กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เหงื่อออกเท้าเกิดจากอะไร สัญญาณของโรคใด และแก้ไขได้อย่างไรบ้าง?

เหงื่อออกเท้ามากผิดปกติ อาจเกิดได้จากต่อมเหงื่อทำงานมากผิดปกติ ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานมากผิดปกติ และกรรมพันธ์ุ ซึ่งผู้ที่มีอาการควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค และหาสาเหตุ
เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เหงื่อออกเท้าเกิดจากอะไร สัญญาณของโรคใด และแก้ไขได้อย่างไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเหงื่อออกที่เท้าสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงที่เกิดขึ้นจากความเครียด และการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ก็ไม่ได้มีเหงื่อออกเยอะจนถึงขั้นที่ว่าเปียกชุ่มจนต้องถอดรองเท้าพึ่งออกให้แห้ง
  • สำหรับผู้ที่มีเหงื่อออกที่เท้าเยอะ ในทางการแพทย์ ระบุว่า อาจเกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ ต่อมเหงื่อทำงานมากผิดปกติ ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานมากผิดปกติ และกรรมพันธ์ุ
  • ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ได้มีการยืนยันในเรื่องเหงื่อออกที่เท้าเยอะเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ แต่ได้แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกที่เท้าในปริมาณมาก เข้ารับการตรวจหาความผิดปกติ และทำการคัดกรองความเสี่ยงของโรค
  • อาการเหงื่อออกเท้ามาก สามารถรักษาได้ด้วยการตัดต่อมเหงื่อทิ้งไป แต่หากไม่ต้องการตัดต่อมเหงื่อ ก็ควรดูแลสุขลักษณะอนามัยให้ดี ไม่ทำให้เกิดความอับชื้น หรือกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

การเกิดเหงื่อออกขึ้นที่เท้าอาจจะเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่ และไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาสนใจสำหรับใครหลายคน แต่สำหรับบางคนแล้ว เรื่องนี้ค่อนข้างจะมีผลกระทบกับคุณภาพชีวิตพอสมควร 

ในบางคนมีเหงื่อออกที่เท้าปริมาณมากจนทำให้ถุงเท้าที่ใส่อยู่เปียกชุ่ม หรือมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์โชยออกมาจากเท้า  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จึงทำให้เกิดข้อสงสัยกันว่า อาการเหงื่อออกที่เท้าเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีโอกาสที่จะนำไปสู่การเป็นโรคร้ายอื่นๆ หรือไม่ เราจึงได้รวบรวมเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของการมีเหงื่อออกที่เท้ามาให้ศึกษากัน

เหงื่อออกที่เท้า เกิดจากอะไร?

อาการเหงื่อออกที่เท้าสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นการออกกำลังกายอย่างหนัก และจากความเครียด แต่ก็ไม่ได้มีเหงื่อออกเยอะจนถึงขั้นที่ว่าเปียกชุ่มจนต้องถอดรองเท้าพึ่งออกให้แห้ง 

แต่สำหรับบางคนนั้นถึงแม้ว่าจะอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา และไม่ได้ออกกำลังกาย ก็ยังพบปัญหาเหงื่อออกง่ายที่เท้า ซึ่งในทางการแพทย์ได้ระบุว่า การเกิดภาวะเหงื่อออกเท้ามากสามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 ปัจจัย คือ

  • ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานมากผิดปกติ ในกลุ่มนี้มักรับประทานอาหารเข้าไปก็ไม่อ้วน และรู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลา
  • ต่อมเหงื่อทำงานมากผิดปกติ โดยพบเหงื่อออกมากเป็นพิเศษที่เท้า และมือ
  • กรรมพันธุ์ มีการซักประวัติแล้วพบว่า ผู้ที่มีเหงื่อออกเท้ามาก คนในครอบครัวมักมีภาวะเหงื่อออกที่เท้ามากเช่นกัน

ปัญหาเหงื่อออกที่เท้ามากเป็นสัญญาณของโรคหรือไม่?

ส่วนในทางการแพทย์จีนลงความเห็นว่า อาจเกิดจากการที่กระเพาะและม้ามมีความร้อนสูง และมีความชื้น เนื่องจากม้ามเป็นอวัยวะที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมือ และเท้า

นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของการมีเหงื่อออกที่เท้าว่า มักเกิดจากการเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจร่วมอยู่ด้วย รวมถึงเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความดันเลือดต่ำ 

อย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ได้มีการยืนยันในเรื่องนี้ และได้แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกที่เท้าในปริมาณมาก ตรวจหาความผิดปกติ พร้อมกับทำการคัดกรองความเสี่ยงของโรค เช่น เป็นลมบ่อยหรือไม่ หงุดหงิดง่ายหรือไม่ ใจสั่นหรือเปล่า หรือมีเหงื่อออกช่วงเวลาไหนเป็นพิเศษ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4,073 บาท ลดสูงสุด 52%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง หรือเกิดจากต่อมเหงื่อเพียงอย่างเดียว

วิธีแก้ปัญหาเหงื่อออกที่เท้า ทำได้อย่างไร?

ในความเป็นจริงแล้ว แพทย์ก็ยังไม่รู้ถึงสาเหตุของการมีภาวะเหงื่อออกที่เท้ามาก เพราะฉะนั้นวิธีที่จะแก้ไขได้อย่างดีที่สุดก็คือ การตัดต่อมเหงื่อทิ้งไป 

แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นใจ หรือกลัวที่จะต้องตัดต่อมเหงื่อทิ้ง ก็อาจจะมีวิธีดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น และมีกลิ่นไม่พึงประสงค์เมื่อมีเหงื่อออกที่เท้าเยอะ ดังต่อไปนี้

  • เลือกใช้รองเท้าที่สวมใส่สบาย และมีรูระบายอากาศเยอะ (หากผิดระเบียบสถานที่ทำงาน ควรแจ้งผู้ที่เป็นหัวหน้าให้ทราบ)
  • ใช้กระดาษทิชชู่พันนิ้วเท้าทั้ง 5 นิ้ว พร้อมกับพันให้ทั่วฝ่าเท้าแล้วใส่ถุงเท้าทับไว้ เมื่อใดที่กระดาษขาดหรือเปียก (1-3 ชั่วโมง) ก็ให้เอาของเดิมออกแล้วพันของใหม่เข้าไปแทน
  • ไม่ควรฉีดสเปรย์ ทาโรลออน หรือใช้เครื่องหอมประพรมลงไปในรองเท้า เพราะเมื่อมีเหงื่อออก ก็อาจทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้นกว่าเดิม
  • เมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน หรืออับชื้น ให้ถอดรองเท้าและถุงเท้าออกให้หมด เพื่อให้เท้าได้มีการระบายอากาศและเหงื่อออกไป

ใครที่มีปัญหาเรื่องของเหงื่อออกที่เท้าเยอะ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายว่า เกิดจากความผิดปกติของร่างกายหรือไม่ แต่ถ้าไม่พบอะไร ก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้ เพียงแค่รักษาความสะอาด อย่าให้มีกลิ่นเท้าติดไปตามที่ต่างๆ และดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไปก็เพียงพอ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sweaty Feet and How to Handle Them. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hyperhidrosis/how-to-handle-sweaty-feet)
Sweaty feet: 12 tips to prevent and get rid of them. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322578)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจเกี่ยวข้องกับอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างไร?

ทำความรู้จักเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือเครื่องวัดชีพจร และอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายแต่ละโซน

อ่านเพิ่ม