อัลไซเมอร์เป็นโรคที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินมาก่อนว่า เป็นโรคเกี่ยวกับความจำที่สั้นลง ทำให้หลงลืมสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่ายจนส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันหลายอย่าง
รู้จักโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เกิดจากการตายของเซลล์ในสมอง หรือเกิดจากเซลล์ในสมองหยุดการทำงานเอง จึงมีผลทำให้การทำงานของสมองแย่ลงจนเสื่อมตัว
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากสมองมีการเสื่อมตัวมากขึ้น หรือไม่ได้รับการรักษาในระยะเวลาภายใน 8-10 ปี ความเสื่อมของสมองผู้ป่วยก็จะรุนแรงและลุกลามได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและอาจเกิดอันตรายได้
ความแตกต่างระหว่างโรคอัลไซเมอร์กับภาวะสมองเสื่อม
หลายคนอาจสับสนระหว่าง "โรคอัลไซเมอร์" กับ "ภาวะสมองเสื่อม" ว่า เป็นภาวะ หรือโรคเดียวกันหรือไม่
จริงๆ แล้ว ทั้ง 2 ภาวะนี้มีความหมายแตกต่างกัน โดย "ภาวะสมองเสื่อม" จะเป็นคำเรียกภาวะกว้างๆ เกี่ยวกับการสูญเสีย หรือความสามารถที่ลดลงของสมอง ซึ่งเกี่ยวกับความทรงจำ ความคิด ภาษา การตัดสินใจ และพฤติกรรม ไม่ได้เจาะจงว่า เป็นโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
ดังนั้นโรคอัลไซเมอร์จึงจัดเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในภาวะสมองเสื่อมและยังพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้พบว่า ในจำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด มีผู้ป่วยถึง 60-80% ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
อาการของโรคอัลไซเมอร์
ยิ่งระยะเวลาผ่านไป อาการของโรคอัลไซเมอร์จะค่อยๆ แสดงออกให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยทั่วไปอาการของโรคอัลไซเมอร์จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะหลัก ๆ ได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
1. อาการระยะเริ่มแรก
ในระยะเริ่มแรก อาการหลักของโรคอัลไซเมอร์คือ ผู้ป่วยจะเริ่มความจำเสื่อม มีอาการหลงลืมในสิ่งที่ต้องทำ หรือเห็นอยู่เป็นประจำทุกวัน เช่น
- ลืมบทสนทนาที่จะพูด
- ลืมเหตุการณ์ล่าสุดที่เพิ่งเจอมา
- ลืมชื่อสถานที่ วัตถุ
- มีปัญหาในการคิดคำพูดที่ถูกต้อง
- ย้ำคิดย้ำทำเป็นประจำ เช่น ถามคำถามเดิมๆ หลายครั้ง
- มักตัดสินใจผิดพลาด หรือไม่สามารถตัดสินใจได้
- ปรับตัวเข้ากับสิ่งรอบตัวได้ช้าลง
- ลังเลที่จะลองสิ่งใหม่ๆ
- มีสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น มีการตื่นตระหนก เกิดอาการสับสนขึ้นเป็นระยะๆ
2. อาการระยะปานกลาง
ผู้ป่วยจะเริ่มสับสนและมึนงงกับสิ่งรอบตัวและใกล้ตัวมากขึ้น เช่น ไม่ทราบว่าตอนนี้เวลากี่โมง วันนี้เป็นวันอะไร หลงทางทั้งๆ ที่ก็เคยเดินทางในเส้นทางนี้อยู่บ่อยๆ
นอกจากนี้ยังมีอีกอาการอื่นๆ ที่แสดงออกมาอีก เช่น
- เกิดภาวะย้ำคิด ย้ำทำซ้ำๆ
- เกิดอาการหลงผิด รู้สึกหวาดระแวง และสงสัยในผู้ดูแล หรือแม้แต่สมาชิกในครอบครัว
- มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด หรือภาษา (Aphasia)
- นอนหลับไม่เต็มที่
- เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ เช่น อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ บ่อยครั้ง เกิดอาการซึมเศร้าและความรู้สึกกังวลมากขึ้น ผิดหวัง หรือกระวนกระวายใจ อยู่ไม่เป็นสุข
- ยากที่จะทำงานเกี่ยวกับเรื่องพื้นที่ หรือการคำนวณระยะทาง เช่น การกะระยะทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
- เกิดภาพหลอน
3. อาการระยะสุดท้าย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ในระยะหลังๆ ของโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยจะมีอาการจะรุนแรงขึ้น ดังนี้
- มีอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา แต่อาการนี้อาจเกิดขึ้นแบบเป็นๆ หายๆ ตลอดช่วงที่เจ็บป่วย
- เคี้ยวอาหารและกลืนได้ลำบาก (Dysphagia)
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือเรียกร้องความสนใจ
- ยากที่จะเคลื่อนที่ หรือเดินไปรอบๆ ได้ โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว แม้จะรับประทานอาหารมากขึ้นก็ตาม
- กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะปัสสาวะ หรืออุจจาระเล็ด (Urinary or Bowel incontinence)
- สูญเสียความสามารถในการสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถเรียบเรียงคำพูดสื่อสารให้อีกฝ่ายเข้าใจได้
- เกิดปัญหาทั้งความจำระยะสั้น และระยะยาว
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองฝ่อลง ทำให้มีผลกระทบต่อโครงสร้างและหน้าที่ของพื้นที่สมองในส่วนนั้นๆ
ปัจจุบันยังไม่สามารถทราบอย่างแน่ชัดได้ว่า "กระบวนการฝ่อตัวของสมองเริ่มต้นขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากอะไร" แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบดังนี้
ในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมี "กลุ่มแผ่นแอมีลอยด์ (Amyloid plaques)" ซึ่งเกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ และความไม่สมดุลของสารเคมีสื่อประสาทที่ชื่อว่า "อะซีทิลคอลีน (Acetylcholine)"
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น เช่น
วิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่จะมียาบางชนิดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เช่น ได้ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส (Cholinesterase inhibitor) ได้แก่
- โดเนเพซิล (Donepezil)
- กาลันตาไมน์ (Galantamine)
- ไรวาสติกไมน์ (Rivastigmine)
แต่หากระยะอาการของผู้ป่วยเริ่มรุนแรงมากขึ้นและสารสื่อประสาทอะซีทิลคอลีนผลิตได้น้อยลง ตัวยาเหล่านี้ก็ไม่มีผลช่วยในการรักษาต่อได้
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่มนี้ยังอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ โดยมักจะเกิดกับระบบทางเดินอาหารเสียส่วนมาก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
- เมเมนไทน์ (Memantine) เป็นยาในกลุ่ม N-methyl D-aspartate antagonist ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะรุนแรงซึ่งมีปริมาณสารสื่อประสาทกลูตาเมต (Glutamate) มากเกินไป จนทำให้เซลล์ในสมองของผู้ป่วยถูกทำลาย แม้ว่า สารสื่อประสาทดังกล่าวมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และความจำ แต่หากมีมากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้ สำหรับผลข้างเคียงของยาเมเมนไทน์ประกอบด้วยอาการท้องผูก ปวดหัว รู้สึกวิงเวียน และสับสน
- โดเนเพซิล + เมเมนไทน์ (Donepezil+ Memantine) เป็นยาที่ได้รับการผสมกันระหว่างกลุ่มยาโคลีนเอสเทอราส อินฮิบิเตอร์ และกลุ่มยา N-methyl D-aspartate antagonist เป็นยาชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติสามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ทุกระยะ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีสั่งจ่ายยาที่กล่าวไปข้างต้นเพื่อบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์แล้ว แพทย์อาจมีการสั่งจ่ายยากลุ่มอื่นๆ เพื่อลดปัญหาพฤติกรรมของผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นจากโรคอัลไซเมอร์ด้วย เช่น
- ยาลดอาการซึมเศร้า (Antidepressants)
- ยากันชัก (Anticonvulsants)
- ยาจิตเวช (Antipsychotics)
- ยาคลายกังวล (Anti-anxiety drugs)
- ยาช่วยนอนหลับ
การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ คือ รูปแบบหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมและความจำเสื่อม ภาวะนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีความจำและทักษะการใช้ชีวิตที่ถดถอยลงอย่างช้าๆ และอย่างต่อเนื่อง
เมื่อถึงระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยก็จะไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม การสื่อสาร หรือกิจวัตรประจำวันของตนเองได้
ดังนั้นเพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไม่แย่ลง ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จึงควรมีผู้ดูแลอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยชะลออาการของโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้และทำให้อาการของโรคไม่บั่นทอนความปลอดภัยในชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้น เช่น
