาวะที่กล้ามเนื้อหูรูดเหนือกระเพาะอาหารไม่แข็งแรงพอ ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร
ประมาณ 1 ใน 10 คนของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน จะมีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างซ้ำๆ จากกรดในกระเพาะอาหารเป็นเวลาหลายปี ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารได้ เราเรียกว่าโรคหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง (Barrett's oesophagus)
เซลล์ผิดปกติเหล่านี้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์มะเร็งในอนาคต แต่ความเสี่ยงก็ยังอยู่ในระดับน้อย ประมาณการว่าผู้ป่วย 1 ในทุกๆ 10-20 คนที่มีภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังจะเป็นโรคมะเร็งภายใน 10-20 ปี
แอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกิดไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบที่เยื่อบุหลอดอาหาร
ถ้าเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารมีการอักเสบเกิดขึ้น ก็จะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น
การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ และสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดการระคายเคืองที่เซลล์เยื่อบุหลอดอาหารได้ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าใด ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลอดอาหารเท่านั้น
อ้วน
ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วน ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งหลอดอาหารจะเพิ่มขึ้นกว่าคนที่น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมาก
และคนอ้วนก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกรดไหลย้อนและหลอดอาหารอักเสบเรื้อรังด้วย (กล่าวไปแล้วที่ด้านบน)
อาหารที่รับประทาน
การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพออาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร
คุณจึงควรรับประทานผักและผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน
สภาวะทางสุขภาพอื่นๆ
สภาวะทางสุขภาพบางอย่างจะเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งหลอดอาหาร ได้แก่:
- ภาวะหลอดอาหารเกร็งตัว (achalasia)-คือหลอดอาหารสูญเสียความสามารถในการลำเลียงอาหารลงไปด้านล่าง ทำให้มีอาการคลื่นไส้ และกรดไหลย้อน
- Paterson-Brown Kelly syndrome (Plummer Vinson syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anaemia) และทำให้เกิดการเจริญเติบโตขนาดเล็กในลำคอ
- อาการหนังหนาด้าน (tylosis) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
การวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหาร
ให้พบแพทย์หากคุณมีอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร แพทย์จะพิจารณาตรวจในเบื้องต้นและตัดสินใจว่าคุณควรมีการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่
การเข้าพบแพทย์
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจดำเนินการดังนี้:
- สอบถามเกี่ยวกับอาการที่คุณกำลังเป็น
- ทำการตรวจร่างกายให้กับคุณ
- สอบถามและตรวจดูเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ
หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าคุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม คุณจะได้รับการส่งต่อไปพบผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมักเป็นแพทย์สาขาโรคทางเดินอาหาร (gastroenterologist) ซึ่งเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
การทดสอบที่แพทย์สาขาโรคระบบทางเดินอาหารอาจแนะนำให้คุณทำการตรวจ มีรายละเอียดดังนี้
การทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร
มีการทดสอบ 2 การทดสอบหลักที่ใช้เพื่อวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหาร ได้แก่:
- การส่องกล้อง (endoscopy)-ซึ่งเป็นการตรวจที่ทำมากที่สุด
- การกลืนแป้งสารทึบรังสี (barium swallow or barium meal)
การส่องกล้อง (endoscopy)
การส่องกล้องเพื่อตรวจดูภายในหลอดอาหารว่ามีมะเร็งเกิดขึ้นหรือไม่
โดยแพทย์จะใช้กล้องขนาดเล็ก ยืดหยุ่น และมีแสงไฟที่ปลายของกล้อง (endoscope) สอดเข้าไปทางปากยาวลงไปในกระเพาะอาหาร
