กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อันตรายของการกินทุเรียน ไม่ควรกินทุเรียนกับอาหารและเครื่องดื่มอะไรบ้าง

รับประทานทุเรียนอย่างไรให้ปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง และดีต่อสุขภาพ อ่านเลย
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อันตรายของการกินทุเรียน ไม่ควรกินทุเรียนกับอาหารและเครื่องดื่มอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ในทุเรียน 1 ผลจะมีสารอาหารสำคัญได้แก่ คาร์โบไฮเดรตที่ให้น้ำตาลซูโครสและฟรุกโทส วิตามินเอ ซี อี ฟอสฟอรัส แมงกานีส โพแทสเซียม เหล็ก
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคไต ไม่ควรรับประทานทุเรียนในปริมาณมากๆ เพราะเสี่ยงต่อการทำให้อาการของโรคกำเริบมากขึ้น เช่น ระดับน้ำตาลสูงเกินไป ระดับโพแทสเซียมสูงเกินไป
  • การรับประทานทุเรียนจะไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อร่างกายหากรับประทานเพียงเล็กน้อย แต่จะส่งผลอย่างชัดเจนจนเกิดโทษ เมื่อรับประทานทุเรียนคู่กับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และผลไม้ หรืออาหารที่มีรสหวานจัด
  • รับประทานทุเรียนคู่กับมังคุด เนื่องจากมังคุดมีใยอาหารสูงและมีน้ำมาก สามารถแก้อาการร้อนในได้  หากรับประทานทุเรียนแล้วมีอาการร้อนใน หรือเจ็บคอ ให้ดื่มน้ำตามมากๆ หรือดื่มน้ำผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา เพื่อขับสารซัลเฟอร์ให้ออกมาแล้วอาการร้อนในก็จะดีขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหญิงและชายทุกวัย

"ทุเรียน" เป็นผลไม้ที่ได้ชื่อว่า "ราชาผลไม้ไทย" มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางจนได้รับความนิยมไปในหลายประเทศทั่วโลก ด้วยความที่มีรสชาติหวาน มัน อร่อย 

เนื้อทุเรียนมีสีเหลือง บางสายพันธู์มีสีเหลืองอมส้ม แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของทุเรียนแทบทุกสายพันธุ์ก็คือ "กลิ่น" ซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ ในยามที่สุก พร้อมรับประทาน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทุเรียนผลไม้อร่อยแต่ก็แฝงไปด้วยอันตราย

ด้วยรสชาติของทุเรียนที่อร่อยจนเป็นที่ติดใจของใครหลายๆ คน และยังมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม ผลไม้ชนิดนี้ก็แฝงไปด้วยอันตราย หากไม่รู้จักเลือกรับประทานให้เหมาะสม 

ในทุเรียน 1 ผลจะมีสารอาหารสำคัญได้แก่  

ทุเรียน 100 กรัม จะให้พลังงานมากถึง 187 กิโลแคลอรี

ใครที่ต้องระมัดระวังในการรับประทานทุเรียน

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคไต ไม่ควรรับประทานทุเรียนในปริมาณมากๆ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทุเรียนจัดเป็นผลไม้ที่ให้น้ำตาล ไขมัน และมีพลังงานสูง ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานรับประทานทุเรียนเข้าไป อาจทำให้มีอาการน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป ส่งผลให้เจ็บป่วยไม่สบายตัว หรือร้อนใน และอาจเป็นอันตรายถึงภาวะช็อกได้
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทุเรียนจัดว่า เป็นผลไม้ธาตุร้อนจึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้
  • ผู้ป่วยโรคไตและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ทุเรียนมีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ซึ่งเป็นปัญหากับผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยจะขับโพแทสเซียมออกได้ไม่ดี อาจทำให้โรคทวีความรุนแรงและทรุดลงได้ ส่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากรับประทานทุเรียนมากๆ ก็อาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน

อาหารที่ไม่ควรรับประทานคู่กับทุเรียน

การรับประทานทุเรียนจะไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อร่างกายหากรับประทานเพียงเล็กน้อย แต่จะส่งผลอย่างชัดเจนจนเกิดโทษ เมื่อรับประทานทุเรียนคู่กับเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และผลไม้ หรืออาหารที่มีรสหวานจัด

เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีสารกำมะถันค่อนข้างมาก เมื่อรับประทานทุเรียนคู่กับแอลกอฮอล์แล้ว จะทำให้เอนไซม์บางชนิดในร่างกายได้เปลี่ยนสารพิษ Aldehyde ให้เป็นสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลังงาน อีกทั้งยังกำจัดสารนี้ออกจากร่างกายได้น้อยลง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลที่ตามมาจึงอาจทำให้มีอาการชา วิงเวียนศีรษะ หน้าแดง อาเจียน อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ไม่สบายตัว และอาจเป็นอันตรายได้ ถ้ามีอาการขาดน้ำ หรือหมดสติ หากรับประทานคู่กับคาเฟอีนก็จะทำให้ปวดศีรษะได้

ไม่ควรรับประทานทุเรียนคู่กับผลไม้และเครื่องดื่ม หรืออาหารที่มีรสหวานจัดอย่างเช่น ลำไย น้ำอัดลม เพราะเท่ากับไปเพิ่มน้ำตาลและให้พลังงานสูงแก่ร่างกายยิ่งขึ้นไปอีก หากรับประทานมากก็จะเป็นร้อนในได้ อีกทั้งยังสามารถสะสมเป็นไขมันที่ทำให้อ้วนด้วยเช่นกัน

ข้อควรระวังในการรับประทานทุเรียน

  • ควรรับประทานทุเรียนคู่กับมังคุด เนื่องจากมังคุดมีใยอาหารสูงและมีน้ำมาก สามารถแก้อาการร้อนในได้
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวดังกล่าวไม่ควรรับประทานทุเรียนเกิน 1 เม็ดเล็กต่อวัน และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งไม่ควรรับประทานทุเรียนที่แปรรูปแล้ว เช่น ทุเรียนกวน หรือทุเรียนทอด เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลสูงกว่าทุเรียนผลสดๆ
  • เมื่อรับประทานทุเรียนแล้วควรหลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด หรือมันจัด เพื่อที่จะได้รับพลังงานในปริมาณที่ไม่เกินกว่าร่างกายต้องการ
  • ไม่รับประทานทุเรียนในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้แน่นและจุกเสียดได้
  • หากมีอาการร้อนใน หรือเจ็บคอ ให้ดื่มน้ำตามมากๆ หรือดื่มน้ำผสมเกลือแกงครึ่งช้อนชา เพื่อขับสารซัลเฟอร์ให้ออกมาแล้วอาการร้อนในก็จะดีขึ้น 

การรับประทานทุเรียนในปริมาณที่ไม่มาก จะให้ประโยชน์มากกว่าที่จะให้โทษแก่ร่างกาย เพราะมีสารอาหารที่มีคุณค่าจำเป็นต่อร่างกายหลายอย่าง แต้หากรับประทานมากติดต่อกันหลายๆ วัน ก็จะทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาได้ 

หากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว แต่ชื่นชอบการรับประทานทุเรียน ก็ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมควบคู่ไปด้วย จึงจะได้ทั้งความอิ่มอร่อยและสุขภาพดีอย่างไม่ต้องกังวลกับปัญหาสุขภาพที่จะตามมา

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหญิงและชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Durian: Uses, Side Effects, Interactions, Dosage, and Warning. WebMD. (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1458/durian)
Durian Fruit: Smelly but Incredibly Nutritious. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/durian-fruit)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม