กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

กระเทียม (Garlic)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กระเทียมเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาภาวะ หรือโรคต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคความดันโลหิต โรคมะเร็ง อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคข้อเสื่อม โรคสมองอักเสบ
  • สารในกระเทียมอย่างสารอะโจดีน มีสรรพคุณดีๆ ต่อร่างกายมากมาย เช่น รักษาโรคน้ำกัดเท้า โรคสังคัง โรคกลาก
  • กระเทียมสามารถส่งผลข้างเคียงให้ยาหลายชนิดมีประสิทธิภาพการรักษาลดลง เช่น ยาไอโซนาอาซิด ยากลุ่ม NNRTIs ยาคุมกำเนิด
  • ยาเม็ด หรือยาผงจากกระเทียมสามารถช่วยรักษาภาวะต่างๆ เช่น หลอดเลือดแข็งตัว คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน แต่จะมีปริมาณการรับประทานแตกต่างกัน
  • การรับประทานกระเทียมอาจส่งผลข้างเคียงทำให้มีกลิ่นปาก แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้อาเจียน และมีกลุ่มคนที่ต้องระมัดระวังในการรับประทานกระเทียม เช่น ผู้มีภาวะเลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต ผู้กำลังเข้ารับการผ่าตัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

กระเทียม (Garlic) เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่ได้รับความนิยมทั่วโลก เพราะสามารถนำมาปรุงอาหารให้มีรสชาติหอมอร่อยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กระเทียมยังสามารถใช้เป็นยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้มากมาย เช่น

  • โรคเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย
  • โรคมะเร็งหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งปอด
  • การติดเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อยีสต์ เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไว้หวัด เชื้อหูด วัณโรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • อาการปวดต่างๆ หรืออักเสบ เช่น อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย อาการปวดหัว ปวดท้อง ปวดหัว ปวดไขข้อ โรคข้อเสื่อม กระเพาะอาหารอักเสบ โรคตับอักเสบ โรคสมองอักเสบ

สารอาหารในกระเทียม

ในกระเทียมสด 136 กรัม มีสารวิตามินที่ให้คุณประโยชน์มากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2  วิตามินซี วิตามินอี สารโฟเลต สารโคลีน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประโยชน์ของกระเทียม

กระเทียมมีประโยชน์ต่อการรักษาโรค และอาการเจ็บป่วยได้มากมาย โดยภาวะที่สามารถใช้กระเทียมมามีส่วนในการรักษาได้ ได้แก่

1. หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

เมื่อคุณอายุมากขึ้น หลอดเลือดแดงจะสูญเสียความสามารถในการยืด และรัดตัวลง ซึ่งกระเทียมมีสรรพคุณช่วยชะลอความเสื่อมของหลอดเลือดได้ โดยให้คุณรับประทานอาหารเสริมที่มีผงกระเทียม (Allicor, INAT-Farma) 2 ครั้งต่อวัน นาน 24 เดือน อาจช่วยลดความเร็วของความเสื่อมถอยนี้ได้ 

2. โรคเบาหวาน (Diabetes)

กระเทียมมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารของผู้ที่เป็น และไม่ได้เป็นเบาหวานได้ โดยเฉพาะหากรับประทานมานานอย่างน้อย 3 เดือน 

3. ความดันโลหิตสูง 

การรับประทานกระเทียมอาจช่วยลดตัวเลขความดันทั้ง 2 ตัวเลข ได้แก่

  • ลดความดันซิสโทลิก (Systolic blood pressure) หรือความดันโลหิตในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัว ได้ประมาณ 7-9 mmHg 
  • ลดความดันไดแอสโทลิก (Diastolic blood pressure) หรือความดันของเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ประมาณ 4-6 mmHg 

4. มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer

การรับประทานกระเทียมสามารถลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึง 50% อย่างไรก็ตาม กระเทียมกับการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัดว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาได้ขนาดนั้น 

5. โรคกลาก (Ringworm) 

การทาเจลที่ประกอบด้วยสารอะโจอีน (Ajoene) ซึ่งเป็นเคมีจากกระเทียม 2 ครั้งต่อวัน นาน 1 สัปดาห์ อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้ต้านเชื้อราที่ใช้รักษาโรคกลาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

6. โรคสังคัง (Jock itch) 

การทาเจลที่ประกอบด้วยอะโจอีน 0.6 % 2 ครั้งต่อวัน นาน 1 สัปดาห์ อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้ต้านเชื้อราที่ใช้รักษาโรคสังคัง

