กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่คืออะไร?

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่แพทย์ใช้ตรวจสภาพภายในลำไส้ใหญ่เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเนื้องอกอันตรายที่นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในผู้ที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้การส่องกล้องยังอาจใช้เพื่อวินิจฉัยอาการอุจจาระเป็นเลือด หรืออาการของระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น อาการปวดหรือการทำงานของลำไส้ที่เปลี่ยนไป 

ผู้ที่มีอายุ 50 ปีทุกคนควรได้รับการตรวจลำไส้ใหญ่ และควรตรวจซ้ำทุกๆ 10 ปี หากไม่มีอาการแสดงให้เห็น ถ้าพบว่าประวัติครอบครัวมีคนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีติ่ง หรือมีภาวะบางอย่างที่เกี่ยวกับลำไส้ ก็อาจต้องเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุยังน้อยหรือต้องตรวจทุกปี

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

แพทย์มักจะแนะนำอาหารให้ผู้เข้ารับการตรวจรับประทานอย่างน้อย 1-2 วันก่อนเข้ารับการตรวจ และคืนก่อนเข้ารับการตรวจ แพทย์อาจให้ดื่มยาระบาย หรือให้ใช้ยาระบายแบบเหน็บ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ภายในลำไส้ใหญ่ขณะส่องกล้อง ในระหว่างนี้หากมีการใช้ยา วิตามิน หรืออาหารเสริม ให้แจ้งแพทย์ก่อนเพราะอาจต้องหยุดการใช้ยาบางชนิด

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

ในขั้นตอนแรก ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องขึ้นไปนอนตะแคงบนเตียงพร้อมรับยาระงับความรู้สึก ซึ่งอาจจะเป็นยาเม็ดหรือยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ในระหว่างที่ทำการตรวจ แพทย์จะสอดกล้องส่องลำไส้ใหญ่เข้าไปทางทวารหนักและลำไส้ใหญ่ กล้องนี้มีลักษณะเป็นหลอดเล็กยาวและมีความยืดหยุ่นสูง ที่ปลายของหลอดจะมีกล้องและไฟขนาดเล็กติดอยู่ ขณะตรวจกล้องจะเป่าอากาศเข้าไปในลำไส้ใหญ่ด้วยเพื่อให้ส่องดูภายในได้ดีขึ้น 

แพทย์จะดูภาพรวมทั้งหมดภายในลำไส้ใหญ่ และอาจมีการตัดตัวอย่างเนื้อเยื่อ หรือตัดติ่งในลำไส้ผ่านการส่องกล้อง ในกรณีที่แพทย์ต้องการชื้นเนื้อเพื่อตรวจหาโรคมะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

เป็นธรรมดาที่จะรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด หรือง่วงนอนหลังตรวจ บางคนอาจพบเลือดออกที่ลำไส้ในช่วงแรกๆ หลังเข้ารับการส่องกล้องด้วย ส่วนความเสี่ยงการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ที่พบบ่อย ได้แก่ ลำไส้ใหญ่ทะลุ และอาการแพ้ยาระงับความรู้สึก

หากมีอาการต่อไปนี้หลังส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ให้รีบกลับมาพบแพทย์ทันที

  • มีไข้
  • อาการปวดรุนแรง
  • เลือดออกจำนวนมากหรือเลือดออกเป็นก้อน
  • อ่อนเพลีย
  • วิงเวียนศีรษะ

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

อ่านเพิ่ม
9 สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่
9 สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจเกิดจากพฤติกรรมแลอาหารการกินที่สะสมมานานโดยที่เราไม่รู้ตัว อ่านสาเหตุใกล้ตั้ง 9 ข้อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?

ตัวเลือกอาหารที่เหมาะสมช่วยเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว

อ่านเพิ่ม