กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Metformin (เมทฟอร์มิน)

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Ammiformin (แอมมิฟอร์มิน)
  • Deson (ดีซัน)
  • Deson PR (ดีซัน พีอาร์)
  • Diamet (ไดอะเมท)
  • Diaslim (ไดอะสลิม)
  • Glucolyte (กลูโคลิท)
  • Glugenmin (กลูเยนมิน)
  • Metformin Charoen Bhaesaj (เมทฟอร์มิน เจริญเภสัช )
  • Metformin GPO (เมทฟอร์มิน จีพีโอ)
  • Metformin RX (เมทฟอร์มิน อาร์เอ็กซ์)
  • Poli-Formin (โพลิ-ฟอร์มิน)
  • Siamformet (สยามฟอร์เมท)
  • Buformin (บูฟอร์มิน)
  • Deglucos (ดีกลูโคส)
  • Formin (ฟอร์มิน)
  • Glucino (กลูซิโน)
  • Gluco-500 (กลูโค-500)
  • Glucoles (กลูโคเลส)
  • Glucono 500 (กลูโคโน 500)
  • Glucophage (กลูโคฟาก์)
  • Glucophage 850 (กลูโคฟาก์ 850)
  • Glugon (กลูกอน)
  • Glustress (กลูเทรส)
  • Glutabloc (กลูทาบล็อค)
  • Gluzolyte (กลูโซลิท)
  • Maformin (มาฟอร์มิน)
  • ME-F (มี-เอฟ)
  • Meformed (มีฟอร์เมท)
  • Metfor (เมทฟอร์)
  • Metforex (เมทฟอร์เรค)
  • Metformin BCD (เมทฟอร์มิน บีซีดี)
  • Metformin Medicpharma (เมทฟอร์มิน เมดิคฟาร์มา)
  • Metformin Utopian (เมทฟอร์มิน ยูโทเปียน)
  • Metfron (เมทฟรอน)
  • Metica (เมทิคา)
  • Miformin/Miformin 850 (มิฟอร์มิน/มิฟอร์มิน 850)
  • Pocophage (โพโคฟาก์)    

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

เมทฟอร์มิน (metformin) เป็นยากลุ่ม "ยารักษาโรคเบาหวาน" (antidiabetics) สำหรับรับประทานยาเม็ด ประกอบด้วยเมทฟอร์มิน ขนาด 500 และ 850 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เมทฟอร์มิน เป็นยากลุ่มไบกวาไนด์ (biguanide) ที่มีฤทธิ์ต้านระดับน้ำตาลในเลือด โดยมักจะรับประทานหลังอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ไม่สูงเกินไป โดยเมทฟอร์มินจะลดการสร้างกลูโคสจากตับ ยับยั้งกระบวนการสร้างกลูโคสใหม่ และกระบวนการสลายกลูโคส ชะลอการดูดซึมของกลูโคสบริเวณลำไส้ และเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน (insulin) โดยเพิ่มการดูดกลูโคส และการใช้กลูโคสของร่างกาย

ขนาดการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละวัย

วัยผู้ใหญ่

ยาเมทฟอร์มินชนิดยาเม็ดรับประทาน มีข้อบ่งใช้รักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โดยขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ เริ่มต้นที่ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2-3 ครั้ง หรือขนาด 850 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาได้ถึง 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวันในช่วงการใช้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ (ขนาดยาสูงสุด : 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน)

วัยเด็ก

ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 10 ปี เริ่มต้นที่ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง หรือขนาด 850 มิลลิกรัม วันละครั้ง อาจเพิ่มขนาดยาได้ถึง 2,000 มิลลิกรัมต่อวันโดยแบ่งรับประทาน 2-3 ครั้งต่อวัน ในช่วงการใช้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ และควรปรับขนาดการใช้ยาเริ่มต้นและการใช้ยาต่อเนื่องในผู้ป่วยสูงอายุ

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่ต้องรับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน 

แต่ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไป และไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่ภาวะ metabolic acidosis ทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัด
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต ที่มีค่า CrCl <30 mL/นาที
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่ยังได้รับการรักษาด้วยยา
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ช็อก
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเครียด ได้แก่ เป็นไข้ มีบาดแผลรุนแรง มีการติดเชื้อ หรือได้รับการผ่าตัด
  • ระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

อาจก่อให้เกิดอาการต่อไปนี้

ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่ 

  • ตับอักเสบ
  • การลดการดูดซึมของวิตามินบี 12 
  • เกิดผื่นแดง 
  • การรับประทานยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 
  • เลือดเป็นกรดจากกรดแลคติก

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category B คือยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบัน ที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส และเก็บยาให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anti-diabetic drug metformin: challenges and perspectives for cancer therapy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25329671)
Metformin: an antihyperglycemic agent for treatment of type II diabetes. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8835050)
Metformin (Oral Route) Description and Brand Names - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/metformin-oral-route/description/drg-20067074)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)