ความหมาย เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดชั่วคราวชนิดเฉียบพลัน มีการทำงานของระบบประสาทเสียไปอย่างชั่วคราว สมองที่ขาดเลือดชั่วคราวนี้สามารถฟื้นกลับมาได้เป็นปกติ ภายใน 24 ชั่วโมง ภาวะนี้มักเกิดขึ้นประมาณ 5-20 นาที และอาจเกิดนานกว่า 1 ชั่วโมงได้ ซึ่งเป็นอาการเตือนของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หากไม่ได้รับการรักษามักเกิดโรคหลอดเลือดสมองภายใน 5 ปี
สาเหตุ เกิดจากมีก้อนลิ่มเลือดจากไขมันในหลอดเลือดแดงที่หัวใจ (Carotid artery) หลุดมาอุดตันในหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 80 อาจเกิดจากโรคหัวใจหรือลิ้นหัวใจเทียม หัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial fibrillation)พยาธิสรีรภาพ หลอดเลือดสมองมีการอุดตัน หากอุดตันไม่มากร่างกายจะสามารถปรับชดเชยได้ จะมีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีภาวะสมองขาดเลือดแบบเฉียบพลันชั่วคราว และอาการจะหายกลับคืนปกติเองได้อาการ มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือแขนขาชา พูดลำบาก มีอาการบ้านหมุน มองเห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก และเดินเซ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การวินิจฉัยโรค จากอาการ ฟังเสียงที่หลอดเลือดแดงคาโรติดได้เสียงผิดปกติ ถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) ทำ Doppler, Computed tomographic angiography (CTA), Magnetic resonance angiography (MRA) เพื่อดูสภาพของเส้นเลือดแดงคาโรติด ฉีดสีเข้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (Cerebral angiogram) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ทำ Transthoracic echocardiography (ETC) หรือ Transesophageal echocardiography (TEE) เพื่อดูการอุดตันของลิ่มเลือดและลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ
การรักษา ให้ยาลดความดันเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Wafarin เพื่อป้องกันการเกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ บางรายอาจรักษาด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดงเพื่อดูว่าหลอดเลือดตีบมากน้อยเพียงใด และอาจทำอัลตราซาวน์หลอดเลือดแดงคาโรติด (Carotid duplex) และทำ MRA ก่อนผ่าตัดเพื่อประเมินการตีบตันของหลอดเลือดและช่วยวางแผนการผ่าตัด ให้ยาแอสไพรินก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการรวมตัวของเกล็ดเลือดในหลอดเลือดแดงคาโรติด หากผู้ป่วยได้รับเฮพารินอยู่จะหยุดให้เมื่อถึงห้องผ่าตัด แพทย์จะผ่าตัดก้อนไขมันในหลอดเลือดแดงคาโรติดออก
การพยาบาล แนะนำผู้ป่วยและญาติให้ทราบเกี่ยวกับอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงและการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ประเมินระบบประสาทบ่อยๆ เพื่อดูว่าสมองขาดเลือดหรือไม่ ดูแลด้านจิตใจผู้ป่วยด้วย ให้การพยาบาลหลังผ่าตัดก้อนไขมันในหลอดเลือดแดงคาโรติด โดยประเมินระบบประสาททุก 1-2 ชั่วโมง ประเมินเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial nerve) คู่ที่ 10 (Vagus nerve) คู่ที่ 11 (Spinal accessory nerve) และ คู่ที่ 12 (Hypoglossal nerve) หากมีการทำงานของเส้นประสาทสมองผิดปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตของเส้นประสาทเสียง มีการกลืนน้ำลายลำบาก การทำงานของลิ้นผิดปกติ จึงควรจัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะตรงเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง และลดแรงกดที่ตำแหน่งผ่าตัด ประคบเย็นที่แผลผ่าตัดตามแผนการรักษา ประเมินสัญญาณชีพบ่อยๆ สังเกตการณ์อักเสบของแผล และการเสียเลือดจากภายในและภายนอกจากอวัยวะต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนผ่าตัด
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