กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กลิ่นตัวเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกัน และวิธีรักษาอย่างไรได้บ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กลิ่นตัวเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกัน และวิธีรักษาอย่างไรได้บ้าง

เรื่องของกลิ่นตัว ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ที่จะพูดถึงกันเลย บางคนมีกลิ่นตัวที่แรงมาก จนถึงขั้นที่ว่าเข้าไปในกลุ่มคนสาธารณะแล้วมีแต่คนต้องขยับตัวออกห่าง บางคนก็เอามือปิดจมูก หรือบ่นพึมพำจนแลเห็นได้ชัด ซึ่งบางคนก็รู้ตัวดี แต่ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ยิ่งพรมน้ำหอมลงไป ก็ยิ่งทำให้ทุกอย่างแย่ลง เพราะกลิ่นน้ำหอมที่ผสมไปกับกลิ่นตัวนั้น ยิ่งทำให้กลิ่นตัวเหม็นมากกว่าเดิมเพิ่มขึ้น เราจึงได้รวบรวมเรื่องของกลิ่นตัวมาให้คุณได้ศึกษาความเข้าใจ พร้อมแนะนำวิธีลดกลิ่นตัวที่ได้ผลจริงมาฝากกัน

สาเหตุของปัญหากลิ่นตัว

กลิ่นตัว เป็นกลิ่นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะตั้งแต่เหม็นอ่อน ๆ ไปจนถึงเหม็นจนฉุน ส่วนมากแล้วจุดที่เกิดกลิ่นตัวมักจะเป็นบริเวณศีรษะ ท้ายทอย รักแร้ ขาหนีบ ที่เป็นส่วนข้อพับต่าง ๆ และอาจจะมีบ้างที่เกิดขึ้นจากบริเวณอวัยวะเพศ การเกิดกลิ่นตัว เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ตามบริเวณที่กล่าวมา แล้วไปทำปฏิกิริยากับต่อมเหงื่อด้วยการย่อยสลายเหงื่อเองจนทำให้เกิดเชื้อราและกรดไขมัน เป็นเหตุให้เกิดความอับชื้นและเกิดกลิ่นตามมา โดยทั่วไปสามารถพบกลิ่นตัวได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากในเพศชายนั้นมีการผลิตต่อมเหงื่อที่ค่อนข้างจะเยอะกว่า และเพศชายมักจะไม่ค่อยทำความสะอาดร่างกายดีเท่าที่ควร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4,073 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำไมบางคนเหงื่อออกมาก แต่ไม่มีกลิ่นตัว?

ในส่วนนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ร่างกายของคนเราจะผลิตเหงื่อได้ 2 รูปแบบ คือ

1. Eccrine เป็นการขับเหงื่อจากร่างกายเพื่อลดอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลัน เช่น การออกกำลังกาย การอยู่ในที่เบียดเสียด หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน การขับเหงื่อประเภทนี้จะเป็นการขับเหงื่อทั่วทั้งร่างกาย จุดไหนก็เหงื่อออกได้ไม่เว้นแม้กระทั่งเท้า แต่ถึงเหงื่อจะออกมากเท่าไรก็ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เว้นเสียแต่จะมีกลิ่นอับชื้นตามมาเท่านั้น

2. Aprocrine เป็นการผลิตเหงื่อ (จากต่อม) โดยตรงที่บริเวณข้อพับทั้งหลาย เช่น รักแร้ ข้อพับขา ข้อมือ ท้ายทอย อวัยวะเพศ เหงื่อที่ผลิตจากส่วนนี้จะมีส่วนผสมของไขมันและโปรตีน จึงทำให้เกิดปฏิกิริยากับเชื้อแบคทีเรียได้โดยง่าย และเกิดเป็นกลิ่นตัวขึ้นมา ยิ่งถ้าหากว่าได้ทานอาหารที่มีกลิ่นจัด ๆ ก็จะพบว่ากลิ่นตัวในวันนั้น ๆ จะรุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้ง่าย

ยังมีปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการมีกลิ่นตัว ยกตัวอย่างเช่น ชาวอินเดีย จะมีกลิ่นตัวแรงกว่าชาวเอเชียทั่วไป เนื่องจากมีพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้ชาวอินเดียมีการผลิตต่อมเหงื่อเยอะ และฮอร์โมนก็มีส่วนที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้เช่นกัน สังเกตได้เลยว่า บางคนอาจจะมีปัญหากลิ่นตัวอย่างหนักตอนวัยรุ่น แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่แล้ว กลิ่นตัวนี้ก็จะหายไปเอง

วิธีป้องกันการเกิดกลิ่นตัว

สำหรับวิธีป้องกันการเกิดกลิ่นตัวที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหากลิ่นตัว นั่นก็คือการดูแลไม่ให้มีเหงื่อออกมาก หรือหมั่นทำความสะอาดบริเวณส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวนั่นเอง สามารถจำแนกออกมาได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทุกครั้งที่อาบน้ำ ต้องทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ ควรใช้สบู่กำจัดแบคทีเรียโดยตรง เพื่อลดแบคทีเรียที่เกาะอยู่ตามผิวหนัง และเมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว ควรเช็ดตัวให้แห้งสนิทเพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น
  • ดูแลรักษารักแร้ให้สะอาด ผู้ที่มีกลิ่นตัวแรง ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะไว้ขนรักแร้ แม้กระทั่งเพศชายก็ตาม เพราะถ้าหากมีเหงื่อออกที่รักแร้ จะทำให้เกิดการอับชื้น ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างรุนแรง และนอกจากนี้ควรใช้โรลออนที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะได้ผลกว่าการใช้โรลออนที่มีกลิ่นหอมเพียงอย่างเดียว หรือถ้าไม่รู้จะใช้อะไร ก็สามารถใช้สารส้มเพียงอย่างเดียวก็ได้
  • เลือกใส่เสื้อผ้าที่มีการระบายอากาศดี ถ้าหากเป็นคนชอบออกกำลังกาย หรือต้องทำกิจกรรมที่เหงื่อออกง่าย ก็ควรใส่เสื้อผ้าที่มีการระบายได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน เป็นต้น และเมื่อทำกิจกรรมเสร็จ ควรรีบอาบน้ำหรือเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที

วิธีแก้ปัญหากลิ่นตัว

ถึงแม้ว่าบางคนจะใช้วิธีป้องกันการเกิดกลิ่นตัวอย่างสุดความสามารถแล้ว แต่ก็ยังมีกลิ่นเล็ดลอดออกมากวนใจอยู่บ้าง ถ้าเช่นนั้น เราขอแนะนำวิธีแก้ปัญหากลิ่นตัวที่ได้ผลจริงมาฝากดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. ลดรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง

เช่น อาหารหมักดองอย่างปลาร้า รวมถึงผักผลไม้บางชนิด เช่น กระเทียม ทุเรียน สะตอ และชะอม เป็นต้น ซึ่งหากสามารถลดอาหารเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยให้กลิ่นตัวค่อยๆ จางลงอย่างแน่นอน หรือในบางคนก็อาจแทบไม่มีกลิ่นตัวเลย

2. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

เพราะสองสิ่งนี้ มีสารชนิดหนึ่งที่จะไปกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อทำงานมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์มากกว่าเดิม

3. ดีท็อกซ์ร่างกาย

การดีท็อกซ์คือ การล้างสารพิษในร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ เชื่อกันว่าวิธีนี้จะทำให้ภายในร่างกายมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กลิ่นตัวค่อย ๆ หายไปเองด้วย อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพมากทีเดียว ดังนั้นลองมาทำดีท็อกซ์ เพื่อล้างพิษออกจากร่างกายกันดูสิ

4. ไม่ขัดผิวบ่อย

ถึงแม้ว่าการขัดผิว จะเป็นการทำลายแบคทีเรียที่เกาะอยู่ตามผิวหนังได้เป็นอย่างดี แต่อย่าลืมว่าร่างกายของเราก็มีแบคทีเรียดีที่มีประโยชน์ต่อผิวด้วย การขัดผิวที่มากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้แบคทีเรียที่ช่วยลดกลิ่นตัวถูกทำลาย ทำให้เกิดกลิ่นที่แรงขึ้น

5. ใช้เบคกิ้งโซดา

นำเบคกิ้งโซดามาผสมน้ำให้พอข้น ๆ แล้วทาไปตามจุดต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว เช่น รักแร้ ข้อพับเข่า ท้ายทอย ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาด ซึ่งก็ไม่ยากเลย เพราะฉะนั้นใครที่มีกลิ่นตัวแรงก็ลองทำตามกันดูสิ รับรองว่าได้ผลลัพธ์ที่โดนใจแน่นอน

6. ตัดต่อมเหงื่อออก

โดยใช้วิธีทางการแพทย์ เช่น miraDry และคลื่นความถี่วิทยุในการทำลายตอมเหงื่อได้ผิวหนังโดยที่ไม่เป็นอันตรายและไม่ต้องผ่าตัด อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ก็ช่วยลดการมีกลิ่นตัวได้แบบชะงัด

เรื่องของกลิ่นตัว เป็นเรื่องที่ไม่ควรจะมองข้ามเลยทีเดียว ยิ่งถ้าใครที่มีกลิ่นตัวแรง ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนที่มีอัธยาศัยดีเพียงไร ก็ยังไม่มีใครอยากเข้าใกล้คุณอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็อยากให้ลองเอาวิธีเหล่านี้ไปใช้ในการลดกลิ่นตัว และถ้ายังไม่ได้ผลจริง ๆ ก็ขอแนะนำให้เข้ารับการรักษาจากทางการแพทย์จะดีที่สุด


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กลิ่นตัวเหม็น อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณหมดความมั่นใจในตนเอง
กลิ่นตัวเหม็น อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณหมดความมั่นใจในตนเอง

สาเหตุของปัญหากลิ่นตัวแรงเกิดมาจากอะไรกันแน่ มีวิธียับยั้งกลิ่นเหล่านี้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
เหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณของโรคอะไร
เหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณของโรคอะไร

รวมสาเหตุที่ทำให้เหงือกออกมือ

อ่านเพิ่ม