ตัวอย่างชิ้นเนื้อขนาดเล็กอาจถูกตัดออกจากหลอดอาหาร และนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการส่องกล้องจุลทรรศน์ เราเรียกว่ากระบวนการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (biopsy)
คุณจะยังตื่นอยู่ขณะทำการส่องกล้อง และมักไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่อาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย
โดยทั่วไปคุณจะได้รับยาชาเฉพาะที่เพื่อให้เกิดอาการชาบริเวณคอ และอาจได้รับยาระงับประสาท (sedative) เพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลาย
การกลืนแป้งสารทึบรังสี (barium swallow or barium meal)
การกลืนแป้งแบเรียม คือ การดื่มน้ำที่ผสมกับสารทึบรังสีที่มีลักษณะคล้ายแป้ง โดยจะกลืนก่อนการทำตรวจเอกซเรย์ให้กับคุณ
โดยแบเรียมจะไปเคลือบติดอยู่กับเยื่อบุหลอดอาหาร และแสดงให้เห็นผ่านการเอกซเรย์ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ามีการอุดตันเกิดขึ้นในหลอดอาหารหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือน/อาการแสดงของโรคมะเร็ง
อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยด้วยวิธีนี้มีความนิยมลดลงในปัจจุบัน เพราะวิธีที่ดีที่สุดในการยืนยันการวินิจฉัยมะเร็งหลอดอาหารคือการนำตัวอย่างชิ้นเนื้อออกมาตรวจระหว่างการส่องกล้อง
การตรวจเพิ่มเติม
ถ้าคุณเป็นมะเร็งหลอดอาหาร การตรวจเพิ่มเติมจะแนะนำให้ทำเพื่อประเมินว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด ทำให้ระบุระยะของโรคมะเร็งได้
รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมมีดังนี้
การตรวจเพิ่มเติมที่อาจทำได้แก่:
- การตรวจซีทีสแกน/การสแกนภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerised tomography (CT) scan)-คือการใช้รังสีเอกซ์ในการถ่ายภาพหลายๆ ครั้งและรวมเป็นภาพเดียวด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้เห็นเป็นภาพของอวัยวะภายในร่างกาย
- การสแกนอัลตราซาวด์-คือการใช้หัวตรวจขนาดเล็กสร้างเป็นคลื่นเสียงผ่านลำคอลงไป เพื่อสร้างเป็นภาพของหลอดอาหารและบริเวณข้างเคียง
- การสแกน PET (positron emission tomography (PET) scan)-เป็นการสแกนเพื่อช่วยบอกว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด
- การใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง (laparoscopy)-คือการส่องกล้องผ่านผนังหน้าท้องที่กรีดเปิดไว้ โดยจะทำภายใต้การให้ยาสลบ โดยกล้องขนาดเล็กจะถูกสอดเข้าไปยังรูเปิดที่กรีดไว้ เพื่อตรวจบริเวณหลอดอาหาร
ระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร
ระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการระบุระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหารก็คือ ระบบ TNM system ซึ่งเป็นการให้คะแนนของโรคมะเร็งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม:
- T (tumour)-เป็นการบอกตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก
- N (node)-เป็นการบอกว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือยัง (มีเครือข่ายของต่อมน้ำเหลืองอยู่ทั่วร่างกาย)
- M (metastasis)-เป็นการบอกว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายแล้วหรือยัง เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก
การแบ่งระยะของโรคมะเร็งปัจจุบันจะแบ่งโดยใช้ตัวเลขซึ่งง่ายกว่ามากคือ มะเร็งระยะ 1 (คือระยะเริ่มต้น) ไปจนถึงมะเร็งระยะ 4 (คือระยะลุกลาม)
การรู้ถึงระยะของโรคมะเร็งที่คุณเป็นจะช่วยให้ทีมแพทย์พิจารณาแนะนำการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณได้
การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร
การรักษาหลักสำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหารคือ การผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด และการให้รังสีรักษา (การฉายรังสี)
แผนการรักษาของคุณ
คุณจะได้รับการดูแลโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์หลายสาขาความเชี่ยวชาญ และทีมแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับแผนการรักษาที่พวกเขาคิดว่าเหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจสุดท้ายยังขึ้นอยู่กับคุณ
