กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก

การเปลี่ยนแปลงอาหารเล็กๆ น้อยๆ หลังการผ่าตัดทำทวารเทียมจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับตัวได้
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก

หากคุณได้รับการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก คุณอาจสงสัยว่าคุณจะรับประทานอาหารอย่างไรหลังการผ่าตัด

การผ่าตัดทำทวารเทียมคืออะไร?

การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก (colectomy) จะนำส่วนลำไส้ใหญ่ (colon) ของคุณออกทั้งหมด ซึ่งลำไส้ใหญ่เป็นอวัยวะที่คล้ายกับท่อยาวที่ส่วนท้ายของทางเดินอาหารของคุณ การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกอาจจำเป็นต้องทำเพื่อรักษาหรือป้องกันโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อลำไส้ใหญ่ของคุณ การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกมีหลายชนิด ดังนี้

  • การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกทั้งหมด (total colostomy)
  • การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกบางส่วน (partial colectomy หรืออาจเรียกว่า subtotal colectomy ได้เช่นกัน)
  • การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่เฉพาะทางด้านขวาหรือซ้ายออก (hemicolectomy)
  • การผ่าตัดเอาทั้งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงออก (proctocolectomy)

การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกมักต้องใช้หัตถการอื่นๆ เพื่อช่วยต่อส่วนทางเดินอาหารที่ยังเหลืออยู่กลับเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้

ฉันจำเป็นต้องรับประทานอาหารใดที่จำเพาะหลังการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกหรือเปล่า?

โดยปกติแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับเพียงสารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นเวลาสองถึงสามวันหลังการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก เพื่อให้เวลาลำไส้ใหญ่ได้พักฟื้น หลังจากนั้น คุณอาจได้ลองรับประทานอาหารเหลวใส เช่น น้ำซุปใสและน้ำผลไม้ ตามด้วยอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปังปิ้งและข้าวโอ๊ต คุณอาจกลับไปรับประทานอาหารได้ตามปกติหลังจากนี้ แต่คุณอาจอยากจะเลี่ยงอาหารบางชนิดที่มีกลิ่นหรือทำให้มีลมมาก ซึ่งทำให้ถุงทวารเทียมโป่งพองมากและดูแลได้ยาก

อาหารที่บางครั้งอาจต้องจำกัดเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลถุงทวารเทียมของคุณ ได้แก่

  • ผักดิบ
  • ผิวและเปลือกของผลไม้ (ไม่มีปัญหาสำหรับเนื้อผลไม้)
  • ผลิตภัณฑ์จากนม
  • อาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น ซีเรียลหรือขนมปังรำข้าวสาลี (wheat bran)
  • ถั่วเมล็ดเล็ก (peas เช่น ถั่วลันเตา) ถั่วเมล็กแบน (beans เช่น ถั่วเหลือง) และถั่วแขก (lentils)
  • ข้าวโพดและข้าวโพดคั่ว
  • ข้าวซ้อมมือ
  • ถั่วเปลือกแข็งและธัญพืช
  • เค้ก พาย คุ้กกี้ และของหวานอื่นๆ
  • อาหารที่มีไขมันสูงและอาหารทอด เช่น ไก่ทอด ไส้กรอก และเนื้อที่มีมันมากอื่นๆ

อาหารชนิดอื่นๆ ที่มีประโยชน์หลังจากการทำทวารเทียม เนื่องจากทำให้อุจจาระข้นขึ้นและมีกลิ่นน้อยลง มีดังนี้

  • โยเกิร์ต (ชนิดมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต)
  • น้ำแครนเบอร์รี่
  • กล้วย
  • แอปเปิ้ลซอส
  • ข้าวเหนียวหุงสุก
  • บัตเตอร์มิลค์
  • มันสำปะหลัง
  • ขนมปังขาวปิ้ง

ทำไมการเคี้ยวอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียม?

ท้ายที่สุด คือ การเคี้ยวทุกอย่างที่รับประทานให้ละเอียด การเคี้ยวเป็นสิ่งที่สำคัญของขั้นตอนการย่อยอาหารและเราก็เคี้ยวอาหารละเอียดในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากคุณตั้งใจเคี้ยวอาหารให้ละเอียดดีจะช่วยให้คุณดูแลทวารเทียมของคุณได้ง่ายขึ้น ลองพยายามเคี้ยวทุกอย่างให้ละเอียดจนเหลวดู


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
mayoclinic.org, Ostomy: Adapting to life after colostomy, ileostomy or urostomy (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/colon-cancer/in-depth/ostomy/art-20045825)
Brian Krans, Colostomy (https://www.healthline.com/health/colostomy), January 8, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
9 สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่
9 สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจเกิดจากพฤติกรรมแลอาหารการกินที่สะสมมานานโดยที่เราไม่รู้ตัว อ่านสาเหตุใกล้ตั้ง 9 ข้อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง
ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีอะไรบ้าง

มะเร็งลำไส้ใหญ่มี 5 ระยะซึ่งแต่ละระยะจะมีการรักษาแตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่ม
การรับมือกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
การรับมือกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

สิ่งที่คุณต้องรู้เมื่อต้องใช้ชีวิตต่อไปหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4

อ่านเพิ่ม