ถั่วลันเตา (Peas)

ประโยชน์ของถั่วลันเตา คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณ ตัวอย่างเมนูน่ากินจากถั่วลันเตา และข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ถั่วลันเตา (Peas)

ประโยชน์ของถั่วลันเตา คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณ ตัวอย่างเมนูน่ากินจากถั่วลันเตา และข้อควรระวัง

ถั่วลันเตา เป็นพืชตระกูลถั่วสีเขียว มีรสชาติหวาน กรอบ และอร่อย จึงนิยมนำมาประกอบอาหารอย่างหลากหลายทั่วโลก นอกจากรับประทานง่ายแล้ว ถั่วลันเตายังมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำความรู้จักถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา (Peas) หรือถั่วหวาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pisum sativum  มีถิ่นกำเนิดจากแถวเอเชียตอนกลาง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ฝักเหนียวและแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูก เพื่อทานเมล็ด ภายในฝักจะมีเมล็ดขนาดใหญ่ 3-8 เมล็ด และสายพันธุ์ปลูกเพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมีขนาดใหญ่ มีปีก ฝักแบน 

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา 100 กรัม มีพลังงาน 84 กิโลแคลอรี และมีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

คาร์โบไฮเดรต 15.6กรัม น้ำตาล 5.9 กรัม ใยอาหาร 5.5 กรัม โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 0.2กรัม แคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 271 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 117 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 39มิลลิกรัม แมงกานีส 0.5มิลลิกรัม โซเดียม3 มิลลิกรัม สังกะสี 1.2มิลลิกรัม วิตามินเอ801 ไอยู วิตามินบี 3 2มิลลิกรัม วิตามินซี 14.2 มิลลิกรัม วิตามินเค 25.9ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 449 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 2,477 ไมโครกรัม 

สรรพคุณของถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา มีสรรพคุณที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. รับประทานเพื่อลดน้ำหนัก ถั่วลันเตาเป็นพืชที่มีใยอาหารและโปรตีนสูง ทำให้อิ่มท้องนาน ลดการกินจุกจิกได้ดี จึงนิยมนำมาประกอบเมนูอาหารต่างๆ เพื่อลดน้ำหนัก
  2. ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ในถั่วลันเตามีไฟเบอร์ทั้งชนิดที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ จึงช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดีขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูกเป็นประจำ
  3. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด สาร Flavonoids ในถั่วชนิดนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในร่างกาย เพิ่มการทำงานของสารลดระดับไขมันในเลือด และช่วยลดคอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ เช่น หลอดเลือดสมองหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เป็นต้น
  4. ช่วยบำรุงสายตา นอกจากลูทีนและซีแซนทีนแล้ว ถั่วชนิดนี้ยังมีวิตามินเอ ที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของดวงตาก่อนวัยอันควร และช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระที่อาจทำลายดวงตาในอนาคตได้ด้วย
  5. เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ถั่วลันเตา เป็นพืชที่มีโปรตีนสูง จึงนิยมนำมารับประทานเพื่อชดเชยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในผู้ที่รับประทานอาหารเจ หรือผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ แต่ไม่สามารถรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมากได้
  6. ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง เช่นหัวใจ เบาหวาน มะเร็งได้  เนื่องจากวิตามินและสารอาหารหลายตัวในถั่วลั่นเตา ช่วยลดระดับความดันเลือดได้ จากการวิจัยในประเทศเม็กซิโกพบว่า การรับประทานถั่วลันเตาเป็นประจำ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งภายในช่องท้องได้ เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดในถั่ว จะป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นที่ส่งผลยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง

เมนูสุขภาพจากถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา สามารถนำมาประกอบได้ทั้งอาหารคาวและเครื่องดื่ม ดังนี้

  1. ผัดถั่วลันเตาใส่หมู เตรียมเนื้อหมู ถั่วลันเตา พริกแดงสดกรีดตามยาว ไข่ไก่ กระเทียม เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วให้นำกระเทียม และหมูลงผัดให้สุกตามด้วยไข่ พร้อมกับถั่วลันเตาและพริก ปรุงรสตามใจชอบ
  2. ข้าวผัดใส่ถั่วลันเตา เตรียมข้าวสวย ไก่หั่นสี่เหลี่ยม ถั่วลันเตา ข้าวโพด และกระเทียม เริ่มจากเจียวกระเทียมในกระทะ จากนั้นใส่ไก่ลงไปผัดให้สุก ตามด้วยข้าวสวย ข้าวโพดและถั่วลันเตา ปรุงรสตามใจชอบ
  3. เต้าหู้ทอดราดถั่วลันเตาผัดกุ้ง นำเต้าหู้ขาว หรือเต้าหู้ไข่ชุบแป้งแล้วนำไปลงทอดในกระทะจนเหลืองทอง จากนั้นให้นำขึ้นมาตั้งพักไว้ นำถั่วลันเตาใส่ลงกระทะ ตามด้วยกุ้งสด ผัดทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันพร้อมปรุงรสตามต้องการ เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ให้นำเอาเต้าหู้ชุบแป้งทอดมาจัดบนจานให้สวยงาม จากนั้นราดด้วยถั่วลันเตาผัดกุ้งลงไป  
  4. เครื่องดื่มโปรตีนจากถั่วลันเตา นำถั่วลันเตาใส่เครื่องปั่นแล้วปั่นให้ละเอียด เติมนมจืดพร่องมันเนยไขมันปั่นให้เข้ากันอีกครั้ง เทใส่แก้วแล้วดื่มทันที อาหารเพิ่มมากขึ้นแล้ว

ข้อควรระวัง

ถั่วลันเตา เป็นพืชที่มีสาวพิวรีน (Purine) ซึ่งเป็นสารที่จะไปขัดขวางการขับกรดยูริกในร่างกายออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกาต์และนิ่ว เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป ส่วนผู้ที่เป็นโรคเกาต์ และโรคไต ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วชนิดนี้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน, ถั่วลันเตา (https:hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/76)
The world’s healthiest foods, Green peas (http://www.whfoods.com/genpage.php?tname=foodspice&dbid=55)
Brianna Elliott, Why Green Peas are Healthy and Nutritious (https://www.healthline.com/nutrition/green-peas-are-healthy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป