กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Niacin (ไนอะซิน)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ไนอะซิน คืออะไร?

ไนอะซิน (Niacin) หรืออาจเรียกว่า นิโคตินิค แอสิด (Nicotinic acid) เป็นวิตามินบี (วิตามินบี 3) ถูกใช้เป็นวิตามินเสริม และใช้ร่วมกับยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ส่วนใหญ่จะถูกใช้บ่อยในการป้องกันโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บางคนรับประทานไนอะซินเพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินบี 3 แต่คนส่วนใหญ่รับประทานเพื่อช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ไนอะซินจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมันต่ำ และคอเลสเตอรอลต่ำ

ไนอะซินถูกใช้เป็นวิตามินเสริมเพื่อรักษาอาการขาดไนอะซินตามธรรมชาติในร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวายในคนที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงซึ่งเป็นโรคหัวใจวายอยู่แล้ว และใช้เพื่อรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

ไนอะซินมีการวางจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยาซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ มีทั้งในรูปแบบยาเดี่ยว และรูปแบบผสมกับวิตามินอื่น ราคามีหลากหลายตั้งแต่ไม่กี่สิบบาทจนถึงหลายร้อยบาท

คำเตือนของไนอะซิน

มีการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ลง New England Journal of Medicine ในปี ค.ศ. 2014 แสดงให้เห็นว่าไนอะซินไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง และยากที่จะทนต่อยาได้ ในขณะที่การศึกษาเหล่านั้นก็ไม่ได้ให้หลักฐานเพียงพอที่จะยกเลิกคำแนะนำในการรับประทานไนอะซิน วารสารสรุปว่าผู้ป่วยที่ยังไม่ได้เริ่มรับประทานไนอะซินอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องเริ่มรับประทาน

สิ่งที่จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชรกทราบก่อนใช้ยานี้คือ ชื่อยาหรืออาหารที่คุณแพ้ ยาที่กำลังรับประทานอยู่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นยาที่ซื้อมาใช้เอง วิตามิน ยาที่ไม่ถูกกฎหมาย และผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของไนอะซิน

ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบถ้าคุณเป็นโรคเบาหวาน มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต ปัญหาถุงน้ำดี ภาวะโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกาต์ เป็นแผลที่กระเพาะอาหาร การทบทวนประวัติการใช้ยาย้อนหลังมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไนอะซินและการตั้งครรภ์

มีรายงานว่าการใช้ไนอะซินเพื่อรักษาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจจะมีอันตรายต่อเด็กที่ยังไม่คลอดออกมา ไนอะซินสามารถถูกส่งผ่านทางน้ำนม และอาจจะมีอันตรายต่อเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่ได้ ดังนั้นการใช้ไนอะซินในหญิงให้นมบุตรควรมีการปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อน

อาการข้างเคียงของไนอะซิน

อาการการข้างเคียงทั่วไป

อาการข้างเคียงที่รุนแรงของไนอะซิน

  • คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ผิวแดงร่วมกับมีอาการมึนงง
  • มีอาการแพ้รุนแรง
  • ปวดศีรษะเล็กน้อย เป็นลม
  • หัวใจเต้นเร็ว หรือไม่สม่ำเสมอ
  • อุจจาระเป็นสีเทา
  • คันที่ผิวหนัง หรือเป็นผื่น
  • ปวดท้องรุนแรง
  • หายใจสั้น
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • ผิวหรือดวงตามีสีเหลือง
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเหมือนเป็นไข้

ปฏิกิริยาของไนอะซิน

ปฏิกิริยาระหว่างไนอะซินและยาอื่น

ผู้ที่เป็นโรคตับรุนแรง เป็นแผลหรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหารไม่ควรรับประทานไนอะซิน ไนอะซินอาจทำให้ผลตรวจปัสสาวะผิดปกติ ถ้าต้องตรวจหายาในปัสสาวะ ควรแจ้งผู้ที่ทำการตรวจก่อน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไนอะซินร่วมกับยาลดไขมันในเลือดคอเลสติพอล (Colestipol) หรือคอเลสไทรามีน (Cholestyramine) หรือรับประทานยาเหล่านี้ก่อนรับประทานไนอะซิน 4-6 ชั่วโมง

ขนาดการใช้ของไนอะซิน

ควรรับประทานตามคำแนะนำข้างฉลาก บางครั้งอาจรับประทานก่อนนอนพร้อมกับขนมขบเคี้ยวที่มีไขมันต่ำ การรับประทานยา เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ แอสไพริน (Aspirin) 30 นาทีก่อนรับประทานไนอะซินจะช่วยป้องกันอาการข้างเคียง เช่น ผิวแดง ได้

รับประทานไนอะซินพร้อมกับน้ำเย็นเต็มแก้ว ควรกลืนยาทีเดียวทั้งเม็ด การตัดแบ่งหรือบดยาอาจจะทำให้ได้รับปริมาณยาต่อครั้งมากเกินไปปริมาณขนาดการใช้ยาที่แนะนำของไนอะซินขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ และภาวะโรคที่เป็นอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

 

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)