แผนการรักษาจะขึ้นกับการแพร่กระจายของโรคมะเร็งเป็นสำคัญว่ามีการแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด หรือเรียกว่าระยะของโรคมะเร็งนั่นเอง
- หากเป็นมะเร็งหลอดอาหารในระยะ 1-3 มักจะรักษาโดยการผ่าตัดเอาส่วนของหลอดอาหารที่เป็นมะเร็งออก (esophagectomy) และอาจให้ยาเคมีบำบัด และบางครั้งอาจมีการฉายรังสีก่อนการผ่าตัด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือในบางครั้งอาจใช้ทดแทนการผ่าตัด
- หากเป็นมะเร็งหลอดอาหารในระยะ 4 มักมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปไกลเกินกว่าจะรักษาหายขาดแล้ว แต่ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี และการรักษาอื่นๆ จะช่วยชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งและช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วย
การผ่าตัด
มีการผ่าตัด 3 ชนิดหลักที่ใช้สำหรับรักษามะเร็งหลอดอาหาร
การผ่าตัดหลอดอาหาร (esophagectomy)
การผ่าตัดหลอดอาหารคือการรักษาหลักในโรคมะเร็งหลอดอาหารระยะแรก ระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะผ่าเอาส่วนของหลอดอาหารที่เป็นมะเร็งออก หากจำเป็นจะทำการเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกด้วย และอาจจำเป็นต้องตัดส่วนเล็กๆ ของกระเพาะอาหารออกไปด้วย
ส่วนที่เหลือของหลอดอาหารจะถูกต่อเข้ากับกระเพาะอาหาร ในการผ่าตัดหลอดอาหาร ศัลยแพทย์จะกรีดผิวหนังหน้าท้องและหน้าอก หรือที่หน้าท้องและคอ
Endoscopic mucosal resection (EMR)
หัตถการทางการแพทย์ที่เรียกว่า Endoscopic mucosal resection (EMR) อาจถูกใช้เป็นทางเลือกแทนที่การผ่าตัดหลอดอาหาร ถ้ามะเร็งหลอดอาหารได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกๆ
หัตถการนี้คือการตัดเอามะเร็งออกโดยการใช้ห่วงลวดซึ่งอยู่ที่ปลายกล้อง โดยจะสอดกล้องผ่านลำคอ ทำให้ไม่มีรอยแผลกรีดบนผิวหนัง
ในบางครั้งอาจมีการใช้คลื่นวิทยุเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งด้วย เราเรียกว่า radiofrequency ablation หรือ RFA
วัสดุถ่างขยายหลอดอาหาร (stents)
ในผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารระยะลุกลามจะก่อให้เกิดปัญหากลืนลำบาก จึงอาจมีการแนะนำให้ทำหัตถการที่มีการใส่วัสดุถ่างขยายหลอดอาหาร
โดยวัสดุถ่างขยายจะคาอยู่ที่ตำแหน่งที่ใส และทำหน้าที่ขยายให้หลอดอาหารกว้างออก
ยาเคมีบำบัด
การให้ยาเคมีบำบัดคือการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือเพื่อหยุดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน
ซึ่งอาจใช้ในกรณี:
- ใช้ก่อนผ่าตัด และบางครั้งใช้หลังผ่าตัด โดยใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อลดขนาดของมะเร็ง และลดความเสี่ยงของการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ
- ใช้แทนการผ่าตัด-โดยจะใช้ร่วมกับการฉายรังสี (chemoradiation)
- ใช้เพื่อบรรเทาอาการ หากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ยาที่ใช้จะเป็นยาให้ทางหลอดเลือดดำ หรือให้เป็นแบบยาเม็ด โดยจะได้รับการรักษาทุก 3 สัปดาห์เป็นเวลา 6-18 สัปดาห์
ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาเคมีบำบัด คือ:
- รู้สึกคลื่นไส้
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
- ท้องเสีย
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยมาก
- มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
- เลือดออกง่าย มีรอยช้ำง่าย
โดยผลข้างเคียงเหล่านี้ควรมีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการรักษาสิ้นสุดลง
การให้รังสีรักษา (การฉายรังสี)
การให้รังสีรักษามีการฉายรังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและเพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอก
ซึ่งอาจใช้ในกรณีดังนี้:
- ใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด-เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งและเพื่อลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมาเป็นซ้ำ
- ใช้แทนการผ่าตัด-โดยมักให้ร่วมกับยาเคมีบัด (chemoradiation)
- ใช้เพื่อบรรเทาอาการ หากไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
การฉายรังสีมักใช้เป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกายฉายรังสีเข้าไปยังหลอดอาหารโดยตรง หรือบางครั้งอาจมีการใส่วัสดุปล่อยรังสีขนาดเล็กชั่วคราวไว้ในหลอดอาหาร หรือเรียกว่าการฝังแร่กัมมันตรังสี (brachytherapy)
ผลข้างเคียงจากรังสีรักษา
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของรังสีรักษาคือ:
- อ่อนเพลีย เหนื่อย
- เจ็บขณะกลืนชั่วคราว
- อาการกลืนลำบากแย่ลงชั่วคราว
- คอแห้ง
- รู้สึกคลื่นไส้
- ผิวหนังแดง และขนร่วงบริเวณที่ทำการรักษา
ผลข้างเคียงเหล่านี้ควรค่อยๆ มีอาการดีขึ้นภายหลังการรักษาสิ้นสุดลง
การใช้ชีวิตอยู่กับโรคมะเร็งหลอดอาหาร
การป่วยเป็นมะเร็งหลอดอาหารจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิต แต่การสนับสนุนผู้ป่วยจะช่วยให้คุณรับมือกับโรคนี้ได้
การรับประทานอาหารและการกลืน
คุณอาจมีปัญหาเรื่องการกลืนระหว่างและหลังการรักษามะเร็งหลอดอาหาร
ซึ่งมีการรักษาที่ช่วยคุณได้ ได้แก่ การผ่าตัดใส่วัสดุขยายหลอดอาหาร (stent) หรือรักษาโดยการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา อย่างไรก็ตามอาจไม่ประสบผลในทันทีที่ทำ
ในช่วงแรกคุณอาจจำเป็นต้องรับประทานอาหารทางสายยางชั่วคราว หรือให้ของเหลวโดยการหยดเข้าหลอดเลือดดำ หลังจากนั้นค่อยเปลี่ยนเป็นการรับประทานของเหลวทางปากและอาหารอ่อน และสุดท้ายคุณจะกลับมารับประทานอาหารแข็งได้ภายหลัง
ผู้ให้การบำบัดด้านการพูดและการสื่อสารจะประเมินความสามารถในการกลืนและให้คำแนะนำในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนนักโภชนาการ/นักกำหนดอาหารจะช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารที่อาจจำเป็นต้องทำระหว่างการรักษาโรค
การสนับสนุนและการให้คำแนะนำ
การรับมือกับการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเป็นเรื่องที่ยากมาก คุณอาจพบประโยชน์จากสิ่งต่อไปนี้:
- การพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว-โดยการเปิดใจคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณ และบอกพวกเขาว่า ครอบครัวและเพื่อนของคุณสามารถช่วยเหลือคุณได้อย่างไร
- การพูดคุยกับผู้อื่นที่อยู่ในสถานการณ์คล้ายกัน-คุณอาจต้องการพูดคุยกับกลุ่มสนับสนุนในชุมชนใกล้ๆ คุณ
- การหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่เป็น เช่น หาข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือการคุยกับบุคลากรทางการแพทย์ที่กำลังดูแลคุณอยู่ หากคุณมีคำถามใดๆ ที่สงสัยก็ตาม
- ให้เวลากับตัวเอง อย่าอายที่จะบอกเพื่อนและครอบครัวของคุณหากคุณต้องการเวลาให้กับตัวเอง
การทำงาน
การป่วยเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องลาออกจากงาน หรือยอมแพ้ในการทำงาน อย่างไรก็ตามคุณอาจจำเป็นต้องหยุดงานมากกว่าเดิม ระหว่างการรักษาคุณอาจไม่สามารถทำงานได้อย่างที่เคยทำมาก่อนได้
นายจ้างควรมีการปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานให้คุณอย่างสมเหตุผล เช่น:
- อนุญาตให้คุณหยุดงานเพื่อรับการรักษาและไปพบแพทย์ตามนัด
- อนุญาตให้คุณมีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ลักษณะงานที่ทำมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
ดังนั้นคุณควรแจ้งให้นายจ้างทราบข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ว่าคุณต้องการเวลาในการหยุดงานมากแค่ไหนและเมื่อไรที่ต้องหยุดงาน
การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ (palliative care)
หากคุณได้รับการแจ้งว่าไม่มีอะไรที่จะสามารถรักษาคุณได้เพิ่มเติมอีกแล้ว หรือคุณตัดสินใจไม่รับการรักษา แพทย์จะให้การสนับสนุนและให้การบรรเทาอาการปวดกับคุณ เราเรียกว่าการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
คุณสามารถเลือกการรักษาแบบประคับประคองได้ในสถานที่ดังนี้:
- ที่บ้าน
- ที่บ้านพักคนชรา
- ที่โรงพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง
การเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้ทั้งแรงใจและแรงกายอย่างมาก ทำให้คุณละเลยสุขภาพส่วนตัวและสุขภาพทางจิตใจของคุณเอง
คุณควรมีเวลาพักผ่อน ไม่ทำงานในการดูแลนานจนเกินไป หากคุณต้องดูแลคนอื่น คุณต้องดูแลตัวเองด้วย และขอรับการช่วยเหลือตามความจำเป็น