7. น้ำกัดเท้า (Athlete's foot

การทาเจลที่ประกอบด้วยอะโจอีน 1 % 2 ครั้งต่อวัน นาน 1 สัปดาห์อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้ต้านเชื้อราที่ใช้โรคน้ำกัดเท้า อีกทั้งการทาเจลกระเทียมที่มีอะโจอีน 1 % อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้ยาลามิซิล (Lamisil)

ผลข้างเคียง และความปลอดภัยของกระเทียม

กระเทียมค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมาก หากรับประทานอย่างเหมาะสม ส่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อรับประทานกระเทียม ได้แก่

ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้มักรุนแรงหากเป็นกระเทียมดิบ และกระเทียมยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้ ผู้ที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดมา อาจต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานกระเทียม นอกจากนี้ การรับประทานกระเทียมยังอาจกระตุ้นผู้เป็นภูมิแพ้เกิดภาวะหอบหืด หรือภาวะภูมิแพ้ชนิดอื่นขึ้นมาด้วย

ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยกระเทียมจัดว่า อาจปลอดภัยเมื่อใช้ทาบนผิวหนัง สำหรับเจล ยา และน้ำยาล้างปากที่ประกอบด้วยกระเทียมสามารถใช้ต่อเนื่องได้นานกว่า 3 เดือน อย่างไรก็ตาม หากเป็นการทาบนผิวหนัง กระเทียมอาจทำให้ผิวมีลักษณะคล้ายรอยไหม้ได้

คำเตือน และข้อควรระวังเป็นพิเศษ

บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีภาวะความผิดปกติ ซึ่งควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการกินกระเทียม มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร หญิงตั้งครรภ์สามารถรับประทานกระเทียมได้ แต่อาจต้องระมัดระวังไม่รับประทานในปริมาณมากเกินไป รวมถึงการรับประทานกระเทียมในรูปแบบวิตามิน หรือยาด้วย เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์
    และขณะนี้ ยังคงไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยของการใช้กระเทียมทาบนผิวหนังสำหรับสตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ดังนั้นควรเลี่ยงการทากระเทียมจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ กระเทียมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดได้ โดยเฉพาะกระเทียมสด
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กระเทียมสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ในขณะเดียวกัน การรับประทานอาหารเสริมที่มีกระเทียมสามารถจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานตกลงจนอาจต่ำเกินไปได้
  • ผู้มีปัญหากระเพาะอาหาร หรือการย่อยอาหาร กระเทียมสามารถสร้างความระคายเคืองแก่ระบบทางเดินอาหารได้ ดังนั้นหากคุณมีปัญหากระเพาะอาหาร หรือการย่อยอยู่ควรบริโภคกระเทียมอย่างระมัดระวัง
  • ผู้มีความดันโลหิตต่ำ กระเทียมสามารถลดความดันโลหิตลงได้ ทางทฤษฎีแล้ว การรับประทานกระเทียมจะทำให้ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีปัญหานี้ตกลงจนอาจต่ำเกินไปได้
  • ผู้กำลังจะรับการผ่าตัด กระเทียมอาจทำให้เลือดออกยาวนานขึ้น และรบกวนความดันโลหิตได้ อีกทั้งยังลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นจึงควรหยุดบริโภคกระเทียมก่อนเข้าผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้กระเทียมร่วมกับยาชนิดอื่น

มียาบางชนิดที่ผู้ใช้ห้ามรับประทานร่วมกับกระเทียมได้แก่

1. ยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid)

กระเทียมอาจลดปริมาณการดูดซึมยาไอโซไนอาซิดของร่างกายลง ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง ห้ามรับประทานกระเทียม หากคุณต้องใช้ยานี้

2. ยากลุ่มเอ็นเอ็นอาร์ทีไอสำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Non-Nucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors: NNRTIs)

การรับประทานกระเทียมเข้าไป อาจเป็นตัวเร่งกระบวนการของร่างกายในการทำลายยา จนทำให้การรับประทานยาไม่มีประโยชน์ในการรักษาแต่อย่างใด โดยยาที่ใช้ในการรักษา HIV/AIDS มีทั้ง Nevirapine (Viramune), Delavirdine (Rescriptor) และ Efavirenz (Sustiva)

3. ยาซาควินาเวียร์ (Saquinavir)