- ลืมปิดเตาแก๊ส
- ลืมว่า ยา หรือสารใดที่อยู่ในบ้านก่อให้เกิดอันตรายได้
- ไม่เข้าใจเรื่องเวลาและสถานที่ เช่น จำบริเวณรอบบ้านไม่ได้ หลงทางขณะเดินอยู่บนถนนแถวบ้าน หรือเดินออกจากบ้านเอง
- มีความสามารถในการตัดสินใจที่ลดลง เช่น ใช้อุปกรณ์ภายในบ้านอย่างผิดวิธี
- สับสน หวาดระแวง หรือหวาดกลัวง่ายขึ้น
- มีการรับรู้ข้อมูลใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไป
เคล็ดลับการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
สำหรับเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ดีขึ้น และทำให้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยอยู่ในความปลอดภัยขึ้น ได้แก่
- ติดตั้งสัญญาณเตือนเมื่อมีควัน หรือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) ทั่วทั้งบ้าน
- ปิดสวิตซ์เตาแก๊ส
- ติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟฟ้า
- ใช้ที่ครอบปลั๊กไฟเมื่อไม่ได้ใช้งาน
- ติดตั้งราวบันไดและราวเกาะในห้องน้ำที่แข็งแรง
- เก็บปืน อาวุธอันตราย ยา น้ำยาทำความสะอาด กระป๋องน้ำมัน และแอลกอฮอล์ในที่ปลอดภัย มิดชิดและปิดล็อคไว้เสมอ
- เคลื่อนย้ายสิ่งของที่อาจทำให้สะดุดล้มให้อยู่ในมุมที่เหมาะสม เช่น โต๊ะกาแฟ เก้าอี้ ชั้นวางของ
- ทำให้ภายในบ้านมีแสงสว่างอยู่เสมอ
- ติดป้ายอธิบายเกี่ยวการใช้ชีวิตประจำวันภายในบ้านไว้ให้ผู้ป่วยอ่าน และควรอยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย เช่น การทำกิจวัตร ควรไปที่ไหน หรือควรระวังอะไร
- ทาสีผนังและพื้นห้องด้วยสีที่ต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น
- ไม่ใช้ผ้าม่านและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่มีการออกแบบ หรือมีลวดลายซับซ้อน
- ทดสอบน้ำที่ใช้ทุกที่ในบ้านว่า มีอุณหภูมิน้อยกว่า 120 องศาฟาเรนไฮต์
- ตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารในบ้านบ่อยๆ
- เก็บสิ่งของที่ผู้ป่วยอาจจะเข้าใจผิดให้พ้นมือ เช่น ยาสีฟันซึ่งอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร
- ลดระดับเสียงพูดและดนตรีให้เบาลง เพื่อเน้นให้ผู้ป่วยได้ฟังการพูดสื่อสารระหว่างผู้ดูแลได้ชัดๆ
วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ถึงแม้ตอนนี้จะยังไม่มีวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ให้เกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด แต่หากคุณรู้จักวิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะความจำสั้นหรือภาวะสมองเสื่อม และทำให้สมองมีความจำที่ดีขึ้นได้ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็จะยิ่งน้อยลงไป เช่น
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง เช่น ดื่มเหล้าจัด สูบบุหรี่
- หากิจกรรมเพื่อฝึกฝนสมองบ้าง เพื่อให้สมองได้ใช้ความคิดและต้องรู้จักจำข้อมูลบางอย่าง เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ที่ต้องใช้การวางแผนและตัดสินใจ เช่น หมากรุก หมากฮอส คิดเลข
- หากิจกรรมที่ทำให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ต้องเชื่อมโยงกัน อาจเป็นการออกกำลังกาย หรือเต้นแอโรบิค เล่นโยคะ
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ให้ได้อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์)
- ไม่เก็บตัวเงียบ ลองเข้าสังคม หรือพบปะผู้คนบ้าง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่นอนดึกเกินไปเพราะจะทำให้สมองอ่อนล้า
- หัดฝึกสมาธิ มีสติเมื่อต้องลงมือทำสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
- ตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ เพื่อติดตามดูความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ไปด้วย
โรคอัลไซเมอร์จะคลายความน่ากลัวและชะลอความรุนแรงของอาการลงได้ หากคนรอบข้าง ผู้ดูแล รวมทั้งผู้ป่วยมีความรู้จักและเข้าใจในตัวโรคอย่างแท้จริง
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ต้องดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ แบบไหนคะ หรือมียาอะไรที่มีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด