กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Lutein (ลูทีน)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ข้อมูลภาพรวมของลูทีน

ลูทีน (Lutein) ถูกเรียกว่าเป็นวิตามินแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่มีความเกี่ยวพันกับเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) และวิตามิน A อาหารที่อุดมไปด้วยลูทีนมีทั้งบล็อกโคลี, ผักเคล, ข้าวโพด, พริกหวาน, ผลกีวี่, องุ่น, น้ำส้ม, แตงซูกินี, ผักขม และสควอซ ลูทีนจะถูกดูดซึมได้ดีที่สุดเมื่อบริโภคพร้อมอาหารไขมันสูง

หลายคนเชื่อว่าลูทีนเป็น “วิตามินของตา” ที่ใช้ป้องกันโรคตาต่าง ๆ อย่างโรคจุดภาพชัดที่ตาเสื่อมจากอายุ (age-related macular degeneration(AMD)), ต้อกระจก (cataracts), และโรคจอตามีสารสี (retinitis pigmentosa)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บางคนยังใช้ลูทีนในการป้องกันมะเร็งลำไส้, มะเร็งเต้านม, เบาหวานประเภท 2, และโรคหัวใจ

ผลิตภัณฑ์วิตามินรวมหลายตัวมีการรวมลูทีนเข้าไปด้วย โดยมักจะมีในปริมาณค่อนข้างน้อยหรือ 0.25 mg ต่อเม็ดเท่านั้น

ลูทีนออกฤทธิ์อย่างไร?

ลูทีนเป็นแคโรทีนอยด์หลักหนึ่งจากสองตัวที่พบในเม็ดสีที่อยู่ในดวงตาของมนุษย์ (จุดภาพชัด (macula) กับจอตา (retina)) และถูกคาดว่าทำหน้าที่เป็นตัวกรองแสงป้องกันเนื้อเยื่อตาจากแสงอาทิตย์ และป้องกันดวงตาจากอนุมูลอิสระ

การใช้และประสิทธิภาพของลูทีน

ภาวะที่ใช้ลูทีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะขาดลูทีน (Lutein deficiency) การรับประทานลูทีนสามารถป้องกันภาวะขาดลูทีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาวะที่อาจใช้ลูทีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โรคจุดภาพชัดตาเสื่อมจากอายุ (age-related macular degeneration (AMD)) การศึกษาประชากรกล่าวว่าผู้ที่บริโภคลูทีนพร้อมอาหารในปริมาณที่สูงจะมีความเสี่ยงต่อ AMD ที่ลดลง อย่างไรก็ตามการบริโภคเช่นนี้อาจไม่ลดความเสี่ยงของกลุ่มคนที่มีการบริโภคลูทีนในปริมาณสูงมากเป็นประจำอยู่แล้ว การทานอาหารเสริมลูทีนนาน 12 เดือนสามารถลดบางอาการของ AMD ได้ แต่ไม่อาจป้องกันไม่ให้ภาวะ AMD ทรุดลงได้ ส่วนงานวิจัยในเรื่องประโยชน์ของลูทีนกับส่วนผสมอื่น ๆ ยังคงให้ข้อสรุปที่ขัดแย้งกันเองอยู่
  • ต้อกระจก (Cataracts) การศึกษาบางชิ้นได้กล่าวว่าการรับประทานลูทีนปริมาณสูงอาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกได้ โดยทุกๆ 10 g ของ Lutein จะช่วยความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้ 26 %

ภาวะที่ลูทีนอาจไม่สามารถรักษาได้

  • โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (coronary heart disease) งานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานลูทีนปริมาณสูงไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ และเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันในคนสูบบุหรี่

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ลูทีนรักษาได้หรือไม่

  • มะเร็งเต้านม (Breast cancer) มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าระดับลูทีนในเลือดที่สูงนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมที่ลดลง
  • มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) งานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานลูทีนในอาหารปริมาณต่ำนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
  • ภาวะพันธุกรรมที่ทำให้สูญเสียการมองเห็น (choroideremia) งานวิจัยกล่าวว่าการทานลูทีนทุกวัน 20 mg นาน 6 เดือนไม่ได้ช่วยเรื่องการมองเห็นของผู้ป่วย choroideremia
  • การทำงานทางจิต งานวิจัยบางชิ้นได้กล่าวว่าการทานลูทีน 12 mg ร่วมกับ docosahexaenoic acid (DHA) 800 mg นาน 4 เดือนจะช่วยเพิ่มความสามารถด้านการพูดและความจำของผู้หญิงสูงอายุได้
  • มะเร็งทวารหนักและลำไส้ ยังคงมีข้อมูลที่ว่าการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยลูทีนปริมาณมากสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้หรือมะเร็งทวารหนักที่ขัดแย้งกันอยู่
  • เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยกล่าวว่าระดับลูทีนในเลือดหรือแคโรทินอยด์อื่น ๆ ที่ต่ำนั้นเชื่อมโยงกับปัญหาน้ำตาลในเลือด ซึ่งจากทฤษฎีแล้ว การรับประทานลูทีนอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานลง อย่างไรก็ตามข้อมูลจากงานวิจัยอื่นกล่าวแย้งว่าการบริโภคลูทีนมาก ๆ นั้นไม่ได้เป็นการลดความเสี่ยงเบาหวานลงแต่อย่างใด
  • ปวดกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกาย มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยลูทีน (BioAstin) ทุกวันนาน 3 สัปดาห์ก่อนออกกำลังกายไม่อาจลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายได้
  • ตาล้า (asthenopia) มีงานวิจัยที่กล่าวว่าการทานลูทีนร่วมกับอาหารเสริมอื่น ๆ อาจลดอาการตาล้าได้ แต่ผลจากการบริโภคลูทีนเพียงอย่างเดียวนั้นยังคงไม่ชัดเจน
  • มะเร็งปอด มีงานวิจัยกล่าวว่า ลูทีนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดในกลุ่มคนสูบบุหรี่ หรือทำงานเกี่ยวกับแร่ใยหิน
  • ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าระดับลูทีนในเลือดที่สูงนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างมีครรภ์ที่น้อยลง แต่ยังคงไม่ชัดเจนว่าการทานอาหารเสริมลูทีนจะลดความเสี่ยงต่อภาวะความดันเลือดสูงระหว่างตั้งครรภ์ได้จริง
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าระดับลูทีนในเลือดที่ต่ำนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากที่เพิ่มขึ้น
  • ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าระดับลูทีนในเลือดที่สูงไม่ได้เชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ
  • โรคจอประสาทตาผิดปรกติในทารกคลอดก่อนกำหนด (retinopathy of prematurity) งานวิจัยกล่าวว่าลูทีนไม่อาจลดความเสี่ยงหรือความรุนแรงของภาวะจอประสาทตาผิดปรกติในทารกคลอดก่อนกำหนดได้
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของลูทีนเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของลูทีน

ลูทีนถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม โดยการบริโภคที่ 6.9-11.7 mg/วันในอาหารนั้นจัดว่าปลอดภัย อาหารเสริมลูทีนถูกกำหนดให้ใช้อย่างปลอดภัยที่ 15 mg ต่อวันเป็นเวลานาน 2 ปี

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ลูทีนถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อบริโภคในปริมาณเดียวกับที่พบในอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic fibrosis): ผู้ป่วยโรคซิสติก ไฟโบรซิส  มักจะมีปัญหาในการดูดซึมสารอาหารจากระบบทางเดินอาหารผิดปกติ จึงมีปัญหาในการดูดซึมลูทีน และมีระดับลูทีนในเลือดต่ำ

ลูทีนเป็นสารที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอด จึงควรระวังการใช้ในคนสูบบุหรี่

การใช้ลูทีนร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลปฏิสัมพันธ์ของลูทีน

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน:

  • สำหรับลดความเสี่ยงต่อภาวะต้อกระจกและจัดภาพชัดตาเสื่อมจากอายุ (AMD): ลูทีน 6 mg ต่อวันทั้งจากอาหารหรืออาหารเสริม ผู้ที่บริโภคลูทีนที่ 6.9-11.7 mg ต่อวันจากการรับประทานอาหารจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต้อกระจกและ AMD ที่ต่ำลง
  • สำหรับลดอาการของ AMD: อาหารเสริมลูทีน 10 mg ต่อวัน

ผักเคลปรุงสุกจะมีลูทีน 44 mg /ถ้วย, ผักโขมจะมีลูทีน 26 mg/ ถ้วย, และบล็อกโคลีจะมีลูทีน 3 mg/ถ้วย


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Xiaoming Gong, Carotenoid Lutein Selectively Inhibits Breast Cancer Cell Growth and Potentiates the Effect of Chemotherapeutic Agents through ROS-Mediated Mechanisms (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p...), 14 April 2018
Monika A. Zielińska, Health Effects of Carotenoids during Pregnancy and Lactation (https://www.mdpi.com/2072-6643...)
Martha L Slattery, Carotenoids and colon cancer (https://academic.oup.com/ajcn/...), 1 February 2000

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)