เช่นเดียวกับยากลุ่มเอ็นเอ็นอาร์ทีไอ กระเทียมอาจไปเร่งกระบวนการของร่างกายในการทำลายยา จนทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

นอกจากยาทั้ง 3 กลุ่มนี้ ยังมียาอีกหลายกลุ่มที่ต้องรับประทานร่วมกับการรับประทานกระเทียมอย่างระมัดระวัง เช่น

1. ยาคุมกำเนิด ชนิดยาเม็ดคุมกำเนิด (Contraceptive drugs)

ยาคุมกำเนิดบางกลุ่มประกอบด้วยเอสโทรเจน ร่างกายจะทำลายเอสโทรเจนในยาเหล่านั้นเพื่อกำจัดออก ซึ่งกระเทียมอาจเร่งกระบวนการของร่างกายในการทำลายตัวยา ทำให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง 

หากคุณกำลังรับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับกระเทียม ควรใช้ช่องทางคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัย โดยตัวอย่างกลุ่มยาคุมกำเนิดที่กล่าวไป ได้แก่ Ethinyl estradiol กับ Levonorgestrel (Triphasil)

2.ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine (Neoral, Sandimmune))

ร่างกายจะสลายยาไซโคลสปอริน ซึ่งกระเทียมอาจเร่งกระบวนการของร่างกายในการทำลายยาทำให้การรับประทานกระเทียมพร้อมยาไซโคลสปอริน อาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

3. ยาที่ถูกตับเข้าไปเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ชื่อว่า Cytochrome P450 กลุ่ม 2E1 (CYP2E1)

ยาบางประเภทที่เปลี่ยนแปลง และถูกทำลายโดยตับ ซึ่งการบริโภคน้ำมันกระเทียมอาจลดความเร็วในการทำลายยาเหล่านี้ของตับลง และจะทำให้ยามีประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงมากขึ้น 

ดังนั้นก่อนรับประทานน้ำมันกระเทียมให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหากคุณกำลังใช้ยากลุ่มนี้ เช่น Acetaminophen, Chlorzoxazone (Parafon Forte), Ethanol, Theophylline

นอกจากนี้ ยังมียาที่ใช้ระงับประสาทระหว่างการผ่าตัดที่คุณต้องระมัดระวังเช่นกัน อย่าง Enflurane (Ethrane), Halothane (Fluothane), Isoflurane (Forane), และ Methoxyflurane (Penthrane)

4. ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 3A4 (CYP3A4)

ตับจะไปเปลี่ยนแปลง และทำลายฤทธิ์ยาบางตัว การบริโภคน้ำมันกระเทียมอาจเข้าไปช่วยเร่งความเร็วที่ตับจะทำลายยาเหล่านี้ ทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลง ดังนั้นก่อนรับประทานน้ำมันกระเทียมให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ หากคุณกำลังใช้ยากลุ่มนี้ เช่น 

5. ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs)

กระเทียมอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือด การรับประทานกระเทียมร่วมกับยาเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือด หรือรอยฟกช้ำ โดยยาที่มีฤทธิ์ชะลอการเกิดลิ่มเลือด คือ 

6. ยาวาร์ฟาริน (Warfarin (Coumadin))

ยาวาร์ฟารินทำงานด้วยการชะลอการเกิดลิ่มเลือด และกระเทียมอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดลงด้วย ดังนั้นการรับประทานกระเทียมจะเพิ่มประสิทธิภาพของยาวาร์ฟาริน แต่เพราะประสิทธิภาพที่มีเพิ่มมากขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือด หรือเกิดรอยฟกช้ำได้ 

หากคุณรับประทานยาชนิดนี้ร่วมกับรับประทานกระเทียม คุณควรตรวจเลือดของคุณเป็นประจำ โดยอาจต้องทำการปรับเปลี่ยนปริมาณยาวาร์ฟารินที่ใช้ตามความจำเป็น

การรับประทานยาเม็ดจากผลกระเทียมเพื่อรักษาภาวะต่างๆ

1. สำหรับหลอดเลือดแข็งตัว 

รับประทานยาเม็ดจากผงกระเทียม 300 มิลลิกรัม (Kwai, Lichtwer Pharma) ทั้งการรับประทานครั้งเดียวหรือ 3 ครั้งต่อวันนาน 4 ปี อีกทั้งการรับประทานอาหารเสริมกระเทียม (Allicor, INAT-Farma) 150 mg 2 ครั้งต่อวันนาน 24 เดือน

