ประโยชน์ของถั่วลันเตา อาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประโยชน์ของถั่วลันเตา อาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ

ถั่วลันเตา อาหารอีกหนึ่งชนิดที่ได้จากธรรมชาติโดยแท้ ประกอบไปด้วยประโยชน์อย่างมากมาย ล้วนแล้วแต่ทรงคุณค่าเพื่อบำรุงสุขภาพ ลักษณะโดยทั่วไปของถั่วลันเตา คือเป็นไม้เลื้อยมีลำต้นขนาดเล็ก ใบของถั่วลันเตาจะเป็นใบประกอบแบบขนนก โดยมีใบย่อยประมาณ 1 – 4 คู่ด้วยกัน ซึ่งใบย่อยของถั่วลันเตานั้น จะมีลักษณะเป็นรูปกึ่งวงกลม หรืออาจจะเป็นรูปวงรี โดยที่โคนใบจะกลม ส่วนปลายใบจะแหลม มีสีเขียวอ่อนจนกระทั่งถึงสีเขียวเข้ม ส่วนดอกของถั่วลันเตานั้น จะเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศที่ผสมตัวเองเป็นหลัก มีลักษณะเป็นช่อ กลีบดอกกลางจะสีขาว กลีบคู่ด้านข้างอาจจะมีแต้มสีม่วงแดง ส่วนกลีบคู่ล่างจะมีสีเดียวกัน ในหนึ่งฝักจะประกอบไปด้วยเมล็ด 4 – 10 เมล็ด สามารถรับประทานได้ตั้งแต่ฝักยังอ่อน และนับได้ว่าเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ดังนี้

ถั่วลันเตาประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ภายในถั่วลันเตา กลับประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสารฟลาโวนอยด์ สารแคโรทีนอยด์ หรือแม้กระทั่งกรดฟีโนลิก และ โพลีฟีนอล เป็นต้น ซึ่งสารต่าง ๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพสูง สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ภายในร่างกายของเรานั้นถูกทำลาย แถมยังคงมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ รวมไปถึงสามารถช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ถั่วลันเตายังคงมีวิตามินซี อี และสังกะสี ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างล้ำเลิศ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถั่วลันเตามีคุณสมบัติช่วยลดน้ำหนัก

หากขึ้นชื่อว่าเป็นถั่วลันเตา อีกหนึ่งคุณประโยชน์ของถั่วลันเตานั้น คงต้องยกให้กับประโยชน์ในการช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจากถั่วลันเตามีโปรตีนสูง และมีไขมันต่ำ ซึ่งส่งผลดีต่อกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนักได้อย่างชัดเจน อีกทั้งภายในถั่วลันเตายังคงประกอบไปด้วยไฟเบอร์สูง ที่สามารถช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนาน และทำให้ไม่เกิดอาการหิวบ่อยอย่างแน่นอน

[caption id="" align="aligncenter" width="300"] ถั่วลันเตา[/caption]

ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้เป็นอย่างดี

ภายในถั่วลันเตา ยังคงมี ไนอะซิน ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ที่จะช่วยทำให้ลดการสร้างไขมันไตรกลีเซอไรด์ พร้อมทั้งไขมัน VLDL ได้เป็นอย่างดี ซึ่งไขมันที่ถูกสร้างขึ้นนี้ ก็เพื่อทำหน้าที่ในการลำเลียงไตรกลีเซอร์ไรด์จากตับ เพื่อลำเลียงไปยังอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกาย พร้อมทั้งไตรกลีเซอไรด์ลดลง แต่สำหรับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีต่อร่างกาย จะมีอัตราเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันได้เป็นอย่างดี

ช่วยแก้อาการท้องผูก

สำหรับกลุ่มคนที่มีปัญหาอาการท้องผูก หากรับประทานถั่วลันเตาอย่างเป็นประจำ จะสามารถช่วยลดอาการท้องผูกได้อย่างแน่นอน เพราะถั่วลันเตาประกอบไปด้วยไฟเบอร์สูง จึงทำให้ระบบขับถ่ายของเราสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งระบบของลำไส้ จะสามารถทำงานได้เป็นปกติมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