อาหารเสริมชนิดนี้ประกอบด้วยกระเทียมแก่สกัด (Kyolic, Total Heart Health, Formula 108) 250 mg ทุกวันนาน 12 เดือนร่วมกับสารสกัดกระเทียมแก่ 300 มิลลิกรัม ในปริมาณ 4 เม็ดต่อวัน นาน 1 ปี

2. สำหรับโรคเบาหวาน 

รับประทานผงกระเทียม 600-1,500 มิลลิกรัม ทุกวันนานอย่างน้อย 12 สัปดาห์ ยาเม็ดกระเทียม 300 mg (Allicor, INAT-Farma) 2-3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับยา metformin หรือ sulfonylurea เป็นเวลา 4-24 สัปดาห์

3. สำหรับคอเลสเตอรอลสูง 

รับประทานสารสกัดกระเทียมแก่ 1,000-7,200 มิลลิกรัม (Kyolic) ทุกวันโดยแบ่งปริมาณที่ใช้นาน 4-6 เดือน 

หรือยาที่ประกอบด้วยผงกระเทียม (Kwai, Lichtwer Pharma) 600-900 มิลลิกรัม โดยแบ่งปริมาณยาเป็น 2 ขนาดหรือมากกว่านั้น ให้รับประทานทุกวัน นาน 6-16 สัปดาห์ ร่วมกับผลิตภัณฑ์ผงกระเทียม (Garlex, Bosch Pharmaceuticals) อีก 300 มิลลิกรัม นาน 12 สัปดาห์ 

นอกจากนี้ คุณยังสามารถรับประทานผงกระเทียมกับน้ำมันปลา (Fish oil) 3 กรัมทุกวันนาน 4 สัปดาห์ หรือน้ำมันกระเทียม 500 มิลลิกรัม ร่วมกับน้ำมันปลา 600 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 60 วัน

4. สำหรับความดันโลหิตสูง 

รับประทานกระเทียมเม็ด 300-1,500 มิลลิกรัม โดยแบ่งขนาดยาทุกวันนาน 24 สัปดาห์ กระเทียมผงอัดเม็ด (Kwai, Lichtwer Pharma) 2,400 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานครั้งเดียว หรือครั้งละ 600 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 12 สัปดาห์ 

รับประทานแคปซูลที่ประกอบด้วยสารสกัดกระเทียมแก่ 960 มิลลิกรัม ถึง 7.2 กรัมต่อวันนาน 6 เดือน หรือผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสกัดจากกระเทียมแก่อย่าง Kyolic (Garlic High Potency Everyday Formula 112) 

หรือน้ำมันกระเทียม 500 มิลลิกรัม ร่วมกับน้ำมันปลา 600 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 60 วัน

5. สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก 

รับประทานสารสกัดกระเทียมชนิดละลายน้ำได้ 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยรับประทานทุกวันนาน 1 เดือน

6. สำหรับเห็บหมัดกัด 

แคปซูลที่ประกอบด้วยกระเทียม 1,200 มิลลิกรัม ทุกวันนาน 8 สัปดาห์

7. สำหรับภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง (โรคกลาก, น้ำกัดเท้า, สังคัง) 

ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยอะโจอีน (Ajoene) ในครีม 0.4 % เจล 0.6 % และเจล 1 % ทาบนผิวหนัง 2 ครั้งต่อวัน นาน 1 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรใดๆ ควบคู่กับรับประทานยา ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการใช้ให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของคุณจะปลอดภัยที่สุด เพื่อที่ทั้งตัวสมุนไพร และยาที่คุณต้องรับประทานจะได้ช่วยบำรุงให้ร่างกายของคุณแข็งแรงได้มากที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gebreyohannes, Gebreselema & Tedla, Mebrahtu. (2017). Medicinal values of garlic: Review. 5. 401-408. 10.5897/IJMMS2013.0960. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/291766366_Medicinal_values_of_garlic_Review)
Naushad Khan (2018). Analysis of Garlic Effects on Human Health in the World. 49. 30-40. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/328675985_Analysis_of_Garlic_Effects_on_Human_Health_in_the_World)
Bongiorno, Peter & Fratellone, Patrick & LoGiudice, Pina. (2008). Potential Health Benefits of Garlic ( Allium Sativum ): A Narrative Review. Journal of Complementary and Integrative Medicine. 5. 10.2202/1553-3840.1084. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/238069512_Potential_Health_Benefits_of_Garlic_Allium_Sativum_A_Narrative_Review)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)