ถั่วลันเตาช่วยบำรุงหัวใจ

ด้วยประสิทธิภาพของถั่วลันเตา ที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้แล้ว ยังคงสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันได้ อีกทั้ง ลูทีน พร้อมทั้ง ไฟเบอร์ ที่ค้นพบได้ภายในถั่วลันเตา ยังคงมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง และถั่วลันเตายังคงมี ไธอะมีน โฟเลต ไรโบฟลาวิน ไนอะซิน และวิตามินบี6 ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

[caption id="" align="aligncenter" width="500"] ถั่วลันเตา[/caption]

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในช่องท้องได้

การรับประทานถั่วลันเตาอย่างเป็นประจำทุกวัน จะสามารถช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคมะเร็งภายในช่องท้องได้อย่างแน่นอน คำยืนยันนี้ได้มากจากการศึกษาภายในประเทศเม็กซิโก ซึ่งค้นพบว่า ภายในถั่วลันเตา ประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ คูเมสทรอล ที่มีมากถึง 10 มิลลิกรัมภายในถั่วลันเตา 1 ถ้วย ซึ่ง คูเมสทรอลจะสามารถป้องกันการออกซิเดชั่น ที่ส่งผลทำให้เกิดอาการอักเสบภายในร่างกายได้นั่นเอง

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี

ไฟเบอร์ที่มีอยู่ภายในถั่วลันเตานั้น จะทำให้ถั่วลันเตาเป็นอาหารที่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากไฟเบอร์จะคอยทำหน้าที่ให้น้ำตาลภายในร่างกายถูกย่อยได้ช้าลง และสำหรับสารต้านอนุมูลอิสระจะยังคงช่วยป้องกันภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และสำหรับคาร์โบไฮเดรต พร้อมทั้งน้ำตาล ที่เราสามารถค้นพบได้ภายในถั่วลันเตานี้ จะยังคงส่งผลดีและเป็นมิตรต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างแท้จริง

ช่วยบำรุงสายตา

วิตามินที่สามารถช่วยบำรุงสายตาของคนเราได้ ก็ต้องเป็นวิตามินเอเท่านั้น ซึ่งเราค้นพบได้ในปริมาณมากจากถั่วลันเตา เพียงแค่เรารับประทานถั่วลันเตาแค่ครึ่งถ้วย เราจะสามารถได้รับวิตามินเอมากถึง 33 -34 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ร่างกายของคนเราควรจะได้รับต่อวัน นอกจากนี้ยังคงมีลูทีน ที่สามารถช่วยปกป้องสายตาจากการเกิดโรคต้อกระจกได้

ถั่วลันเตาช่วยบำรุงกระดูก

เนื่องจากถั่วลันเตาประกอบไปด้วยวิตามินเคสูง ถึงถือได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สามารถเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง อีกทั้งวิตามินเคยังส่งผลทำให้กระดูกสามารถสะสมแคลเซียมได้เพิ่มมากขึ้น และภายในถั่วลันเตายังคงมีวิตามินบี ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

ถั่วลันเตาอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

กลุ่มคนที่ต้องการเสริมธาตุเหล็กให้กับร่างกาย สามารถเลือกรับประทานถั่วลันเตาได้อย่างแน่นอน เนื่องจากถั่วลันเตาเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงสุขภาพได้อย่างแท้จริง แถมถั่วลันเตาเพียงแค่ครึ่งถ้วย กลับประกอบไปด้วยธาตุเหล็กมากกว่า 1.2 มิลลิกรัมด้วยกัน ยิ่งถ้าหากเรารับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยธาตุเหล็กอย่างเพียงพอต่อวัน จะส่งผลทำให้ร่างกายของเรานั้น ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และไม่ทำให้ร่างกายของเราอ่อนเพลียอย่างแน่นอน

ด้วยคุณประโยชน์ของถั่วลันเตา กลับทำให้เราทุกคนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ถั่วลันเตา คือสุดยอดอาหาร ที่สามารถช่วยบำรุงสุขภาพได้อย่างยอดเยี่ยม แถมถั่วลันเตายังคงมีรสชาติอร่อย รับประทานได้ง่าย สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healthy food trends - beans and legumes. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000726.htm)
Why Green Peas are Healthy and Nutritious. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/green-peas-are-healthy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ถั่วลันเตา (Peas)
ถั่วลันเตา (Peas)

ประโยชน์ของถั่วลันเตา คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณ ตัวอย่างเมนูน่ากินจากถั่วลันเตา และข้อควรระวัง

อ่านเพิ่ม